ข้อบังคับการออกแบบนิเวศน์เพื่อผลิตภัณฑ์ยั่งยืน
Eco-design เป็นกฏระเบียบใหม่ของสหภาพยุโรป มาจากคำว่า “Ecological Design” และ “Economic” หมายความคือ กระบวนการที่ผสมผสานแนวคิดระหว่างเศรษฐกิจเข้ากับการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมตลอดห่วงโซ่ของผลิตภัณฑ์ ตั้งแต่ขั้นตอนการผลิต วัตถุดิบที่ใช้ จนกระทั่งขั้นตอนการทำลายหรือการนำกลับมาใช้ใหม่ ซึ่งขึ้นอยู่กับตัวผลิตภัณฑ์ที่ออกแบบไว้ตั้งแต่ตอนแรก โดยมีหลักการคือเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และสนับสนุนประเด็นด้านเศรษฐกิจหมุนเวียนอย่างเช่น ความทนทาน ความสามารถในการซ่อมแซม และการรีไซเคิล ซึ่งจะควบคู่กับการวิเคราะห์ปัจจัยด้านอื่น ๆ ได้แก่ ต้นทุน กระบวนการผลิต การควบคุมคุณภาพ และการตลาด เป็นต้น
จากผลการเปิดรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับประเภทผลิตภัณฑ์ภายใต้แผนการทำงานฉบับแรกเมื่อ พ.ศ. 2565 ที่ผ่านมา พบว่า ผลิตภัณฑ์ที่เหมาะจะเป็นกลุ่มผลิตภัณฑ์สำหรับแผนการทำงานฉบับแรก มีดังนี้
- สิ่งทอ
- เฟอร์นิเจอร์
- ยางรถยนต์
- น้ำยาซักผ้า
- สี
- น้ำมันหล่อลื่น
- เหล็ก และเหล็กกล้า
- อะลูมิเนียม
เนื่องจากเสียงส่วนใหญ่มีความเห็นว่าผลิตภัณฑ์ดังกล่าวมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมสูง แต่มีศักยภาพในการปรับปรุงสินค้าให้กลับมาใช้ได้อีกตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน
ทั้งนี้ ผู้ประกอบการไทยอาจต้องลงทุนในการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยีที่ใช้ในกระบวนการการผลิต การเลือกใช้วัสดุหรือวัตถุดิบที่ยั่งยืน รววมถึงค่าใช้จ่ายในการทดสอบผลิตภัณฑ์ เพื่อให้ผลิตภัณฑ์ดังกล่าว สอดคล้องกับข้อกำหนดของ Eco-design หากผู้ประกอบการไทยที่ต้องการจะส่งผลิตภัณฑ์ไปยังประเทศในสหภาพยุโรปไม่ปฏิบัติตาม อาจถูกปรับเงิน ถูกห้ามจำหน่ายในตลาดสหภาพยุโรป หรืออาจรุนแรงถึงขั้นจำคุก (ขึ้นอยู่กับกฎหมายของแต่ละประเทศ) เว้นแต่บริษัทขนาดเล็กที่มีพนักงานจำนวนน้อยหรือเท่ากับ 10 คนจะได้รับการยกเว้นข้อกำหนดบางประการเพื่อลดภาระทางการเงิน และสินค้าบางประเภทอาจได้รับการยกเว้นชั่วคราวเนื่องจากเหตุผลเฉพาะทางเศรษฐศาสตร์
มาตรการของไทยที่สนับสนุนข้อกำหนด Eco-design มีดังนี้
- ฉลากสีเขียว (Green Label) เป็นฉลากที่มอบให้แก่สินค้าที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด โดยเปรียบเทียบกับสินค้าประเภทเดียวกัน มีองค์กรหรือหน่วยงานกลางเป็นผู้ตรวจสอบและให้การรับรอง
- มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) กำหนดขึ้นเพื่อเป็นแนวทางแก่ผู้ผลิตสินค้าในการสร้างมาตรฐานคุณภาพที่เหมาะสมกับการใช้งาน ได้แก่ เกณฑ์ทางเทคนิค คุณสมบัติที่สำคัญของผลิตภัณฑ์ ประสิทธิภาพในการใช้งานระยะยาว และคุณภาพของวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต เป็นต้น
- แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ โดยให้ความสำคัญกับการใช้ประโยชน์ อนุรักษ์ และฟื้นฟูทรัพยากร รวมถึงส่งเสริมการผลิต และการบริโภคที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วย 2 แผนย่อย ได้แก่
- การสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนบนสังคมเศรษฐกิจสีเขียว จุดประสงค์ของแผนย่อยนี้ คือ เพื่อให้เกิดความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมในระยะยาว โดยกำหนดแนวทางให้ผลิตผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมติดฉลากสิ่งแวดล้อม
- การจัดการสารเคมีและสารเคมีที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในภาคการเกษตรตามมาตรฐานสากล จุดประสงค์ของแผนย่อยนี้ คือ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการจัดการทรัพยากรอย่างยั่งยืน โดยให้ความสำคัญกับการลดมลพิษจากของเสียอันตรายที่เกิดจากแหล่งกำเนิดต่าง ๆ ตลอดจนตรวจสอบกลไกการบริหารจัดการขยะของประเทศทั้งระบบ
- โครงการอุตสาหกรรมสีเขียว (Green Industry) เป็นโครงการที่มีจุดประสงค์เพื่อส่งเสริมให้ภาคอุตสาหกรรมของประเทศไทยดำเนินการปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงกระบวนการผลิตอย่างต่อเนื่อง โดยมุ่งเน้นให้การผลิตเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
บทความแนะนำ เมกะเทรนด์
ข้อบังคับการออกแบบนิเวศน์เพื่อผลิตภัณฑ์ยั่งยืน https://youtu.be/nKKk8ZHDlp4 Eco-design เป็นกฏระเบียบใหม่ของสหภาพยุโรป มาจากคำว่า “Ecological Design” และ “Economic” หมายความคือ กระบวนการที่ผสมผสานแนวคิดระหว่างเศรษฐกิจเข้ากับการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมตลอดห่วงโซ่ของผลิตภัณฑ์ ตั้งแต่ขั้นตอนการผลิต วัตถุดิบที่ใช้ จนกระทั่งขั้นตอนการทำลายหรือการนำกลับมาใช้ใหม่ ซึ่งขึ้นอยู่กับตัวผลิตภัณฑ์ที่ออกแบบไว้ตั้งแต่ตอนแรก โดยมีหลักการคือเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และสนับสนุนประเด็นด้านเศรษฐกิจหมุนเวียนอย่างเช่น ความทนทาน ความสามารถในการซ่อมแซม และการรีไซเคิล ซึ่งจะควบคู่กับการวิเคราะห์ปัจจัยด้านอื่น ๆ ได้แก่ ต้นทุน กระบวนการผลิต การควบคุมคุณภาพ และการตลาด เป็นต้น จากผลการเปิดรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับประเภทผลิตภัณฑ์ภายใต้แผนการทำงานฉบับแรกเมื่อ พ.ศ. 2565 ที่ผ่านมา พบว่า ผลิตภัณฑ์ที่เหมาะจะเป็นกลุ่มผลิตภัณฑ์สำหรับแผนการทำงานฉบับแรก มีดังนี้ สิ่งทอ เฟอร์นิเจอร์ ยางรถยนต์ น้ำยาซักผ้า สี น้ำมันหล่อลื่น เหล็ก และเหล็กกล้า อะลูมิเนียม เนื่องจากเสียงส่วนใหญ่มีความเห็นว่าผลิตภัณฑ์ดังกล่าวมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมสูง แต่มีศักยภาพในการปรับปรุงสินค้าให้กลับมาใช้ได้อีกตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน […]
โอกาสและความท้าทายทางตลาดจากความตกลง ACFTA https://youtu.be/8MxMFHqhwdo ในปีพ.ศ. 2545 ผู้นำอาเซียนและจีนลงนามกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจอาเซียน – จีน ที่มีเนื้อหาครอบคลุมประเด็นการค้าสินค้า การค้าบริการและการลงทุน และความร่วมมือทางเศรษฐกิจต่าง ๆ หลังจากนั้นในปี พ.ศ.2558 ทั้งสองได้ลงนามพิธีสารเพื่อแก้ไขกรอบความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจและความตกลงที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมีผลบังคับใช้ในปี พ.ศ.2559 ต่อมาในปี พ.ศ. 2563 ทั้งสองต่างเห็นพ้องที่จะเริ่มหารือการเปิดตลาดสินค้าเพิ่มเติม โดยร่วมกันพิจารณาปรับปรุงความตกลง ฯ แบบองค์รวม (Holistic Manner) โดยพิจารณาเพิ่มเติมให้ครอบคลุมสาขาอื่น ๆ ด้วย อันได้แก่ การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ และการลดอุปสรรคอื่น ๆ ที่มิใช่ภาษี เป็นต้น จีนลดภาษีศุลกากรให้แก่สินค้าของอาเซียนครอบคลุมทั้งสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรม ส่งผลให้สินค้าไทยได้แต้มต่อด้านราคาจึงมีศักยภาพในการแข่งขันเพิ่มขึ้น โดยสินค้าที่จะได้รับประโยชน์จาก ACFTA ได้แก่ ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง เคมีภัณฑ์อินทรีย์ สารแอลบูมินอยด์ พลาสติกและของที่ทำด้วยพลาสติก ผลิตภัณฑ์ยาบางชนิด หนังฟอก เครื่องจักรบางชนิด และอุปกรณ์เครื่องใช้ทางการแพทย์ เป็นต้น ทั้งนี้ หาก […]