ที่มา: คณะทำงานบริษัท มาร์เก็ตเมทริกซ์ เอเชีย จำกัด
แนะนำ 5 อุตสาหกรรม SME ไทยมีศักยภาพส่งออก
ประเทศเยอรมันเป็นหนึ่งในประเทศสมาชิก EU ซึ่งได้รับผลกระทบจากสถานการณ์รัสเซีย-ยูเครน ค่อนข้างสูงจากปัญหาค่าครองชีพที่สูงขึ้น ส่งผลให้เศรษฐกิจอยู่ในช่วงปรับตัวลงเล็กน้อย แต่ถึงอย่างไรเยอรมันยังมีขนาดตลาดที่ใหญ่เป็นอันดับต้น ๆ ของโลก ซึ่งความท้าทายดังกล่าวถือเป็นโอกาสหรือตลาดใหม่ ๆ ที่สำคัญของผู้ประกอบการ SME ไทย ในปัจจุบันผู้บริโภคชาวเยอรมันมีความคุ้นเคยในสินค้าไทยอยู่แล้ว ด้วยคนไทยที่อาศัยในประเทศเยอรมันรวมทั้งการเปิดร้านอาหารไทยในประเทศเยอรมัน และการมีสวนสาธารณะที่เรียกว่า ไทยพาร์ค ที่นําสินค้าไทยมาขาย ปัจจัยเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงกระแสสินค้าไทยในเยอรมัน ถ้าหากผู้ประกอบการไทยสามารถสร้างมาตรฐานในเรื่องสิ่งแวดล้อม จะยิ่งเพิ่มความน่าเชื่อถือและเพิ่มโอกาสในการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้ามากขึ้น โดยปัจจัยที่ส่งผลให้ผู้บริโภคชาวเยอรมันให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นเพราะมาตราการจากภาครัฐที่กำกับดูแลให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้นเช่น มาตรการ CBAM และ สัญลักษณ์ Fair trade ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ที่ผู้บริโภคชาวเยอรมันให้ความสำคัญ
ผู้บริโภคชาวเยอรมันนิยมที่จะทำอาหารทานเองที่บ้านโดยปัจจัยสำคัญในการเลือกซื้ออาหารของชาวเยอรมันคือเรื่องของรสชาติ สินค้ามีความสดใหม่ และสินค้าได้มาตรฐาน ซึ่งเป็นปัจจัยหลักที่ผู้บริโภคให้ความสำคัญ โดยผู้บริโภคชาวเยอรมันรู้จักในรสชาติอาหารไทยอยู่แล้วจึงไม่ใช่เรื่องยากสำหรับการอธิบายรสชาติอาหารให้คนเยอรมันเข้าใจ รวมทั้งในเยอรมันที่กรุงเบอร์ลินมีสวนธารณะที่ชื่อว่า”พร็อยเซ็นพาร์ค (Preußenpark)” โดยมีกลุ่มคนไทยในเยอรมนีได้รวมกลุ่มกันเพื่อทําอาหารกินในกลุ่มจนกระทั่งมีผู้คนแถวนั้นสนใจและขอซื้ออาหารไทย ปัจจัยเหล่านี้แสดงให้เห็นชัดเจนถึงความนิยมสินค้าอาหารไทย ซึ่งถือเป็นโอกาสสำคัญสำหรับผู้ประกอบการเครื่องปรุงและวัตถุดิบอาหารไทยที่จะส่งออกสินค้าเข้าสู่ตลาดเยอรมันที่มีความต้องการในเครื่องปรุงและซอส
ทั้งนี้ผู้ประกอบการควรปฏิบัติตามมาตรฐานสำคัญเพื่อการส่งออกเช่น HACCP ขอรับรองสัญลักษณ์ Fair Trade โดยผู้ประกอบการควรศึกษาระเบียบที่สอดคล้องสินค้าของผู้ประกอบการเพื่อป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการขนส่งได้
อาหารจากพืชเป็นเทรนด์อุตสาหกรรมใหม่ที่ตอบสนองตามความต้องการของผู้บริโภคในยุโรปด้วยกระบวนการผลิตที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ต่ำกว่ากระบวนการผลิตเนื้อสัตว์แต่มีรสชาติใกล้เคียงกัน ซึ่งปัจจัยเหล่านี้คือสิ่งที่ตอบสนองพฤติกรรมผู้บริโภคและสังคมที่ต้องการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม จึงทำให้อุตสาหกรรมอาหารจากพืชเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสังเกตได้จากแนวโน้มของผู้บริโภคที่เป็นมังสวิรัติที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่องทุกปี โดยแนวทางการขยายตลาดที่สำคัญคือ การขอเครื่องหมาย V-Label ซึ่งจะช่วยให้ผู้บริโภคเชื่อมั่นในตัวสินค้าและสามารถวางขายในตลาดประเทศเยอรมันได้ นอกจากนี้ผู้ประกอบการควรปฎิบัติตามมาตรการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการขนส่ง
ในปัจจุบันประเทศเยอรมันมีความนิยมบริโภคสินค้าที่ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมและสินค้าที่ไม่ก่อให้เกิดผลกระทบด้านลบต่อสิ่งแวดล้อม และ สินค้าที่ไม่ก่อให้เกิดผลเสียกับสุขภาพ มีความปลอดภัยจากสารเคมีอันตราย ทำให้สินค้าดังกล่าว เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี ในปัจจุบันข้อมูลจาก GfK (2022) กล่าวว่าผู้บริโภคกว่าร้อยละ 69 เริ่มให้ความสำคัญกับการซื้อเสื้อผ้าที่ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม จนเกิดเป็นเทรนด์ที่เรียกว่า “green fashion” หรือเทรนด์แฟชั่นที่ยั่งยืนโดยผู้บริโภคชาวเยอรมันส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับ วัสดุที่มาจากการเพาะปลูกแบบออร์แกนิก การใส่เสื้อผ้ามือสอง การจ้างงานที่เป็นธรรมและการผลิตที่ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก โดยการจะนําสินค้าเข้าสู่ตลาดเยอรมนีต้องมีการรับรองสินค้าจากหน่วยงาน International Working Group (IWG) ตามมาตรฐาน Global Organic Textile Standard (GOTS) นอกจากนี้ผู้ประกอบการควรศึกษาช่องทางการขยายตลาดให้เหมาะสมกับธุรกิจต่อไป
ในปัจจุบันรูปแบบการใช้ชีวิตของชาวเยอรมันได้เปลี่ยนแปลงไป โดยผู้คนส่วนใหญ่เริ่มเข้ามาอาศัยในเมืองกันมากขึ้นและส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในอพาร์ทเม้นต์ อีกทั้งสถานการณ์หลังโควิดที่เปลี่ยนแปลงไป คนนิยมทำงานที่บ้านมากขึ้น ทำให้โฮมออฟฟิศกําลังเป็นที่นิยมมากขึ้น นอกจากนี้ยังมีเรื่องของเทรนด์ความนิยมในการย้ายบ้านบ่อย ๆ ส่งผลให้เฟอร์นิเจอร์ต้องปรับตัวเป็นแบบมัลติฟังก์ชั่นและโมดูลาร์มากขึ้น ถือเป็นโอกาสสำคัญสำหรับผู้ประกอบการไทยในการส่งออกสินค้าที่เกี่ยวข้องกับเฟอร์นิเจอร์โดยผู้ประกอบการควรออกแบบผลิตภัณฑ์โดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ผู้บริโภคเยอรมันให้ความสนใจ โดยอาจเลือกไม้จากป่าที่ไม่ได้อยู่ในการคุ้มครองซึ่งเป็นหนึ่งในมาตราการการนำเข้าสินค้าที่เกี่ยวกับเฟอร์นิจอร์ที่สำคัญของประเทศเยอรมัน รวมทั้งการขอฉลากผลิตภัณฑ์อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเช่น EU Eco Label , Blue Angel (Der Blaue Engel) , Fairtrade เป็นต้น
ประเทศเยอรมันไม่สามารถปลูกข้าวเองได้จึงจำเป็นต้องนำเข้าข้าวจากต่างประเทศโดยในปัจจุบันมีแนวโน้มการทานข้าวของผู้บริโภคเยอรมันเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี ซึ่งแนวทางในการเข้าสู่ตลาดเยอรมันคือการสร้างการรับรู้ในแบรนด์ให้กับผู้บริโภคตั้งแต่ขั้นตอนวิธีการทานไปจนถึงตัวอย่างเมนูอาหารในการรับประทาน สินค้าข้าวถือเป็นการเปิดตลาดใหม่ในประเทศเยอรมันผู้ประกอบการไทยควรศึกษาช่องทางการขายที่เหมาะสม โดยเลือกการเข้าสู่ห้างสำหรับอาหารต่างประเทศโดยเฉพาะ หรือขายผ่านตัวแทนร้านอาหารในไทย นอกจากนี้ผู้ประกอบการไทยสามารถศึกษาได้จากเว็บไซต์ของหน่วยงานราชการของสหภาพยุโรป เช่น เว็บไซต์ของคณะกรรมาธิการยุโรป (European Commission) และ เว็บไซต์ของสํานักงานอาหารและยาแห่งสหภาพยุโรป (European Food Safety Authority) ได้