loader

มาตรการปรับคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดน (CBAM)

Play Video

     Carbon Border Adjustment Mechanism หรือ CBAM นั้นเป็นมาตรการใหม่ของสหภาพยุโรป หรือ European Union (EU) เพื่อกำหนดให้สินค้าในรายชื่อที่มีการผลิตก๊าซเรือนกระจก (Green House Gas emissions: GHG) ในกระบวนการผลิต ต้องชำระราคาคาร์บอน (carbon price) หากต้องการนำเข้าไปยังสหภาพยุโรป โดยถูกพิจารณาเป็นหนึ่งในมาตรการกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษีที่เกิดขึ้นเมื่อไม่นานมานี้ โดยเป็นผลสืบเนื่องมาจากการเพิ่มความเข้มข้นของมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมและการลดก๊าซเรือนกระจกภายในสหภาพยุโรปโดยเฉพาะการเพิ่มความเข้มแข็งของการพัฒนาและใช้ระบบตลาดซื้อขายการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (European Union Emission Trading Scheme: EU ETS) จึงเกิดความกังวลว่าจะก่อให้เกิดการลดลงของความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการในสหภาพยุโรปเนื่องจากมีต้นทุนที่สูงกว่าจากราคาคาร์บอน (Carbon Price) ที่ต้องจ่าย และอาจก่อให้เกิดการรั่วไหลทางคาร์บอนโดยการย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศอื่นที่ไม่มีกฎบังคับ CBAM จึงเกิดขึ้นมาเพื่อให้สินค้าที่นำเข้าไปยังสหภาพยุโรปจำเป็นต้องจ่ายราคาคาร์บอนเช่นเดียวกัน

     ปัจจุบันมีการกำหนดสินค้า CBAM ทั้งหมด 6 ประเภทสินค้าที่เกี่ยวข้องโดยอ้างอิงจากหมายเลข CN code  ซึ่งอาจรวมไปถึงวัตถุดิบตั้งต้น (Precursor) และสินค้าปลายน้ำ ของสินค้าดังกล่าวด้วย ประกอบด้วยสินค้าในหมวดต่าง ๆ ดังนี้

  1.     ซีเมนต์ (Cement)
  2.     เหล็กและเหล้กกล้า (Iron and Steel)
  3.     อะลูมิเนียม (Aluminum)
  4.     ปุ๋ย (Fertilizers)
  5.     ไฮโดรเจน (Hydrogen)
  6.     ไฟฟ้า (Electricity)

     ทั้งนี้ มาตรการ CBAM ได้มีการแบ่งการดำเนินงานออกเป็น 2 ช่วงได้แก่ 

1.ช่วงเปลี่ยนผ่าน (Transitional period) ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม ปีพ.ศ. 2566 ถึง 31ธันวาคม พ.ศ. 2568 เป็นช่วงที่ให้เกิดการปรับตัวของผู้ประกอบการโดยจะยังไม่มีการเก็บราคาคาร์บอน แต่จำเป็นต้องมีการส่งรายงานถึงมลภาวะที่เกิดจากการผลิต หรือ embedded emission 

2. ช่วงบังคับใช้ (Definitive Period) เป็นช่วงที่เริ่มมีการเก็บราคาคาร์บอนสินค้าที่นำเข้าไปยังสหภาพยุโรป โดยตั้งแต่ 1 มกราคม พ.ศ. 2576 เป็นต้นไป สินค้าเป้าหมายทุกประเภทต้องจ่ายราคาคาร์บอนตามปริมาณที่ผลิตในราคาเทียบเท่ากับราคาที่ต้องจ่ายในการผลิตในสหภาพยุโรปนั้น

     นอกจากนี้การบังคับใช้ของ CBAM ในสหภาพยุโรปได้เริ่มส่งผลให้หลาย ๆ ประเทศมีความสนใจในการทำมาตรการเก็บภาษีคาร์บอนข้ามพรมแดนเช่นกัน เช่น การเสนอกฎหมายภายใต้ชื่อ Clean Competition Act หรือ CCA ของสหรัฐอเมริกา การประกาศการเสนอการนำมาตรการ CBAM ของสหราชอาณาจักร และ การศึกษาภายใต้โครงการ Border Carbon Adjustments (BCAs) ของแคนาดา โดยมีสินค้าเป้าหมายจากสินค้าที่มีการผลิตคาร์บอนเข้มข้นในการผลิต เช่น ปุ๋ย ไฮโดรเจน ซีเมนต์ เหล็กและเหล็กกล้า อะลูมิเนียม ซีเมนต์ เซรามิกส์ กระจก เป็นต้น

ผลกระทบต่อผู้ประกอบการ SME ไทย

     การเริ่มต้นของCBAM นั้นทำให้เกิดผลกระทบเชิงลบขึ้นต่อภาคการส่งออกไปยัง สหภาพยุโรป ใน 2 ปัจจัยหลัก ๆ ได้แก่ 

  1. มีต้นทุนส่งออกที่สูงขึ้น จากปัจจัยหลาย ๆ ด้านทั้งทางตรง และทางอ้อม เช่น ต้นทุนจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ค่าพัฒนาระบบการผลิตในระยะสั้นกรณีที่มีการพัฒนาระบบการผลิตเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 
  2. การลดลงของความสามารถในการแข่งขันจากราคาที่เพิ่มขึ้นและความพร้อมในการเปลี่ยนระบบ อย่างไรก็ดี การเกิดขึ้นของ CBAM ก็อาจช่วยในการกระตุ้นการพัฒนาภาคการผลิตของไทย โดยเฉพาะในบริษัท SME ที่มีความสามารถและความคล่องตัวให้มีการปรับไปใช้เทคโนโลยีที่มีความยั่งยืนมากขึ้นสอดคล้องกับเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกของไทย เช่นกัน

     จากการที่มาตรการ CBAM ของสหภาพยุโรปได้เริ่มดำเนินงานแล้วนั้นผู้ประกอบการจำเป็นต้องมีการปรับตัวเพื่อให้สามารถสอดรับกับมาตรฐานของสหภาพยุโรป และเชื่อว่าจะมีความใกล้เคียงกับมาตรฐานอื่น ๆ ที่จะตามมาได้อนาคตอันใกล้นี้ ผู้ประกอบการที่เป็นผู้ผลิตในประเทศไทยจึงต้องมีการเตรียมความพร้อม โดยเฉพาะการติดตามมลภาวะที่เกิดขึ้นจากการผลิตสินค้า มลภาวะที่ต้องทำการติดตามและรายงานแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่

  1.   การปล่อยมลภาวะทางตรง: การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางตรงในกระบวนการผลิตสินค้า โดยเฉพาะการเผาไหม้เชื้อเพลิง รวมไปถึงความร้อน (Heat) การหล่อเย็น (Cooling) และก๊าซเหลือทิ้ง (Waste Gas)
  2.   การปล่อยมลภาวะทางอ้อม: ก๊าซเรือนกระจกที่เกิดขึ้นจากกระบวนการผลิตไฟฟ้าที่ใช้ในการผลิตสินค้าทั้งจากที่มีการผลิตเอง และที่มีการซื้อมาจากภายนอก
  3.   การปล่อยมลภาวะจากวัตถุดิบตั้งต้น (precursor): เป็นมลภาวะที่เกิดจากสินค้าที่นำมาใช้ในการผลิต เฉพาะวัตถุดิบตั้งต้นที่มีการระบุไว้โดยคณะกรรมาธิการยุโรปเท่านั้น

     ทั้งนี้ ผู้ประกอบการสามารถเลือกวิธีการติดตามให้เหมาะสมกับการผลิตสินค้าของต้นเอง โดยต้องมีการติดตามมลภาวะในการผลิตจาก 2 ระดับด้วยกัน ได้แก่

1. ระดับที่ตั้ง สำหรับมลภาวะในขอบเขตการดำเนินงานของระบบการผลิตทั้งหมดที่ที่กระบวนการผลิตทั้งหมดดำเนินงาน

2. ระดับกระบวนการผลิต ในกระบวนการหนึ่งที่แปรรูปสินค้าหนึ่งให้เป็นสินค้าหนึ่ง และทำให้เกิดก๊าซเรือนกระจกขึ้นมา

บทความแนะนำ เมกะเทรนด์

iqonic-image
Posted on

ข้อบังคับการออกแบบนิเวศน์เพื่อผลิตภัณฑ์ยั่งยืน https://youtu.be/nKKk8ZHDlp4      Eco-design เป็นกฏระเบียบใหม่ของสหภาพยุโรป มาจากคำว่า “Ecological Design” และ “Economic” หมายความคือ กระบวนการที่ผสมผสานแนวคิดระหว่างเศรษฐกิจเข้ากับการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมตลอดห่วงโซ่ของผลิตภัณฑ์ ตั้งแต่ขั้นตอนการผลิต วัตถุดิบที่ใช้ จนกระทั่งขั้นตอนการทำลายหรือการนำกลับมาใช้ใหม่ ซึ่งขึ้นอยู่กับตัวผลิตภัณฑ์ที่ออกแบบไว้ตั้งแต่ตอนแรก โดยมีหลักการคือเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และสนับสนุนประเด็นด้านเศรษฐกิจหมุนเวียนอย่างเช่น ความทนทาน ความสามารถในการซ่อมแซม และการรีไซเคิล ซึ่งจะควบคู่กับการวิเคราะห์ปัจจัยด้านอื่น ๆ ได้แก่ ต้นทุน กระบวนการผลิต การควบคุมคุณภาพ และการตลาด เป็นต้น      จากผลการเปิดรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับประเภทผลิตภัณฑ์ภายใต้แผนการทำงานฉบับแรกเมื่อ พ.ศ. 2565 ที่ผ่านมา พบว่า ผลิตภัณฑ์ที่เหมาะจะเป็นกลุ่มผลิตภัณฑ์สำหรับแผนการทำงานฉบับแรก มีดังนี้ สิ่งทอ เฟอร์นิเจอร์ ยางรถยนต์ น้ำยาซักผ้า สี น้ำมันหล่อลื่น เหล็ก และเหล็กกล้า อะลูมิเนียม      เนื่องจากเสียงส่วนใหญ่มีความเห็นว่าผลิตภัณฑ์ดังกล่าวมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมสูง แต่มีศักยภาพในการปรับปรุงสินค้าให้กลับมาใช้ได้อีกตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน     […]

iqonic-image
Posted on

โอกาสและความท้าทายทางตลาดจากความตกลง ACFTA https://youtu.be/8MxMFHqhwdo      ในปีพ.ศ. 2545 ผู้นำอาเซียนและจีนลงนามกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจอาเซียน – จีน ที่มีเนื้อหาครอบคลุมประเด็นการค้าสินค้า การค้าบริการและการลงทุน และความร่วมมือทางเศรษฐกิจต่าง ๆ หลังจากนั้นในปี พ.ศ.2558 ทั้งสองได้ลงนามพิธีสารเพื่อแก้ไขกรอบความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจและความตกลงที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมีผลบังคับใช้ในปี พ.ศ.2559 ต่อมาในปี พ.ศ. 2563 ทั้งสองต่างเห็นพ้องที่จะเริ่มหารือการเปิดตลาดสินค้าเพิ่มเติม โดยร่วมกันพิจารณาปรับปรุงความตกลง ฯ แบบองค์รวม (Holistic Manner) โดยพิจารณาเพิ่มเติมให้ครอบคลุมสาขาอื่น ๆ ด้วย อันได้แก่ การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ และการลดอุปสรรคอื่น ๆ ที่มิใช่ภาษี เป็นต้น       จีนลดภาษีศุลกากรให้แก่สินค้าของอาเซียนครอบคลุมทั้งสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรม ส่งผลให้สินค้าไทยได้แต้มต่อด้านราคาจึงมีศักยภาพในการแข่งขันเพิ่มขึ้น โดยสินค้าที่จะได้รับประโยชน์จาก ACFTA ได้แก่ ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง เคมีภัณฑ์อินทรีย์ สารแอลบูมินอยด์ พลาสติกและของที่ทำด้วยพลาสติก ผลิตภัณฑ์ยาบางชนิด หนังฟอก เครื่องจักรบางชนิด และอุปกรณ์เครื่องใช้ทางการแพทย์ เป็นต้น       ทั้งนี้ หาก […]