loader

โอกาสและความท้าทายทางตลาดจากความตกลง ACFTA

Play Video

     ในปีพ.ศ. 2545 ผู้นำอาเซียนและจีนลงนามกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจอาเซียน – จีน ที่มีเนื้อหาครอบคลุมประเด็นการค้าสินค้า การค้าบริการและการลงทุน และความร่วมมือทางเศรษฐกิจต่าง ๆ หลังจากนั้นในปี พ.ศ.2558 ทั้งสองได้ลงนามพิธีสารเพื่อแก้ไขกรอบความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจและความตกลงที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมีผลบังคับใช้ในปี พ.ศ.2559 ต่อมาในปี พ.ศ. 2563 ทั้งสองต่างเห็นพ้องที่จะเริ่มหารือการเปิดตลาดสินค้าเพิ่มเติม โดยร่วมกันพิจารณาปรับปรุงความตกลง ฯ แบบองค์รวม (Holistic Manner) โดยพิจารณาเพิ่มเติมให้ครอบคลุมสาขาอื่น ๆ ด้วย อันได้แก่ การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ และการลดอุปสรรคอื่น ๆ ที่มิใช่ภาษี เป็นต้น

      จีนลดภาษีศุลกากรให้แก่สินค้าของอาเซียนครอบคลุมทั้งสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรม ส่งผลให้สินค้าไทยได้แต้มต่อด้านราคาจึงมีศักยภาพในการแข่งขันเพิ่มขึ้น โดยสินค้าที่จะได้รับประโยชน์จาก ACFTA ได้แก่ ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง เคมีภัณฑ์อินทรีย์ สารแอลบูมินอยด์ พลาสติกและของที่ทำด้วยพลาสติก ผลิตภัณฑ์ยาบางชนิด หนังฟอก เครื่องจักรบางชนิด และอุปกรณ์เครื่องใช้ทางการแพทย์ เป็นต้น

      ทั้งนี้ หาก SME ไทยต้องการใช้ประโยชน์จาก ACFTA ผู้ประกอบการไทยจำเป็นต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขของเกณฑ์ภายใต้กฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้า (Rule of Origin) เนื่องจากหากไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขของเกณฑ์ถิ่นกำเนิดสินค้าได้ ก็จะไม่สามารถใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษี หรือการลดอัตราอากรศุลกากรขณะนำเข้าไปยังประเทศปลายทางที่เป็นภาคีในความตกลง แม้ว่าสินค้าดังกล่าวจะอยู่ในรายการที่ได้รับสิทธิลดอัตราอากรศุลกากรก็ตาม

แนวทางการใช้ประโยชน์จาก FTA ของ SME
     ผู้ประกอบการสามารถตรวจสอบได้ด้วยตนเองว่าสินค้าที่ต้องการส่งออก มีคุณสมบัติถูกต้องตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด และได้รับสิทธิลดหย่อน หรือยกเว้นภาษีนำเข้าภายใต้ FTA หรือไม่ ผ่านระบบ ROVERS (Rules of Origin Verification System) ละเอียดการใช้สิทธิระดับประเทศ (ประเทศคู่ภาคีที่ต้องการนำเข้าหรือส่งออกด้วย ภายใต้กรอบความตกลงต่าง ๆ) สามารถตรวจสอบได้ผ่าน ฐานข้อมูลพิกัดศุลกากรที่ได้รับสิทธิพิเศษทางภาษี 
ความตกลงการค้าเสรี แบบฟอร์มหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า

ความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-จีน (ACFTA)

Form E

บทความแนะนำ เมกะเทรนด์

iqonic-image
Posted on

ข้อบังคับการออกแบบนิเวศน์เพื่อผลิตภัณฑ์ยั่งยืน https://youtu.be/nKKk8ZHDlp4      Eco-design เป็นกฏระเบียบใหม่ของสหภาพยุโรป มาจากคำว่า “Ecological Design” และ “Economic” หมายความคือ กระบวนการที่ผสมผสานแนวคิดระหว่างเศรษฐกิจเข้ากับการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมตลอดห่วงโซ่ของผลิตภัณฑ์ ตั้งแต่ขั้นตอนการผลิต วัตถุดิบที่ใช้ จนกระทั่งขั้นตอนการทำลายหรือการนำกลับมาใช้ใหม่ ซึ่งขึ้นอยู่กับตัวผลิตภัณฑ์ที่ออกแบบไว้ตั้งแต่ตอนแรก โดยมีหลักการคือเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และสนับสนุนประเด็นด้านเศรษฐกิจหมุนเวียนอย่างเช่น ความทนทาน ความสามารถในการซ่อมแซม และการรีไซเคิล ซึ่งจะควบคู่กับการวิเคราะห์ปัจจัยด้านอื่น ๆ ได้แก่ ต้นทุน กระบวนการผลิต การควบคุมคุณภาพ และการตลาด เป็นต้น      จากผลการเปิดรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับประเภทผลิตภัณฑ์ภายใต้แผนการทำงานฉบับแรกเมื่อ พ.ศ. 2565 ที่ผ่านมา พบว่า ผลิตภัณฑ์ที่เหมาะจะเป็นกลุ่มผลิตภัณฑ์สำหรับแผนการทำงานฉบับแรก มีดังนี้ สิ่งทอ เฟอร์นิเจอร์ ยางรถยนต์ น้ำยาซักผ้า สี น้ำมันหล่อลื่น เหล็ก และเหล็กกล้า อะลูมิเนียม      เนื่องจากเสียงส่วนใหญ่มีความเห็นว่าผลิตภัณฑ์ดังกล่าวมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมสูง แต่มีศักยภาพในการปรับปรุงสินค้าให้กลับมาใช้ได้อีกตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน     […]

iqonic-image
Posted on

โอกาสและความท้าทายทางตลาดจากความตกลง ACFTA https://youtu.be/8MxMFHqhwdo      ในปีพ.ศ. 2545 ผู้นำอาเซียนและจีนลงนามกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจอาเซียน – จีน ที่มีเนื้อหาครอบคลุมประเด็นการค้าสินค้า การค้าบริการและการลงทุน และความร่วมมือทางเศรษฐกิจต่าง ๆ หลังจากนั้นในปี พ.ศ.2558 ทั้งสองได้ลงนามพิธีสารเพื่อแก้ไขกรอบความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจและความตกลงที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมีผลบังคับใช้ในปี พ.ศ.2559 ต่อมาในปี พ.ศ. 2563 ทั้งสองต่างเห็นพ้องที่จะเริ่มหารือการเปิดตลาดสินค้าเพิ่มเติม โดยร่วมกันพิจารณาปรับปรุงความตกลง ฯ แบบองค์รวม (Holistic Manner) โดยพิจารณาเพิ่มเติมให้ครอบคลุมสาขาอื่น ๆ ด้วย อันได้แก่ การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ และการลดอุปสรรคอื่น ๆ ที่มิใช่ภาษี เป็นต้น       จีนลดภาษีศุลกากรให้แก่สินค้าของอาเซียนครอบคลุมทั้งสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรม ส่งผลให้สินค้าไทยได้แต้มต่อด้านราคาจึงมีศักยภาพในการแข่งขันเพิ่มขึ้น โดยสินค้าที่จะได้รับประโยชน์จาก ACFTA ได้แก่ ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง เคมีภัณฑ์อินทรีย์ สารแอลบูมินอยด์ พลาสติกและของที่ทำด้วยพลาสติก ผลิตภัณฑ์ยาบางชนิด หนังฟอก เครื่องจักรบางชนิด และอุปกรณ์เครื่องใช้ทางการแพทย์ เป็นต้น       ทั้งนี้ หาก […]