บทวิเคราะห์โอกาสและแนวทางขยายตลาดต่างประเทศ สำหรับ SME
บทวิเคราะห์โอกาสและแนวทางขยายตลาดต่างประเทศ สำหรับ SME
คลิกเลือกหมุด 🔵 บนแผนที่ เพื่อดูบทวิเคราะห์ตลาดประเทศเป้าหมาย
มาตรการ การค้าระหว่างประเทศ
มาตรการปรับคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดน (CBAM) Carbon Border Adjustment Mechanism หรือ CBAM นั้นเป็นมาตรการใหม่ของสหภาพยุโรป หรือ European Union (EU) เพื่อกำหนดให้สินค้าในรายชื่อที่มีการผลิตก๊าซเรือนกระจก (Green House Gas emissions: GHG) ในกระบวนการผลิต ต้องชำระราคาคาร์บอน (carbon price) หากต้องการนำเข้าไปยังสหภาพยุโรป โดยถูกพิจารณาเป็นหนึ่งในมาตรการกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษีที่เกิดขึ้นเมื่อไม่นานมานี้ โดยเป็นผลสืบเนื่องมาจากการเพิ่มความเข้มข้นของมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมและการลดก๊าซเรือนกระจกภายในสหภาพยุโรปโดยเฉพาะการเพิ่มความเข้มแข็งของการพัฒนาและใช้ระบบตลาดซื้อขายการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (European Union Emission Trading Scheme: EU ETS) จึงเกิดความกังวลว่าจะก่อให้เกิดการลดลงของความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการในสหภาพยุโรปเนื่องจากมีต้นทุนที่สูงกว่าจากราคาคาร์บอน (Carbon Price) ที่ต้องจ่าย และอาจก่อให้เกิดการรั่วไหลทางคาร์บอนโดยการย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศอื่นที่ไม่มีกฎบังคับ CBAM จึงเกิดขึ้นมาเพื่อให้สินค้าที่นำเข้าไปยังสหภาพยุโรปจำเป็นต้องจ่ายราคาคาร์บอนเช่นเดียวกัน ปัจจุบันมีการกำหนดสินค้า CBAM ทั้งหมด 6 ประเภทสินค้าที่เกี่ยวข้องโดยอ้างอิงจากหมายเลข CN code ซึ่งอาจรวมไปถึงวัตถุดิบตั้งต้น (Precursor) และสินค้าปลายน้ำ ของสินค้าดังกล่าวด้วย […]
โอกาสและความท้าทายทางตลาดจากความตกลง RCEP ความตกลงการค้าเสรี (Free Trade Agreement: FTA) คือ การรวมกลุ่มเศรษฐกิจโดยมีเป้าหมาย เพื่อลดอากรศุลกากรระหว่างประเทศภาคีให้เหลือน้อยที่่สุด หรือขจัดออกให้เป็นร้อยละ 0 ประกอบกับการกำหนดอัตราอากรศุลกากรปกติที่สูงกว่ากับประเทศนอกภาคี ทั้งนี้ โดยทั่วไปความตกลงการค้าเสรีในปัจจุบันจะครอบคลุมในประเด็นการเปิดเสรีการค้าสินค้า (Goods) โดยการลดอากรศุลกากรและอุปสรรคที่ไม่ใช่ภาษีเป็นหลัก รวมไปถึงการเปิดเสรีการค้าบริการ (Services) การลงทุน (Investment) และความร่วมมือในด้านต่าง ๆ (Cooperation) ด้วย ทั้งนี้ ผู้ประกอบการ โดยเฉพาะ SME สามารถส่งออกไปยังประเทศต่าง ๆ ทั้งที่เป็นประเทศที่เป็นประเทศภาคีและไม่ใช่ภาคีภายใต้ความตกลงการค้าเสรีที่ประเทศไทยจัดทำหรือเข้าร่วม ตามความประสงค์ของผู้ประกอบการ แต่หากต้องการใช้ประโยชน์จากความตกลงการค้าที่ประเทศได้มีการจัดทำหรือเข้าร่วม ผู้ประกอบการจำเป็นต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขของเกณฑ์ภายใต้กฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้า (Rule of Origin) เนื่องจากหากไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขของเกณฑ์ถิ่นกำเนิดสินค้าได้ ก็จะไม่สามารถใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษี หรือการลดอัตราอากรศุลกากรขณะนำเข้าไปยังประเทศปลายทางที่เป็นภาคีในความตกลง แม้ว่าสินค้าดังกล่าวจะอยู่ในรายการที่ได้รับสิทธิลดอัตราอากรศุลกากรก็ตาม แนวทางการใช้ประโยชน์จาก FTA ของ SME ผู้ประกอบการสามารถตรวจสอบได้ด้วยตนเองว่าสินค้าที่ต้องการส่งออก มีคุณสมบัติถูกต้องตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด และได้รับสิทธิลดหย่อน หรือยกเว้นภาษีนำเข้าภายใต้ FTA […]
หมวดหมู่อุตสาหกรรม ส่งออก
ปรับตัวรับ Mega Trend ขยายตลาดส่งออกของ SME
โอกาสของผู้ประกอบการ SME ไทยจากการเปลี่ยนแปลงสู่เศรษฐกิจใหม่ที่ไม่พึ่งพิงน้ำมันของกลุ่มประเทศ GCC https://youtu.be/h_RbWAiYr1Q กลุ่มประเทศคณะมนตรีความร่วมมือแห่งรัฐอ่าวอาหรับ (Gulf Cooperation Council) หรือที่เรียกว่ากลุ่มประเทศ GCC ประกอบด้วยสมาชิก 6 ประเทศ ได้แก่ ซาอุดีอาระเบีย คูเวต โอมาน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ กาตาร์ และบาห์เรน มีการกำหนดยุทธศาสตร์และเริ่มปรับตัวสู่การสร้างเศรษฐกิจใหม่ จากประเทศที่พึ่งพิงรายได้จากน้ำมันสู่การพัฒนาเศรษฐกิจที่มีความหลากหลาย โดยเฉพาะหลัง Covid-19 มีการเร่งรัดกิจกรรมทางเศรษฐกิจให้มีการเติบโตแบบอัตราเร่ง มีแผนการเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ 5 จากเดิมที่ไม่มีการจัดเก็บภาษีดังกล่าว และการปรับเปลี่ยนค่านิยมและสังคมรูปแบบใหม่ (Socioeconomic Movement) อาทิ การให้สิทธิและบทบาทของสตรีที่เพิ่มมากขึ้น หรือการผ่อนคลายความเข้มงวดข้อปฏิบัติทางศาสนา ที่สำคัญคือ นโยบายที่มุ่งเน้นการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ในการสร้างประเทศ และมุ่งจ้างแรงงานในประเทศ เพื่อสร้างความมั่นคงให้เกิดขึ้นให้เกิดความสมดุลของแหล่งรายได้ภายใน 5-10 ปีข้างหน้า กลุ่มประเทศ GCC ยังเป็นช่องทางประตูการค้าเชื่อมต่อกับประเทศในทวีปแอฟริกาตอนเหนือ ซึ่งมีการรวมกลุ่มเศรษฐกิจเป็นกลุ่มประเทศตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ (Middle East and North […]
การปรับตัวของผู้ประกอบการ SME ไทยมุ่งสู่การดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน (Sustainable Business) https://youtu.be/ANDjFwAEtvU SDGs ทวีความสำคัญเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะที่นโยบายรัฐบาลกว่า 20 ประเทศทั่วโลก กำหนดเป็นหนึ่งวาระแห่งชาติ นับว่าเป็นหนึ่งในเมกะเทรนด์ที่สำคัญของโลก ที่ให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาสภาพภูมิอากาศ การปกป้องสิ่งแวดล้อม ซึ่งเมกะเทรนด์นี้เป็นได้ทั้งโอกาสและอุปสรรคสำหรับผู้ประกอบการ ในบางประเทศได้นำประเด็นดังกล่าวมากำหนดเป็นนโยบายและกฎระเบียบทางการค้า จนอาจกลายเป็นข้อกีดกันทางการค้าระหว่างประเทศ หรือมาตรการกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษี (Non-Tariff Measure: NTMs) อาทิ มาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช (Agreement on the Application of Sanitary and Phytosanitary Measures-SPS) ที่เน้นมาตรการเพื่อกำกับดูแลความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์สินค้านำเข้า สารอันตราย สารเติมแต่ง สารปนเปื้อน สารพิษต่อชีวิตที่อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์ สอดคล้องกับ SDGs เป้าหมายที่ 3 : สุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี (Good Health and Well-Being) เป็นต้น แผนภาพที่ 1 สัดส่วนของผู้บริโภคที่คำนึงถึงความยั่งยืนในปี […]
โอกาสของผู้ประกอบการ SME ไทย ในโลกการค้าดิจิทัล https://youtu.be/UXa3Gxnqo60 ภายใต้แผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ปี 2559-2578 มุ่งเน้นการสร้างระบบนิเวศสำหรับธุรกิจดิจิทัล ประเทศไทยมีนโยบายสนับสนุนด้านดิจิทัลที่ชัดเจนในด้านการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมภาคอุตสาหกรรม เศรษฐกิจ และสังคม นอกจากนี้ การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ยังถือเป็นตัวเร่งสำคัญที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้ใช้อินเตอร์เน็ต เกิดการเชื่อมโยงในหลายภาคส่วน อาทิ การใช้เทคโนโลยีเพื่อสนับสนุนการทำงานของระบบสาธารณสุข การพัฒนาระบบนิเวศ ทั้งในเรื่องความคุ้มครองตามข้อกฎหมาย และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (e-Transaction) เพื่อรองรับการเติบโตของการทำธุรกรรมผ่านเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ (e-Document) การค้าขายผ่านตลาดพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Commerce/ e-Marketplace) และการชำระเงินผ่านกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Wallet) ที่เปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการ SME ไทย มีช่องทางกระจายสินค้าและบริการให้ผู้บริโภคได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และทั่วถึงมากยิ่งขึ้น ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ที่มีความสำคัญ ผู้ประกอบการ SME ควรศึกษาและนำไปใช้ในธุรกิจ ได้แก่ e-Signature หรือ การลงนามในเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ ที่มีความปลอดภัยสูงด้วยเทคโนโลยีบล็อกเชน ที่ออกโดยหน่วยงานที่ได้รับการรับรอง หรือ CA […]
นำพลังแห่ง Soft Power สร้างสรรค์สินค้าไทยสู่ตลาดสากล https://youtu.be/ArgRcGcZDJE ไทยเป็นประเทศที่มีชื่อเสียงด้านการท่องเที่ยว และติดอันดับที่ 4 ของประเทศเป้าหมายที่น่าไปเยือนที่สุดในโลก (Visa Global Travel Intentions Study, 2022) สินค้าและบริการไทยที่เป็น Soft Power จึงมาจากนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางมาท่องเที่ยวประเทศไทย เช่น เครื่องแต่งกายไทย อาหารและผลไม้เมืองร้อน สินค้ากลุ่มหัตถกรรม สินค้าที่ถูกแปรรูปมาจากสมุนไพรไทย อาทิ สินค้ากลุ่มสปา น้ำมันนวด ยาดม ยาหม่อง รวมถึงธุรกิจด้าน Wellness Medical Services ของประเทศไทยที่เป็นที่สนใจของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ตลอดจนการผสมผสานความเชื่อของคนไทยซึ่งเป็นหนึ่งใน Soft Power ที่สร้างรายได้ในภาคการท่องเที่ยวและการส่งออกของไทย โดยเฉพาะกลุ่มคนเชื้อสายเอเชียที่มีวัฒนธรรมความเชื่อร่วมกัน ในขณะที่อุตสาหกรรมบันเทิงไทยกำลังได้รับกระแสเชิงบวกในระดับนานาชาติ อาทิ รายการมวยไทย การแข่งขันนางงาม ซีรีส์ ภาพยนตร์ ละคร และดนตรี โดยเฉพาะแนว Boy’s […]
การตลาดปัจจัย 4 โอกาสของผู้ประกอบการ SME ไทยกับสังคมผู้สูงอายุ https://youtu.be/LR6hiUu3MtU ประเทศที่ประชากรกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มที่ (Super-Aged Society) มีจำนวน 13 ประเทศที่เข้าสู่สภาวะดังกล่าวตั้งแต่ปี 2020 และมีจำนวนถึง 34 ประเทศที่กำลังเข้าสู่สภาวะดังกล่าวในปี 2030 ซึ่งประเทศที่คาดว่าจะมีสัดส่วนจำนวนประชาสูงอายุมากที่สุดในปี 2030 ได้แก่ ญี่ปุ่น (ร้อยละ 30.7) เยอรมนี (ร้อยละ 28.2) และอิตาลี (ร้อยละ 26.8) ตามลำดับ โดยทั้งสามประเทศเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์สูงสุดตั้งแต่ปี 2015 เป็นต้นมา และในปี 2050 โลกจะกลายเป็นสังคมแห่งผู้สูงวัย ด้วยจำนวนสูงถึง 2,100 ล้านคนคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 1 ใน 5 ของประชากรโลกในจำนวนนี้อาศัยอยู่ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก 670 ล้านคน แนวโน้มสังคมผู้สูงอายุที่เพิ่มทั้งจำนวนและช่วงอายุขัยอันเกิดจากเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการแพทย์สมัยใหม่ช่วยยืดอายุขัยของมนุษย์ให้ยาวขึ้นกว่าในอดีต ในหลายประเทศจึงเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มที่ (Super-Aged Society) […]
วิดีโอแนะนำ หน่วยงาน
กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศกระทรวงพาณิชย์ https://youtu.be/8VmGPPBqkkohttps://youtu.be/8GyBsAGy-w8
สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม https://youtu.be/Fo9XAc37zB0
สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) https://youtu.be/irgZrzdM68E
หอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย https://youtu.be/nen5rbsCzg0
ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย https://youtu.be/Xbgu8L_1IOU
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) https://youtu.be/e-yWy8JOU_c
การวิเคราะห์ฉากทัศน์อนาคต เชิงยุทธศาสตร์
ด้วยเครื่องมือ STEEP Analysis มาใช้วิเคราะห์และคาดการณ์อนาคตเชิงยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวกับบริบทของโลกที่มีผลต่อการส่งออกของประเทศไทย