ที่มา: คณะทำงานบริษัท มาร์เก็ตเมทริกซ์ เอเชีย จำกัด
แนะนำ 5 อุตสาหกรรม SME ไทยมีศักยภาพส่งออก
รัฐบาลประเทศการตาร์ประกาศใช้แผนยุทธศาสตร์แห่งชาติในปี 2008 เพื่อพัฒนาด้านบุคลากร เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม รองรับการเปลี่ยนแปลงของกระแสโลก เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกให้กาตาร์เป็นประเทศที่ทันสมัยภายในปี 2030 ทำให้กาตาร์มีโครงการก่อสร้างต่าง ๆ ที่เป็นโอกาสให้บริษัทจากต่างประเทศเข้าไปลงทุนหรือทำงานในโครงการขนาดใหญ่ทำให้เกิดโอกาสของธุรกิจ SME ของประเทศไทยที่สามารถให้บริการปรึกษาด้านการออกแบบระบบไฟฟ้า เครื่องกล และระบบปรับอากาศ ธุรกิจที่ปรึกษาด้านพลังงานทดแทน ธุรกิจบริการจัดหาแรงงานฝีมือ รวมถึงธุรกิจด้านสุขภาพ และบริการด้านอื่น ๆ ที่ส่งเสริมการขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์แห่งชาติของการตาร์
ประเทศกาตาร์เคยถูกคว่ำบาตรจากประเทศกลุ่ม GCC เพื่อตัดความสัมพันธ์ทางการทูตด้วยข้อกล่าวหาว่ารัฐบาลกาตาร์ให้การสนับสนุนผู้ก่อการร้าย ทำลายเสถียรภาพในภูมิภาคตะวันออก และได้ยุติการคว่ำบาตรในเดือนมกราคม 2021 โดยรัฐบาลของกาตาร์รายงานว่าเหตุการณ์ดังกล่าวไม่ได้ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาในประเทศมากนัก
รัฐบาลของประเทศกาตาร์มีเป้าหมายพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและกระจายสัดส่วนรายได้ทางเศรษฐกิจของประเทศ เลิกพึ่งพาภาคน้ำมันและก๊าซ จึงเปิดเขตเศรษฐกิจเสรีเพื่อดึงดูดบริษัทจากทั่วโลก ซึ่งถือเป็นโอกาสของ SME ที่อยู่ในสายโซ่คุณค่าอุตสาหกรรมการก่อสร้างและบริการ อาทิ บริษัทจัดกาแรงงานทักษะ เช่น ช่างก่อสร้างและโฟร์แมน บริษัทที่ปรึกษาด้านการออกแบบสถาปัตยกรรมและวิศวกรรม รวมถึงบริษัทผู้ออกแบบการตกแต่งภายใน เนื่องจากประชาชนชาวกาตาร์ไม่นิยมทำงานที่ต้องใช้กำลังและการใช้แรงงาน นอกจากนี้ ผู้ประกอบการ SME ในภาคการผลิตสามารถส่งออกวัสดุและอุปกรณ์ก่อสร้าง เฟอร์นิเจอร์ และของตกแต่งภายในบ้าน
ธุรกิจ SME สามารถเป็นคู่สัญญากับบริษัทก่อสร้างรายใหญ่เพื่อเข้าไปรับจ้างในประเทศกาตาร์ โดยสามารถเป็นได้ทั้งรูปแบบของการจ้างช่วง และกิจการค้าร่วม ซึ่งการเข้าประกอบกิจการในกาตาร์จะต้องขอใบอนุญาตประกอบกิจการ ใบอนุญาตนำเข้าสินค้า และวีซ่าทำงานจะอยู่ภายใต้ระบบ Sponsorship คือ ต้องมีผู้ว่าจ้างหรือหน่วยงานของกาตาร์อนุมัติในทุกกระบวนการทำงาน
ประเทศกาตาร์ลงทุนโครงการขนาดใหญ่ระยะยาวเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีการทำการเกษตรในทะเลทราย โดยพัฒนาระบบชลประทานใช้พลังงานแสงอาทิตย์กลั่นน้ำทะเลเพื่อให้ได้น้ำสะอาด นอกจากนี้รัฐบาลกาตาร์ได้ลงทุนซื้อหรือเช่าที่ดินในประเทศอื่น ๆ เพื่อปลูกข้าวและธัญพืช เลี้ยงสัตว์ และผลิตน้ำตาลให้ประเทศ
พฤติกรรมผู้บริโภคของชาวกาตาร์ไม่นิยมเก็บอาหารไว้จำนวนมาก นิยมการซื้ออาหารสด และให้ความสำคัญกับอาหารออร์แกนิค ซึ่งอาหารนำเข้าของกาตาร์ส่วนใหญ่มาจากประเทศซาอุดีอาระเบียและประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรสต์ ดังนั้น ธุรกิจ SME สามารถส่งออกต่อจากประเทศดังกล่าวเข้าสู่ประเทศกาตาร์ และจัดจำหน่ายสินค้าในชุมชนชาวไทยในกาตาร์รวมถึงการส่งวัตถุดิบให้ร้านอาหารไทยที่ได้รับความนิยมในกรุงโดฮา โดยสินค้าอาหารจะต้องผ่านการตรวจสอบจากห้องทดลองกลาง กระทรวงสาธารณสุขของกาตาร์ฅ
ผู้บริโภคเครื่องสำอางในประเทศกาตาร์เป็นกลุ่มผู้บริโภคที่มีกำลังการซื้อสูง ประกอบกับการปฏิวัติเชิงวัฒนธรรม ความเท่าเทียมและสิทธิสตรีตามยุทธศาสตร์ของประเทศ ทำให้อุตสาหกรรมเครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์ดูแลส่วนบุคคลในกาตาร์เติบโตขึ้น
พฤติกรรมผู้บริโภคชาวกาตาร์ให้ความสนใจและดูแลภาพลักษณ์ของตนเอง และปัญหาของสิ่งแวดล้อมทำให้ผู้บริโภคมีความต้องการบริโภคผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มีส่วนผสมมาจากธรรมชาติและออแกนิกส์ มีความปลอดภัยและไม่มีการทดลองในสัตว์ ซึ่งผู้บริโภคสามารถจดจำแบรนด์เครื่องสำอางได้จาก Social Media โดยเฉพาะ Instagram
ผลิตภัณฑ์กลุ่มเครื่องสำอางอยู่ภายใต้การควบคุมของแผนกควบคุมยา กระทรวงสาธารณสุขกาตาร์ ซึ่งจะเป็นผู้กำหนดกระบวนการนำเข้าสินค้าเครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์ดูแลส่วนบุคคล นอกจากนี้ กระทรวงสิ่งแวดล้อมของกาตาร์กำหนดให้การนำเข้าสินค้ากลุ่มครีมบำรุงผิวที่ไม่ใช่ยาจะต้องแสดง Certificate of Compliance จากห้องปฏิบัติการตรวจสอบ เพื่อแสดงการรับรองตามมาตรฐาน Gulf Standard
เนื่องจากค่าครองชีพและค่าจ้างแรงงานในกาตาร์อยู่ในระดับสูงทำให้บริษัทผู้ค้าอัญมนึและเครื่องประดับในประเทศกาตาร์ตัดสินใจนำเข้าสินค้าเพื่อจัดจำหน่ายในประเทศ โดยเครื่องประดับและอัญมนีที่เป็นที่นิยมในกาตาร์คือเครื่องประดับทอง ค่าความบริสุทธิ์ 18 และ 22 กะรัตโดยผู้บริโภคชาวกาตาร์มักซื้อเครื่องประกับในช่วงวันสำคัญทางศาสนา รวมถึงโอกาสพิเศษ อาทิ วันครบรอบแต่งงาน
โอกาสของผู้ประกอบการ SME ในประเทศกาตาร์คือผู้บริโภคกลุ่มตลาดระดับกลางถึงบน เนื่องจากการเติบโตของรายได้ ธุรกิจ SME ควรหาโอกาสเข้าร่วมงานแสดงสินค้าและจับคู่ธุรกิจ โดยการจะเข้าทำธุรกิจในประเทศกาตาร์ได้ จะต้องมีพาร์ทเนอร์ที่เป็นคนท้องถิ่น เนื่องจากประเทศกาตาร์ยังไม่เปิดกว้างสำหรับผู้ประกอบการชาวต่างชาติ การดำเนินงานจะต้องอาศัยการดำเนินการผ่านชาวกาตาร์หรือดำเนินการบนระบบ Sponsorship
จากแผนยุทธศาสตร์พัฒนาประเทศ Vision 2030 กาตาร์มีเป้าหมายการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานทดแทนและจะต้องได้รับ carbon zero footprint ในปี 2050 จึงเกิดการลงทุนด้านการสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐานด้านพลังงาน นอกจากนี้ ชาวกาตาร์ให้ความสำคัญกับการใช้พลังงานงานทดแทน อาทิ การติดตั้งแผงโซลาเซลล์บนหลังคาบ้านหรืออาคารเพื่อผลิตไฟฟ้า
ปัจจุบันจึงเกิดธุรกิจให้เช่าแผงโซล่าเซลล์ โดยมีระยะเวลาเช่า 20-25 ปี โดยผู้ประกอบการจะได้รับส่วนแบ่ง FiT เป็นค่าตอบแทน นอกจากนี้ยังมีรูปแบบธุรกิจของสถานีอัดประจุไฟฟ้าสำหรับรถยนต์ไฟฟ้า จากการเติบโตของจำนวนรถยนต์ไฟฟ้าส่วนบุคคล
โอกาสของผู้ประกอบการ SME ไทยจึงสามารถเป็นได้ทั้งบริษัทที่ปรึกษาและออกแบบระบบ ผู้เชี่ยวชาญด้านการผลิตกระแสไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานทดแทน ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายอุปกรณ์ในการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน รวมถึงการให้บริการด้านการซ่อมบำรุงระบบและอุปกรณ์ผลิตพลังไฟฟ้าพลังงานทดแทน