แนะนำอุตสาหกรรมเด่นของ สาธารณรัฐฝรั่งเศส
สาธารณรัฐฝรั่งเศส (French Republic)) มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 7 ของโลก และอันดับที่ 3 ในภูมิภาคยุโรป (รองจากเยอรมนี และสหราชอาณาจักร) มีทรัพยากรทางการเกษตรจำนวนมากและสามารถรักษาภาคการผลิตที่แข็งแกร่ง ฝรั่งเศสเป็นคู่ค้าลำดับที่ 24 ของไทย โดยเป็นอันดับที่ 3 ของกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป มีพรมแดนติดประเทศอื่นๆในยุโรปมากถึง 7 ประเทศ และเชื่อมกับสหราชอาณาจักรทางอุโมงค์ช่องแคบอังกฤษ
ฝรั่งเศสเป็นหนึ่งในประเทศที่ต้อนรับการลงทุนจากต่างชาติ อีกทั้งยังมีสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่มั่นคงซึ่งดึงดูดนักลงทุนจากทั่วโลก รัฐบาลฝรั่งเศสทุ่มเททรัพยากรที่สำคัญเพื่อดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศผ่านทางนโยบายจูงใจ แผนการตลาด สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ และกลไกสนับสนุนนักลงทุน
ประเทศฝรั่งเศส มีประชากรมากถึง 66.02 ล้านคน และมี ในปี พ.ศ. 2562 ประชากรของสาธารณรัฐฝรั่งเศสมีรายได้ประชาชาติต่อหัวอยู่ที่ 46,000.803 (ประมาณ 1,688,551.48 บาท) ในปี พ.ศ. 2566 จึงเป็นตลาดที่มีทั้งกำลังซื้อสูงและขนาดที่ใหญ่
ประเทศฝรั่งเศส มีจุดแข็งด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยี โดยสินค้าส่งออกที่สำคัญห้าอันดับแรกได้แก่ อากาศยาน เคมีภัณฑ์ เภสัชกรรม รถยนต์และส่วนประกอบ เครื่องจักรไฟฟ้า เป็นอุตสาหกรรมที่ใช้วิทยาการซับซ้อนทั้งสิ้น
นอกจากนี้ฝรั่งเศสยังมีวัฒนธรรมธุรกิจที่ทันสมัย ตลาดการเงินที่ซับซ้อน ระบบกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาที่เข้มแข็ง และผู้นำทางธุรกิจที่มีความคิดสร้างสรรค์ อีกทั้งยังเป็นที่ประเทศที่มีระบบโครงสร้างขั้นพื้นฐานชั้นนำระดับโลก ประกอบด้วยรถไฟโดยสารความเร็วสูง ท่าเรือทางทะเล เครือข่ายถนนที่กว้างขวาง เครือข่ายการขนส่งสาธารณะที่ครอบคลุม และการเชื่อมต่อแบบขนส่งมวลชนที่มีประสิทธิภาพ รวมถึงระบบสัญญาณโทรศัพท์ความเร็วสูงที่ครอบคลุม และฝรั่งเศสได้เริ่มให้บริการระบบ 5G ในเมืองใหญ่แล้วอีกด้วย
กระบวนการส่งออกไปยังสาธารณรัฐฝรั่งเศสโดยสรุป เป็นดังแผนภาพต่อไปนี้
ประเทศไทยส่งออกสินค้าเครื่องดื่มสมุนไพรสู่ฝรั่งเศสเป็นอันดับ 12 ส่งออกเพิ่มมากขึ้นจากปีที่แล้วประมาณร้อยละ 40 คิดเป็นมูลค่าประมาณ 9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งปัจจุบัน ชาสมุนไพรกลายเป็นคู่แข่งใหม่ของชาทั่วไป โดยสัดส่วนของพืชชงดื่มในตลาดเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก แบ่งเป็น ชา(Camellia sinensis) ร้อยละ 63 และพืชชงดื่มอื่น ๆ ร้อยละ 37
จากสถานการณ์โควิด 19 ที่ผ่านมา เป็นตัวกระตุ้นให้ผู้บริโภคในฝรั่งเศสเริ่มหันมาบริโภคเครื่องดื่มจากพืชสมุนไพรเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากเชื่อว่าพืชสมุนไพรบางชนิด ได้แก่ ไทม์ ลาเวนเดอร์ และโรสแมรี่ ช่วยแก้อักแสบและรักษาอาการที่เกิดจากโควิด-19 ได้ อีกทั้งพฤติกรรมการบริโภคที่เน้นสุขภาพเป็นหลัก เครื่องดื่มสมุนไพรจึงสามารถแทนที่เครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูงต่าง ๆ ได้
ผู้บริโภคชาวเบลเยียมก็เป็นผู้ที่บริโภคมันฝรั่งเป็นอาหารหลักเช่นเดียวกับชาวดัตช์ โดยในแต่ละวันประมาณร้อยละ 52 ของผู้บริโภคเบลเยี่ยมทั้งหมดจะบริโภคมันฝรั่ง อีกร้อยละ 23 บริโภคพาสต้า และประมาณร้อยละ 10 บริโภคข้าว ซึ่งผู้ที่บริโภคข้าวส่วนใหญ่เป็นคนวัยหนุ่มสาวมากกว่าผู้สูงอายุ และนิยมบริโภคข้าวเมล็ดยาวเช่นเดียวกับชาวดัตช์
ปัจจัยหลักส่วนใหญ่ที่ทำให้ผู้บริโภคทั่วไปหันมาบริโภคสินค้าในกลุ่มเครื่องดื่มสมุนไพร มีเหตุผลหลัก ๆ ได้แก่ ต้องการลดการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ปกติเพื่อให้สุขภาพดีขึ้น (กลุ่มวัยทำงาน) ต้องการบริโภคอย่างรับผิดชอบ (กลุ่ม 18-25 ปี) ตลอดไปจนถึงพบว่าเครื่องดื่มในกลุ่มดังกล่าวมีรสชาติดีกว่าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ปกติ (กลุ่มผู้หญิง) บางส่วนได้หันมาลดการบริโภคเนื่องจากว่าได้บริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากไป นอกจากนี้ยังมีผู้บริโภค ในกลุ่มเฉพาะที่ไม่สามารถบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ด้วยเหตุผลต่าง ๆ เช่น ผู้ป่วย นักกีฬา สตรีมีครรภ์ สตรีให้นมบุตร ซึ่งผู้บริโภคในกลุ่มดังกล่าวรู้สึกดีที่สามารถบริโภคสินค้าที่มีรสชาติเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ แต่ไม่สร้างปัญหาต่อเป้าหมายทางสุขภาพ และสินค้าดังกล่าวยังเปิดโอกาสให้ผู้ที่มีความเชื่อทางศาสนาที่ไม่ให้บริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้ลิ้มลองรสชาติด้วย
ประเทศไทยส่งออกสินค้าข้าวเป็นอันดับ 4 ของฝรั่งเศส มีมูลค่าการส่งออกข้าวในปี พ.ศ. 2566 ทั้งหมด 68.65 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นร้อยละ 1.84 ของมูลค่าการนำเข้าสินค้าทั้งหมดของฝรั่งเศส
ฝรั่งเศสพึ่งพาการนำเข้าข้าวจากต่างประเทศเป็นหลัก ปัจจุบันมีการบริโภคข้าวในตลาดฝรั่งเศสประมาณ 5 กก. ต่อคนต่อปี โดยเทรนด์การบริโภคข้าวในฝรั่งเศสดังนี้
- อาหารประเภท Gluten-free และ Bio เริ่มได้รับความนิยมอย่างมากในหมู่ผู้บริโภคที่รักสุขภาพโดยเฉพาะข้าวกล้องและข้าวสีชนิดต่าง ๆ
- ข้าวออร์แกนิคเริ่มเป็นที่รู้จักในหมู่ผู้บริโภคชาวฝรั่งเศสที่ให้ความสำคัญกับสุขภาพ สังคม และสิ่งแวดล้อม ส่งผลให้ตลาดออร์แกนิคขยายตัวอย่างรวดเร็ว ข้าวออร์แกนิคชนิดต่าง ๆ จึงมีปริมาณความต้องการในตลาดเพิ่มสูงขึ้น
- การเปิดรับความแตกต่างทางวัฒนธรรมของอาหารกำลังได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้น ได้แก่ ซูชิ ปาเอยา (paella) และริซอตโต (risotto) อีกทั้ง อาหารประเภทผัด แกง และของหวานที่ทำจากข้าวเหนียวก็เป็นที่รู้จักและนิยมเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ ข้าวผสมธัญพืช ถั่ว หรือผสมข้าวชนิดอื่น ๆ ก็เป็นสินค้าใหม่ที่ได้รับความสนใจอย่างมาก
- สภาวะการดำเนินชีวิตที่เร่งรีบ ข้าวชนิดหุงสุกเร็วจึงเป็นยอดนิยมตลอดกาลที่เป็นที่ต้องการอย่างต่อเนื่อง
ทั้งนี้ ผู้ประกอบการไทยควรพิจารณาเทรนด์การบริโภคข้าวดังกล่าว เพื่อประกอบการพัฒนาสินค้าให้ตรงกับความต้องการของผู้บริโภคในตลาดฝรั่งเศสในปัจจุบัน
สินค้าอาหารออร์แกนิกส่งออกของไทยที่ได้รับความนิยมสูงสุด คือข้าวออร์แกนิก คิดเป็นปริมาณการนำเข้ากว่า 8,300 ตัน ครองส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 9.6 รองจากปากีสถาน และอินเดีย โดยกลุ่มผู้บริโภคอาหารออร์แกนิกเป็นประจำส่วนใหญ่เป็นประชากรที่มีรายได้สูง (ประมาณมากกว่า 2,500 ยูโรต่อเดือน ก่อนหักภาษี) และเป็นบุคคลที่ตระหนักถึงประโยชน์ของการบริโภคอาหารที่ดีต่อสุขภาพ
ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาฝรั่งเศสประสบปัญหาวิกฤตภาวะเงินเฟ้อ ส่งผลให้ห้างค้าปลีกในตลาดส่วนใหญ่ตัดสินใจปรับลดขนาดพื้นที่วางสินค้าอาหารออร์แกนิคลงอย่างต่อเนื่อง ทำให้มูลค่าการประกอบการของผูั้ประกอบการสินค้าออร์แกนิกลดลงเกือบร้อยละ 6 ในปี พ.ศ. 2565 และร้อยละ 8 ในปี พ.ศ. 2566 อีกทั้งราคาสินค้าอาหารออร์แกนิคยังเพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 13
อย่างไรก็ตาม จากสถานการณ์การประท้วงของเกษตรกรในฝรั่งเศสเป็นเหมือนแรงพลักดันให้ผู้บริโภคในฝรั่งเศสกลับมาให้ความสำคัญกับสินค้าอาหารออร์แกนิกเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะการให้ความสำคัญกับคุณภาพของอาหารเพื่อสุขภาพ
ทั้งนี้ ช่องทางการขายที่สำคัญที่สุดของสินค้าอาหารออร์แกนิคได้แก่ ห้างค้าปลีกขนาดใหญ่และกลาง (ร้อยละ53)