ที่มา: คณะทำงานบริษัท มาร์เก็ตเมทริกซ์ เอเชีย จำกัด
แนะนำ 5 อุตสาหกรรม SME ไทยมีศักยภาพส่งออก
ประเทศอินโดนีเซียวางแผนพัฒนาประเทศโดยให้แต่ละหมู่เกาะสามารถพึ่งพาตนเองได้ การขับเคลื่อนเศรษฐกิจของอินโดนีเซียถูกวางกลยุทธ์ให้เกิดการพัฒนาโครงสร้างทางเศรษฐกิจที่สำคัญ 8 ด้าน ครอบคลุม 22 อุตสาหกรรม เพื่อให้เกิดการพัฒนา 3 ด้าน ได้แก่ การพัฒนาศักยภาพทางเศรษฐกิจใน 6 เขตเศรษฐกิจที่สำคัญ, การสร้างการเชื่อมต่อทางเศรษฐกิจทั้งภายในและภายนอกประเทศ, และ การสร้างความเข้มแข็งด้านทรัพยากรมนุษย์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ประเทศไทยและประเทศอินโดนีเซียมีแผนพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษเพื่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรทางเศรษฐกิจร่วมกัน การส่งเสริมการลงทุนและเป็นฐานการผลิตร่วมกัน รวมถึงการพัฒนาการเชื่อมโยงโครงสร้างพื้นฐานการคมนาคม โดยโครงการความร่วมมือระหว่างประเทศ มีพื้นที่ครอบคลุม 14 จังหวังชายแดนภาคใต้ของประเทศไทยและ 10 จังหวัดของอินโดนีเซีย
อุตสาหกรรมเครื่องสำอาง (ฮาลาล) ในประเทศอินโดนีเซียเป็นผู้ส่งออกเครื่องสำอางฮาลาลไปยังประเทศในกลุ่ม OIC จำนวน 57 ประเทศ โดยทัศนคติของผู้บริโภคมีผลต่อการตัดสินใจบริโภค ซึ่งทัศนคติมีผลมาจากการนำเสนอของนักการตลาด มาตรฐานของสินค้า ความใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อม และความเชื่อทางศาสนา ผู้บริโภคชาวอินโดนีเซียมีความเชื่อมั่นในสินค้าจากประเทศไทย
ธุรกิจ SME ในประเทศไทยได้รับมาตรฐานการผลิตระดับสากลจึงมีความสามารถขยายธุรกิจโดยการเป็นผู้รับจ้างผลิตแบบ OEM ซึ่งต้องยื่นขอจดทะเบียนรับรองผลิตภัณฑ์ฮาลลภายใต้ Indonesia Law No.33/2014 โดยผู้ประกอบการธุรกิจ SME สามารถใช้สิทธิประโยชน์จากแผนพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษส่งสินค้าผ่านทางถนนเข้าสู่ประเทศมาเลเซียและดำเนินการ Re-export ไปสู่ประเทศอินโดนีเซีย หรือสามารถขนส่งทางเรือไปที่ท่าเรือ Port of Jakarta หรือ Tanjung Priok
จำนวนประชากรของสุนัขและแมวมีจำนวนเพิ่มขึ้นจากกระแส Pet Humanization ซึ่งหมายถึง การเลี้ยงสัตว์เลี้ยงเป็นเพื่อนหรือสมาชิกในครอบครัว ทำให้ผู้เลี้ยงสัตว์เลี้ยงมีพฤติกรรมการเลือกซื้ออาหารให้สัตว์เลี้ยงที่สามารถดูแลสุขภาพโดยรวมของสัตว์เลี้ยง ซึ่งผู้เลี้ยงสัตว์เลี้ยงนิยมซื้อผลิตภัณฑ์ผ่านร้านค้าเฉพาะทางและช่องทางออนไลน์
ธุรกิจ SME สามารถใช้สิทธิประโยชน์จากแผนพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษส่งสินค้าผ่านทางถนนเข้าสู่ประเทศมาเลเซียและดำเนินการ Re-export ไปสู่ประเทศอินโดนีเซีย หรือสามารถขนส่งทางเรือไปที่ท่าเรือ Port of Jakarta หรือ Tanjung Priok โดยการนำเข้าอาหารสัตว์เลี้ยงของประเทศอยู่ภายใต้กฎหมาย Law No. 14 ปี 2014 นอกจากการควบคุมโดยกฎหมายของประเทศอินโดนีเซียแล้ว การได้รับเครื่องหมายฮาลาลเริ่มมีความจำเป็นต่ออาหารสัตว์ และสามารถสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคได้
อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มของอินโดนีเซียมีอัตราการเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วและประเทศอินโดนีเซียถือเป็นประเทศเป้าหมายสำคัญของอุตสาหกรรมฮาลาล ขนมขบเคี้ยวที่เป็นที่นิยมคือขนมขบเคี้ยวประเภทคุ้กกี้และแครกเกอร์ อาทิ ตอร์ติญา มันฝรั่งแผ่นทอดกรอบ ซึ่งผู้บริโภคชาวอินโดนีเซียมีความเชื่อมั่นในสินค้าที่มาจากประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการรับรองจากตราสัญลักษณ์มาตรฐานฮาลาล ซึ่งเป็นปัจจัยหลักของการตัดสินใจเลือกซื้อและบริโภคสินค้า
ธุรกิจ SME กลุ่มขนมขบเคี้ยวสามารถขอยื่นจดทะเบียนมาตรฐานแหล่งผลิตและสินค้าที่ปลอดภัยในระดับสากล อาทิ GMP, HACCP, และ CODEX นอกจากมาตรฐานเหล่านี้ ผลิตภัณฑ์ขนมขบเคี้ยวที่นำเข้าสู่ประเทศอินโดนีเซียต้องอยู่ภายใต้ระเบียบ Government Regulation No. 31/2019 และ Ministry of Religious Affairs Regulation No. 26/2019 และผู้ประกอบการ SME สามารถใช้สิทธิประโยชน์จากแผนพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษส่งสินค้าผ่านทางถนนเข้าสู่ประเทศมาเลเซียและดำเนินการ Re-export ไปสู่ประเทศอินโดนีเซีย หรือสามารถขนส่งทางเรือไปที่ท่าเรือ Port of Jakarta หรือ Tanjung Priok
การเพิ่มขึ้นของจำนวนครัวเรือนที่มีเด็กอายุน้อยกว่า 6 ปีในประเทศอินโดนีเซียมีจำนวนเพิ่มขึ้นทำให้เกิดการเติบโตของค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์สำหรับดูแลเด็ก จำนวนการบริโภคเสื้อผ้าเด็ก ของเล่นและเกมมีอัตราการเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง ผู้ปกครองให้ความสำคัญกับผลิตภัณฑ์ที่มีความเป็นธรรมชาติ ปลอดภัย และความสะดวกสบายของช่องทางในการเข้าถึงสินค้า
ธุรกิจ SME สามารถขยายตลาดได้โดยการเข้าร่วมงานแสดงสินค้าและจับคู่ธุรกิจ โดยสินค้ากลุ่มเสื้อผ้าเด็กจะต้องอยู่ภายใต้มาตรฐานของ Indonesia Product Certification Body และต้องได้รับการรับรองจาก ISO 17025 ตามมาตรฐาน SNI 7617:2013 และในส่วนของผลิตภัณฑ์ของเล่นเด็กต้องผ่านการรับรองตามระเบียบ Regulation of the Ministry of Industry No.55/M-IND/PER/11/2013 โดยกระทรวงอุตสาหกรรมของประเทศอินโดนีเซีย
จากนโยบาย Making Indonesia 4.0 มุ่งพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมทำให้เกิดสตาร์ทอัพที่ได้รับเงินลงทุนจากนักลงทุนมากกว่า 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐ กอปรกับเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศอินโดนีเซียที่มีอัตราการเติบโตอย่างรวดเร็ว จากการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภคในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ทำให้เกิดการพัฒนาแอปพลิเคชั่นต่าง ๆ โดยเฉพาะด้าน FinTech ทำให้ประเทศอินโดนีเซียมีขนาดอุตสาหกรรม e-Commerce ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
การเข้าสู่อุตสาหกรรมเทคโนโลยีในประเทศอินโดนีเซียมีกุญแจสำคัญ ได้แก่ ผู้ประกอบการด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีท้องถิ่น นักลงทุน และพันธมิตรทางการค้า ซึ่งสามารถพบกับบุคคลเหล่านี้ได้จากงานประชุม สัมมนา งานแสดงสินค้าและจับคู่ธุรกิจ โดยอุตสาหกรรมที่น่าสนใจได้แก่ Education Tech, Food Tech และ Healthcare โดยการเข้าลงทุนในประเทศอินโดนีเซียไม่มีข้อจำกัดด้านเงินลงทุน ยกเว้นธุรกิจที่อยู่ในรายการ Negative List