แนะนำอุตสาหกรรมเด่นของ สาธารณรัฐอิตาลี
สาธารณรัฐอิตาลี มีพรหมแดนติดกับ 4 ประเทศ ได้แก่ ฝรั่งเศส สวิตเซอร์แลนด์ ออสเตรีย และสโลวีเนีย มีประชากรทั้งหมด 60.96 ล้านคน
อิตาลีเป็นประเทศคู่ค้าลำดับที่ 25 ของไทย โดยเป็นลำดับที่ 4 ในกลุ่มประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป มีมูลค่าการค้ารวม 5,062.15 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (175,520.27 ล้านบาท) โดยไทย ส่งออกไปยังอิตาลีมากถึง 2,098.42 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (72,237.31 ล้านบาท) และไทยนำเข้าจากอิตาลี 2,963,73 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (103,282.97 ล้านบาท) ซึ่งไทยขาดดุลการค้ากับอิตาลี 845.31 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (31,045.66 ล้านบาท)
อิตาลีมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 8 ของโลก และยังมีความสามารถในการแข่งขันทั้งในด้านธุรกิจและบริการทางการเงิน เกษตรกรรม อาหาร แฟชั่น การออกแบบ การท่องเที่ยว อุตสาหกรรม รวมถึงการผลิตยานพาหนะและเรือ นอกจากนี้ ระบบเศรษฐกิจของอิตาลียังมีความยืดหยุ่นต่อราคาพลังงานที่สูงและอัตราเงินเฟ้อโดยรวมที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.7 ในปี พ.ศ. 2565 การเติบโตที่แข็งแกร่งในภาคการก่อสร้าง ซึ่งได้รับผลประโยชน์จากเครดิตภาษีปันผลสำหรับโครงการปรับปรุงให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวและบริการ ช่วยผลักดันการขยายตัวโดยรวม
กระบวนการส่งออกไปยังสาธารณรัฐอิตาลีโดยสรุป เป็นดังแผนภาพต่อไปนี้
ในวัฒนธรรมอิตาลี การดอกไม้มีความหมายในการสื่ออารมณ์ การให้ดอกกล้วยไม้จึงถูกใช้ในการแสดง ความรัก การขอบคุณ หรือการขอโทษ แต่เนื่องจากดอกกล้วยไม้ให้ความรู้สึกถึงความหรูหรา ความซับซ้อน และเต็มเปี่ยมไปด้วยเสน่ห์ จึงเป็นที่นิยมใช้โนโอกาสต่างๆ มากยิ่งขึ้น ประกอบกับปัจจุบันดอกกล้วยไม้สามารถหาซื้อได้ ง่าย มีหลากหลายพันธุ์และมีราคาให้เลือกหลากหลาย อิตาลีเริ่มนำเข้ากล้วยไม้ตัดดอกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าเพื่อนำมาจำหน่ายในประเทศมากกว่าการส่งออก โดยมีมูลค่านำเข้าระหว่างปี พ.ศ. 2550 – 2561 อยู่ระหว่าง 20 – 34 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
ไทยถือเป็นแหล่งนำเข้ากล้วยไม้ตัดดอกที่สำคัญของอิตาลีมาโดยตลอด (โดยจะสลับกับเนเธอร์แลนด์ ระหว่างอันดับ 1 และอันดับ 2) โดยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2562 อิตาลีนำเข้ากล้วยไม้จากไทยเป็นอันดับ 1 คิดเป็นสัดส่วนมากกว่าร้อยละ 50 ของการนำเข้ากล้วยไม้ของอิตาลีทั้งหมด ซึ่งแสดงให้เห็นว่ากล้วยไม้ไทยยังสามารถครองตลาดกล้วยไม้ในอิตาลีได้เป็นอย่างดี
ผู้บริโภคชาวเบลเยียมก็เป็นผู้ที่บริโภคมันฝรั่งเป็นอาหารหลักเช่นเดียวกับชาวดัตช์ โดยในแต่ละวันประมาณร้อยละ 52 ของผู้บริโภคเบลเยี่ยมทั้งหมดจะบริโภคมันฝรั่ง อีกร้อยละ 23 บริโภคพาสต้า และประมาณร้อยละ 10 บริโภคข้าว ซึ่งผู้ที่บริโภคข้าวส่วนใหญ่เป็นคนวัยหนุ่มสาวมากกว่าผู้สูงอายุ และนิยมบริโภคข้าวเมล็ดยาวเช่นเดียวกับชาวดัตช์
สถานที่จำหน่ายสำหรับกล้วยไม้ตัดออกและต้นกล้วยไม้ แบ่งเป็น 6 แหล่งสำคัญ ดังนี้
- ร้านขายส่ง
- ร้านขายปลีก
- ร้านจำหน่ายดอกไม้ริมถนน
- ร้านค้าย่อยบนอินเทอร์เน็ต
- ฟาร์มกล้วยไม้
- ซูเปอร์มาร์เก็ต และไฮเปอร์มาร์เก็ต
ในปี พ.ศ. 2565 – 2566 อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์และของตกแต่งบ้าน ยังต้องเผชิญการฟื้นตัวและความยากลำบาก ในการชะลอตัวของการบริโภคในประเทศ ที่มีรายได้และความมั่งคั่งที่ถดถอยลง จึงมีทัศนคติที่ระมัดระวังในการใช้จ่าย และมีแนวโน้มการออมที่เพิ่มขึ้น การลงทุนจะเป็นตัวขับเคลื่อนหลัก โดยได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลและกองทุนยุโรป ที่เร่งผลักดันการเปลี่ยนแปลงที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม นวัตกรรม การเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล และระบบอัตโนมัติ
อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์และการออกแบบตกแต่งอิตาลีอยู่ระหว่างความยั่งยืน การใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า และความท้าทายในการเปลี่ยนแปลงด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งกลายเป็นประเด็นสำคัญของเฟอร์นิเจอร์อิตาลี บริษัทต่าง ๆ ให้ความสำคัญกับการเลือกใช้วัสดุที่มีมุ่งเน้นไปที่ผลิตภัณฑ์ที่เป็นนวัตกรรมใหม่ ปลอดสารพิษ รีไซเคิลได้ มีใบรับรองในการกำจัดที่ปลอดภัยต่อสภาพแวดล้อม ตลอดจนมุมมองต่อความยั่งยืน และแนวโน้มอายุการใช้ประโยชน์ของเฟอร์นิเจอร์ที่ ต้องการให้ยาวนานขึ้น เพื่อลดปัญหาขยะและการกำจัดจึงจำเป็นต้องผลิตสินค้าที่มีคุณภาพสูงขึ้นด้วย และเตรียมความพร้อมในการช่วยเหลือหลังการขายในแง่ของการบำรุงรักษา (และการตกแต่งของใช้แล้วเป็นของใหม่) รวมถึงการจัดหาอะไหล่ในการเปลี่ยนจากผู้ผลิต
- ช่องทางการค้าปลีกสมัยใหม่ (Modern Distribution)
- ช่องทางร้านค้าเฉพาะผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์
- ช่องทางอื่น ๆ ได้แก่ ร้านค้าของชำใกล้บ้าน ร้านขายยา ตลาดนัด ฯลฯ