การปรับตัวของผู้ประกอบการ SME ไทยมุ่งสู่การดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน (Sustainable Business)
SDGs ทวีความสำคัญเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะที่นโยบายรัฐบาลกว่า 20 ประเทศทั่วโลก กำหนดเป็นหนึ่งวาระแห่งชาติ นับว่าเป็นหนึ่งในเมกะเทรนด์ที่สำคัญของโลก ที่ให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาสภาพภูมิอากาศ การปกป้องสิ่งแวดล้อม ซึ่งเมกะเทรนด์นี้เป็นได้ทั้งโอกาสและอุปสรรคสำหรับผู้ประกอบการ ในบางประเทศได้นำประเด็นดังกล่าวมากำหนดเป็นนโยบายและกฎระเบียบทางการค้า จนอาจกลายเป็นข้อกีดกันทางการค้าระหว่างประเทศ หรือมาตรการกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษี (Non-Tariff Measure: NTMs) อาทิ มาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช (Agreement on the Application of Sanitary and Phytosanitary Measures-SPS) ที่เน้นมาตรการเพื่อกำกับดูแลความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์สินค้านำเข้า สารอันตราย สารเติมแต่ง สารปนเปื้อน สารพิษต่อชีวิตที่อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์ สอดคล้องกับ SDGs เป้าหมายที่ 3 : สุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี (Good Health and Well-Being) เป็นต้น
แผนภาพที่ 1 สัดส่วนของผู้บริโภคที่คำนึงถึงความยั่งยืนในปี 2022
ที่มา: Statista, 2022
ข้อมูลจาก Statista (2022) รายงานว่า ผู้บริโภคให้ความสนใจสินค้าและบริการที่ให้ความสำคัญกับความยั่งยืนของโลกในปี 2022 มากกว่าปีที่ผ่านมา โดยประเทศที่มีสัดส่วนผู้บริโภคให้ความสนใจมากที่สุดคือ ประเทศจีนคิดเป็นร้อยละ 80 รองลงมาคืออิตาลี (ร้อยละ 77) สหราชณาจักร (ร้อยละ 76) ฝรั่งเศส (ร้อยละ 74) เยอรมัน (ร้อยละ 70) และ สหรัฐอเมริกา (ร้อยละ 67)
ไทยจึงจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการพัฒนาประเทศ ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมให้สอดคล้องกับเวทีการค้าโลก โดยใช้จุดเด่นของประเทศที่มีความหลากหลายทางชีวภาพ ความหลากหลายทางวัฒนธรรม การสนับสนุนและส่งเสริมให้ไทยเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายสินค้าและบริการมูลค่าสูง ด้วยการใช้โมเดลเศรษฐกิจใหม่ที่เรียกว่า “BCG Model” ประกอบไปด้วย การพัฒนา 3 เศรษฐกิจ คือ เศรษฐกิจชีวภาพ (Bio-economy) เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular economy) และเศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) ทั้งนี้ BCG Model มีความสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติ (SDGs) นโยบายสีเขียวของสหภาพยุโรป (European Green Deal) และสอดรับกับหลักการเศรษฐกิจพอเพียงของประเทศไทย อีกทั้งยังสามารถตอบสนองต่อพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว
การดำเนินการพัฒนาธุรกิจตามแนวทางของ BCG จะทำให้ผู้ประกอบการ SME ไทยมีโอกาสส่งออกสินค้าเข้าสู่ตลาดประเทศที่มีความมั่งคงทางเศรษฐกิจ หรือประเทศเศรษฐกิจใหม่ อาทิ ประเทศในกลุ่มอาเซียน จีน อินเดีย กลุ่มประเทศตะวันออกกลาง ตลอดจนกลุ่มประเทศที่ต้องการคุณภาพและมาตรฐานสินค้าระดับสูง จากข้อได้เปรียบของไทยที่มีความหลากหลายทางชีวภาพ ทั้งเรื่องของเกษตร อาหาร แม้กระทั่งด้านภูมิศาสตร์ ความท้าทายนี้ สร้างโอกาสทางธุรกิจในการเข้าสู่ตลาดต่างประเทศ ซึ่งเป็นตลาดที่มีกำลังซื้อสูงและให้ความสำคัญสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะสินค้าประเภทอาหารยั่งยืน (Sustainable food) อาหารแห่งอนาคต (Future Food) ที่ช่วยลดคาร์บอนได้มากกว่าเนื้อสัตว์หลายเท่าและกำลังเป็นเทรนด์ของโลก เช่น เนื้อจากพืช (Plant-Based Meat) โปรตีนจากแมลงที่ใช้พื้นที่ในการผลิตน้อยกว่าปศุสัตว์ ต้องมีการพัฒนานวัตกรรมในการผลิตให้มีความเหมือนและรสชาติเหมือนเนื้อสัตว์ประเภทต่าง ๆ เพื่อให้ผู้บริโภคหันมารับประทานมากขึ้น
BCG ยังสามารถนำมาผสมผสานกันได้ทั้งกระบวนการ เช่น การบำบัดน้ำเสียจากอุตสาหกรรมมันสำปะหลังและการนำกากมันสำปะหลังที่เหลือจากกระบวนการผลิตไปเป็นอาหารสัตว์ การนำว่านเสน่ห์จันทร์หอมที่ปลูกโดยไม่ใช้สารเคมี มาผลิตเป็นสกัดทำน้ำหอมและสบู่ หลังจากนั้นนำเส้นใยว่านที่เหลือจากการผลิตนำมาทำเสื้อผ้าและเครื่องนุ่มห่ม การปลูกไผ่โดยวิธีธรรมชาติ ไม่ใช้สารเคมี นำผลผลิตที่ได้มาทำเป็นเครื่องเรือน เครื่องจักรสาร สิ่งปลูกสร้าง อาคารบ้านเรือน และเศษไม้ไผ่ที่เหลือทำเป็นเชื้อเพลิง หรือผสมกับดินเหนียวเพื่อทำเป็นอิฐ เป็นต้น ตลอดจนประเทศไทยมีของเสีย (Waste) ที่ยังไม่ได้รับการจัดการอยู่จำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นของเสียที่จากการเกษตร ครัวเรือนและอุตสาหกรรม ถ้าผู้ประกอบสามารถนำของเสียเหล่านี้ไปเพิ่มมูลค่า อาทิ ทำเป็นอาหารสัตว์ ทำปุ๋ยหมัก หรือแม้กระทั่งนำมาสกัดเป็นเวชภัณฑ์ที่เป็นส่วนผสมของเครื่องสำอาง หรือการนำเศษผ้าในอุตสาหกรรมสิ่งทอรวมทั้งของเหลือมารีไซเคิล และแปรสภาพเป็นสินค้าใหม่ การนำของมือสองมาออกแบบหรือดีไซน์ใหม่ ทำให้เกิดสินค้าใหม่ จนเกิดเป็น Zero Waste นับว่าเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มและโอกาสทางธุรกิจให้กับ ผู้ประกอบการ SME เช่นกัน
นอกจากนี้ การท่องเที่ยวที่เป็น Low Carbon หรือ Net Zero กำลังเป็นกระแสของโลกการท่องเที่ยววิถีชุมชนเชิงอนุรักษ์ (Local Alike) โรงแรม รีสอร์ท ที่พักต่าง ๆ ที่ยกระดับมาตรฐานการให้บริการที่เป็นมิตรต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม อาทิ การปรับใช้วัสดุหรือเฟอร์นิเจอร์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Eco-Friendly) การลดการปล่อยมลพิษ หรือการจัดการของเสียอย่างเหมาะสม จะสร้างความประทับใจให้กับนักท่องเที่ยว และยังเป็นการเพิ่มกลุ่มนักท่องเที่ยวที่มีแนวโน้มเลือกใช้บริการโรงแรมและที่พักที่มีนโยบาย BCG มากขึ้นทุกปีอย่างต่อเนื่อง ก่อให้เกิดธุรกิจใหม่ในทุกพื้นที่ และสร้างรายได้ให้กับภาคทุกธุรกิจที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกับรายงานของ Statista (2022) ที่พบว่ามูลค่าตลาด Ecotourism จะเพิ่มขึ้นจาก 172.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2022 ไปเป็น 374.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2026
ในอนาคตมูลค่าของสินค้าและบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ BCG จะเป็นโมเดลเศรษฐกิจที่จะขับเคลื่อนผู้ประกอบการ SME ไทย สู่เวทีการค้าโลก หากผู้ประกอบการสามารถปรับเปลี่ยนกระบวนการดำเนินงานของธุรกิจให้สอดคล้องกับแนวคิดนี้ ก็จะช่วยให้ธุรกิจลดต้นทุน และเพิ่มศักยภาพให้แข่งขันได้ในระดับโลก เนื่องจากผู้บริโภคยุคใหม่มักจะเลือกสินค้าและบริการที่แสดงให้เห็นถึงความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมของธุรกิจจากตราสัญลักษณ์ที่เชื่อถือได้ ผู้ประกอบการสามารถรับคำปรึกษาและขอฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์ (Carbon Footprint) ที่องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) สำหรับผู้ประกอบการโรงแรม สามารถขอสัญลักษณ์กรีนโฮเทล (Green Hotel) จากกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม จะเป็นการสร้างความแตกต่าง เพิ่มคุณค่าและมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์หรือบริการ นอกจากนี้ยังสร้างโอกาสคว้าใจผู้บริโภคยุคใหม่ ส่งผลให้เกิดกำไรธุรกิจอย่างมั่นคงและยั่งยืนต่อไป
บทความแนะนำ เมกะเทรนด์
การตลาดปัจจัย 4 โอกาสของผู้ประกอบการ SME ไทยกับสังคมผู้สูงอายุ https://youtu.be/LR6hiUu3MtU ประเทศที่ประชากรกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มที่ (Super-Aged Society) มีจำนวน 13 ประเทศที่เข้าสู่สภาวะดังกล่าวตั้งแต่ปี 2020 และมีจำนวนถึง 34 ประเทศที่กำลังเข้าสู่สภาวะดังกล่าวในปี 2030 ซึ่งประเทศที่คาดว่าจะมีสัดส่วนจำนวนประชาสูงอายุมากที่สุดในปี 2030 ได้แก่ ญี่ปุ่น (ร้อยละ 30.7) เยอรมนี (ร้อยละ 28.2) และอิตาลี (ร้อยละ 26.8) ตามลำดับ โดยทั้งสามประเทศเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์สูงสุดตั้งแต่ปี 2015 เป็นต้นมา และในปี 2050 โลกจะกลายเป็นสังคมแห่งผู้สูงวัย ด้วยจำนวนสูงถึง 2,100 ล้านคนคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 1 ใน 5 ของประชากรโลกในจำนวนนี้อาศัยอยู่ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก 670 ล้านคน แนวโน้มสังคมผู้สูงอายุที่เพิ่มทั้งจำนวนและช่วงอายุขัยอันเกิดจากเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการแพทย์สมัยใหม่ช่วยยืดอายุขัยของมนุษย์ให้ยาวขึ้นกว่าในอดีต ในหลายประเทศจึงเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มที่ (Super-Aged Society) […]
นำพลังแห่ง Soft Power สร้างสรรค์สินค้าไทยสู่ตลาดสากล https://youtu.be/ArgRcGcZDJE ไทยเป็นประเทศที่มีชื่อเสียงด้านการท่องเที่ยว และติดอันดับที่ 4 ของประเทศเป้าหมายที่น่าไปเยือนที่สุดในโลก (Visa Global Travel Intentions Study, 2022) สินค้าและบริการไทยที่เป็น Soft Power จึงมาจากนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางมาท่องเที่ยวประเทศไทย เช่น เครื่องแต่งกายไทย อาหารและผลไม้เมืองร้อน สินค้ากลุ่มหัตถกรรม สินค้าที่ถูกแปรรูปมาจากสมุนไพรไทย อาทิ สินค้ากลุ่มสปา น้ำมันนวด ยาดม ยาหม่อง รวมถึงธุรกิจด้าน Wellness Medical Services ของประเทศไทยที่เป็นที่สนใจของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ตลอดจนการผสมผสานความเชื่อของคนไทยซึ่งเป็นหนึ่งใน Soft Power ที่สร้างรายได้ในภาคการท่องเที่ยวและการส่งออกของไทย โดยเฉพาะกลุ่มคนเชื้อสายเอเชียที่มีวัฒนธรรมความเชื่อร่วมกัน ในขณะที่อุตสาหกรรมบันเทิงไทยกำลังได้รับกระแสเชิงบวกในระดับนานาชาติ อาทิ รายการมวยไทย การแข่งขันนางงาม ซีรีส์ ภาพยนตร์ ละคร และดนตรี โดยเฉพาะแนว Boy’s […]
โอกาสของผู้ประกอบการ SME ไทย ในโลกการค้าดิจิทัล https://youtu.be/UXa3Gxnqo60 ภายใต้แผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ปี 2559-2578 มุ่งเน้นการสร้างระบบนิเวศสำหรับธุรกิจดิจิทัล ประเทศไทยมีนโยบายสนับสนุนด้านดิจิทัลที่ชัดเจนในด้านการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมภาคอุตสาหกรรม เศรษฐกิจ และสังคม นอกจากนี้ การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ยังถือเป็นตัวเร่งสำคัญที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้ใช้อินเตอร์เน็ต เกิดการเชื่อมโยงในหลายภาคส่วน อาทิ การใช้เทคโนโลยีเพื่อสนับสนุนการทำงานของระบบสาธารณสุข การพัฒนาระบบนิเวศ ทั้งในเรื่องความคุ้มครองตามข้อกฎหมาย และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (e-Transaction) เพื่อรองรับการเติบโตของการทำธุรกรรมผ่านเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ (e-Document) การค้าขายผ่านตลาดพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Commerce/ e-Marketplace) และการชำระเงินผ่านกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Wallet) ที่เปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการ SME ไทย มีช่องทางกระจายสินค้าและบริการให้ผู้บริโภคได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และทั่วถึงมากยิ่งขึ้น ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ที่มีความสำคัญ ผู้ประกอบการ SME ควรศึกษาและนำไปใช้ในธุรกิจ ได้แก่ e-Signature หรือ การลงนามในเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ ที่มีความปลอดภัยสูงด้วยเทคโนโลยีบล็อกเชน ที่ออกโดยหน่วยงานที่ได้รับการรับรอง หรือ CA […]
การปรับตัวของผู้ประกอบการ SME ไทยมุ่งสู่การดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน (Sustainable Business) https://youtu.be/ANDjFwAEtvU SDGs ทวีความสำคัญเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะที่นโยบายรัฐบาลกว่า 20 ประเทศทั่วโลก กำหนดเป็นหนึ่งวาระแห่งชาติ นับว่าเป็นหนึ่งในเมกะเทรนด์ที่สำคัญของโลก ที่ให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาสภาพภูมิอากาศ การปกป้องสิ่งแวดล้อม ซึ่งเมกะเทรนด์นี้เป็นได้ทั้งโอกาสและอุปสรรคสำหรับผู้ประกอบการ ในบางประเทศได้นำประเด็นดังกล่าวมากำหนดเป็นนโยบายและกฎระเบียบทางการค้า จนอาจกลายเป็นข้อกีดกันทางการค้าระหว่างประเทศ หรือมาตรการกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษี (Non-Tariff Measure: NTMs) อาทิ มาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช (Agreement on the Application of Sanitary and Phytosanitary Measures-SPS) ที่เน้นมาตรการเพื่อกำกับดูแลความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์สินค้านำเข้า สารอันตราย สารเติมแต่ง สารปนเปื้อน สารพิษต่อชีวิตที่อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์ สอดคล้องกับ SDGs เป้าหมายที่ 3 : สุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี (Good Health and Well-Being) เป็นต้น แผนภาพที่ 1 สัดส่วนของผู้บริโภคที่คำนึงถึงความยั่งยืนในปี […]
โอกาสของผู้ประกอบการ SME ไทยจากการเปลี่ยนแปลงสู่เศรษฐกิจใหม่ที่ไม่พึ่งพิงน้ำมันของกลุ่มประเทศ GCC https://youtu.be/h_RbWAiYr1Q กลุ่มประเทศคณะมนตรีความร่วมมือแห่งรัฐอ่าวอาหรับ (Gulf Cooperation Council) หรือที่เรียกว่ากลุ่มประเทศ GCC ประกอบด้วยสมาชิก 6 ประเทศ ได้แก่ ซาอุดีอาระเบีย คูเวต โอมาน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ กาตาร์ และบาห์เรน มีการกำหนดยุทธศาสตร์และเริ่มปรับตัวสู่การสร้างเศรษฐกิจใหม่ จากประเทศที่พึ่งพิงรายได้จากน้ำมันสู่การพัฒนาเศรษฐกิจที่มีความหลากหลาย โดยเฉพาะหลัง Covid-19 มีการเร่งรัดกิจกรรมทางเศรษฐกิจให้มีการเติบโตแบบอัตราเร่ง มีแผนการเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ 5 จากเดิมที่ไม่มีการจัดเก็บภาษีดังกล่าว และการปรับเปลี่ยนค่านิยมและสังคมรูปแบบใหม่ (Socioeconomic Movement) อาทิ การให้สิทธิและบทบาทของสตรีที่เพิ่มมากขึ้น หรือการผ่อนคลายความเข้มงวดข้อปฏิบัติทางศาสนา ที่สำคัญคือ นโยบายที่มุ่งเน้นการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ในการสร้างประเทศ และมุ่งจ้างแรงงานในประเทศ เพื่อสร้างความมั่นคงให้เกิดขึ้นให้เกิดความสมดุลของแหล่งรายได้ภายใน 5-10 ปีข้างหน้า กลุ่มประเทศ GCC ยังเป็นช่องทางประตูการค้าเชื่อมต่อกับประเทศในทวีปแอฟริกาตอนเหนือ ซึ่งมีการรวมกลุ่มเศรษฐกิจเป็นกลุ่มประเทศตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ (Middle East and North […]