แนะนำอุตสาหกรรมเด่นของ สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน)
สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) ได้รับการจัดอันดับให้เป็นเขตเศรษฐกิจที่เหมาะแก่การลงทุนเป็นอันดับ 2 ของเอเชีย และอันดับที่ 4 ของโลกโดยมูลนิธิเฮอริเทจของสหรัฐอเมริกา ด้วยนโยบายการบริหารและความมุ่งมั่นของคณะรัฐบาลในการประกาศใช้มาตรการ Net-Zero เพื่อลดปริมาณการผลิตคาร์บอนและเน้นการใช้พลังงานสะอาดผ่านการตั้งเป้าหมายการใช้อุปกรณ์พลังงานแสงอาทิตย์ขนาด 20 GW และพลังงานลมขนาด 6.7 GW ภายในปี 2568
ผู้บริโภคส่วนใหญ่ในไต้หวันมีรสนิยมตามกระแสแฟชั่นสากล ให้ความสำคัญกับราคาของสินค้า คุณภาพและถูกกฏหมาย โดยสินค้าที่เป็นโอกาสสำหรับผู้ส่งออก ได้แก่ โดรนพาณิชย์ที่ใช้งานทางทหาร อุปกรณ์ไฟฟ้าและพลังงาน อุปกรณ์ที่เกี่ยวกับ ICT และโทรคมนาคม เครื่องจักรและเครื่องมือต่างๆ รวมถึงอุปกรณ์ทางการแพทย์ การบริการทางการศึกษา การทำแฟรนไชส์ การเดินทางและการท่องเที่ยว ส่วนผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร แนวโน้มที่ดีที่สุด ได้แก่ ถั่วเหลือง ผลิตภัณฑ์เนื้อวัวและเนื้อวัว ข้าวโพด ข้าวสาลี และผลไม้สด เป็นต้น โดยกำหนดอัตราภาษีโดยเฉลี่ยสำหรับสินค้าอุตสาหกรรมอยู่ที่ร้อยละ 4.13 สินค้าเกษตรอยู่ที่ร้อยละ 15.06 และมีอัตราภาษีเฉลี่ยโดยรวมอยู่ที่ร้อยละ 6.34
ผู้ประกอบการไทยควรเริ่มต้นเข้าสู่ตลาดผ่านตัวแทน นายหน้า หรือผู้จัดจำหน่าย เพื่อสร้างความคุ้นเคยกับวัฒนธรรมในตลาดผู้บริโภคและสร้างความสัมพันธ์อันดีกับพาร์ทเนอร์หรือคู่ค้าในตลาดท้องถิ่น ส่วนระบบการเงินการธนาคารของไต้หวันได้รับการพัฒนาให้มีเงื่อนไขเอื้ออำนวยประโยชน์ต่อผู้ประกอบการ เช่น ตลาดไต้หวันนิยมใช้ระบบ Letters of Credit (L/Cs) ที่สร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้นำเข้าส่งออกด้วยการชำระเงินผ่านตัวกลางที่เป็นธนาคารของทั้งสองประเทศ
กระบวนการส่งออกไปยังสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) โดยสรุป เป็นดังแผนภาพต่อไปนี้
ซอสและของปรุงรส (พิกัด 2103)
อัตราการเติบโตของการส่งออกซอสและเครื่องปรุงรสจากไทยไปสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) สามารถแบ่งตัวอย่างสินค้าส่งออกในปี 2565 ได้เป็น ผงชูรส (ร้อยละ 44.5) ซอสและเครื่องแกงอื่นๆ (ร้อยละ41.0) เครื่องแกงกระหรี่ (ร้อยละ 6.1) ซุปสำเร็จรูป (ร้อยละ 4.7) ซอสมะเขือเทศ (ร้อยละ 1.8) โดยไทยเป็นผู้นำเข้าซอสและเครื่องปรุงเป็นอันดับที่ 3 ของไต้หวัน จึงถือว่าซอสและเครื่องปรุงรสของไทยเป็นสินค้าที่มีศักยภาพและเอกลักษณ์โดดเด่นในตลาดไต้หวัน อีกทั้งตลาดผู้บริโภคชาวไต้หวันที่นิยมอาหารไทยยังเพิ่มมากขึ้น โดยกลุ่มคนรุ่นใหม่หันมานิยมรสชาตเผ็ดร้อนมากขึ้น ผู้ประกอบการสามารถรังสรรรสชาตจากการผสมผสานทางวัฒนธรรมได้ เช่น การนำซอสพริกของไทยผสมกับซอสเกาหลี เป็นต้น
ช่องทางหลักที่เข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคได้มากที่สุดจะเป็นการจำหน่ายผ่านซูเปอร์มาร์เก็ต รองลงมาจะเป็นไฮเปอร์มาร์เก็ต ร้านขายของชำ ช่องทางแพลตฟอร์มร้านค้าหรือพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ และร้านสะดวกซื้อตามลำดับ โดยรายการสินค้าซอสและเครื่องปรุงรสของไทยที่ได้รับความนิยมผ่านช่องทางการซื้อออนไลน์ ได้แก่ ซอสน้ำจิ้มไก่ย่าง น้ำจิ้มสะเต๊ะ เครื่องแกงเผ็ด เครื่องแกงเขียวหวาน (เจ) ซอสต้มยำ กะปิ น้ำพริกเผา น้ำปลา ซอสพริก ซอสก๊วยเตี๋ยวเรือ และซอสบ๊วย เป็นต้น
สินค้าไอศกรีม (พิกัด 2105)
ไทยเป็นผู้นำเข้าไอศกรีมอันดับที่ 7 ของไต้หวัน โดยตลาดนำเข้าไอศกรีม 3 อันดับแรกของสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) ครองส่วนแบ่งการตลาดเกือบร้อยละ 80 ของส่วนแบ่งการตลาดทั้งหมด มีปริมาณการนำเข้าจากไทยร้อยละ 2.5 ของการนำเข้าทั้งหมด แต่จุดแข็งของไอศกรีมไทยคือความเป็นเอกลักษณ์ทางวัตถุดิบหลักที่นำมาทำไอศกรีม วัตถุดิบดังกล่าวคือผลไม้เมืองร้อนที่คงความหวานอมเปรี้ยวในแบบที่หาจากแบรนด์อื่นไม่ได้
ไอศกรีมไทยที่นิยมในตลาดไต้หวันจะเป็นไอศกรีมผลไม้ที่เน้นเอกลักษณ์รสชาติความเป็นไทย ได้แก่ ไอศกรีมกะทิ มะพร้าว ทุเรียนและชาไทย เป็นต้น โดยมีสัดส่วนการจำหน่ายไอศกรีมรูปแบบนำกลับบ้านอยู่ที่ร้อยละ 48.3 และรูปแบบทานทันทีอยู่ที่ร้อยละ 51.7 ลักษณะไอศกรีมที่ได้รับความนิยมในตลาดไต้หวันมากที่สุดคือ ไอศกรีมแบบแท่ง ตามด้วยแบบโคน และแบบอื่น ๆ
กลุ่มผู้บริโภคไอศกรีมจะเป็นกลุ่มที่นิยมและชื่นชอบรสสัมผัสของอาหารไทย ผู้ประกอบการไทยควรพิจารณา การเข้าร่วมและจัดจำหน่ายสินค้าผ่านร้านอาหารต่างๆ เพื่อเป็นช่องทางการบุกเบิกไอศกรีมเข้าสู่ตลาด โดยเฉพาะการนำสินค้าเป็นหนึ่งในเมนูตามร้านอาหารไทย หรือร้านอาหารประเภทบุฟเฟต์ที่นิยมใช้ไอศกรีมเป็นของหวานตบท้าย ทั้งนี้ประเทศไทยจะถูกคิดอัตราภาษีนำเข้าไอศกรีมอยู่ที่ร้อยละ 10
สินค้าเครื่องดื่มน้ำผัก/ผลไม้ (พิกัด 2009, 2202)
ไทยเป็นผู้นำเข้าน้ำผักและน้ำผลไม้มากที่สุดอันดับแรกของสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) ซึ่งร้อยละ 50 ของการนำเข้าจะเป็นรูปแบบน้ำผักและผลไม้เข้มข้นที่เป็นหัวเชื้อหรือแบบบรรจุถังใหญ่เพื่อการผลิตแปรรูปเป็นเครื่องดื่ม สินค้านำเข้าหลักจะเป็นน้ำแอปเปิ้ล น้ำองุ่น น้ำสัปปะรด และน้ำส้ม สินค้าที่เกี่ยวข้องกับบรรดาน้ำผักหรือน้ำผลไม้ได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องจากผู้บริโภคชาวไต้หวันเกือบทุกกลุ่มโดยเฉพาะน้ำมะพร้าว
สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) นำเข้าปริมาณน้ำมะพร้าวจากไทยเป็นอันดับหนึ่ง มากที่สุดเมื่อเทียบกับการนำเข้าจากประเทศอื่น ๆ ของตลาดน้ำมะพร้าว คิดมูลค่าการนำเข้ามะพร้าวจากไทยในปี 2565 เป็นมูลค่ามากกว่า 476 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 77.8 ของการนำเข้าในตลาดมะพร้าว โดยผลไม้อื่นๆ ที่ไต้หวันนิยมนำเข้าจากไทยคือ ส้ม สับปะรด มะม่วง องุ่น เกรปฟรุต มะเขือเทศและแอปเปิ้ล
ร้อยละ 90 ของคนไต้หวันนิยมซื้อเครื่อมดื่มน้ำผักหรือน้ำผลไม้เก็บไว้ที่บ้านทุกเดือน โดยเครื่องดื่มผลไม้ที่ได้ความนิยมที่สุดจะเป็นรสเปรี้ยวอมหวานของส้ม ตามด้วยฝรั่ง แอปเปิ้ล องุ่น เกรปฟรุต แครนเบอรี่ และมะม่วง อีกทั้งร้านอาหารไทยในไต้หวันทุกร้านกว่า 1,000 แห่งทั่วเกาะไต้หวันล้วนมีน้ำผลไม้เป็นเครื่องดื่มประจำร้านเกือบทุกเมนู โดยเฉพาะน้ำมะพร้าวที่จะได้รับความนิยมอย่างมาก เช่น เมนูอเมริกาโนมะพร้าว
อัตราภาษีนำเข้าเกี่ยวกับสินค้าที่เป็นน้ำผัก/ผลไม้ ต้องเป็นน้ำผักผลไม้ที่ไม่ได้ผ่านการหมัก และไม่มีส่วนผสมของแอลกอฮอลล์ (HS 2009) คิดอัตราภาษีร้อยละ 20 – 35 หากเป็นน้ำผักผลไม้สำหรับดื่ม ที่ไม่มีส่วนผสมของแอลกอฮอลล์ (HS 2202) คิดอัตราภาษีร้อยละ 10 – 20