loader

หลักการคำนวณค่าขนส่งขึ้นอยู่กับรูปแบบการขนส่ง ดังนี้

  1. การขนส่งทางอากาศ การคำนวณค่าระวางสินค้าทางอากาศ แบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ
    • การคำนวณจากน้ำหนักที่ชั่งได้จริง (Actual Weight/Gross Weight)
    • การคำนวณปริมาตร หรือความจุของสินค้า (Volume Weight) สูตรในการคำนวณ คือ

Volume Weight = กว้าง x ยาว x สูง / 6,000

*6,000 คือค่ามาตรฐานที่กำหนดโดยสายการบิน

เมื่อคำนวณเสร็จเรียบร้อยแล้วให้เปรียบเทียบระหว่างน้ำหนักที่ชั่งได้ (Gross Weight) กับปริมาตร (Volume Weight) โดยเลือกค่าที่มากที่สุดมาคำนวณค่าระวาง สูตรในการคำนวณ คือ

ค่าระวาง = อัตราค่าระวาง x น้ำหนักสินค้า (ที่ได้จากการเปรียบเทียบ)

2. การขนส่งทางทะเล โดยระบบตู้คอนเทนเนอร์ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่

  • การขนส่งแบบเต็มตู้ (Full Container Load: FCL) คือใน 1 ตู้มีผู้ส่งออกเพียง 1 รายเท่านั้น จึงคำนวณค่าระวางตามจำนวนตู้
  • การขนส่งแบบไม่เต็มตู้ (Less Than Container Load: LCL) เป็นการขนส่งแบบแชร์พื้นที่ในตู้คอนเทนเนอร์ ซึ่งจะมีเจ้าของสินค้าหลายรายรวมกันมาในตู้คอนเทนเนอร์ เหมาะกับผู้ที่ต้องการส่งสินค้าในปริมาณไม่มาก

การคำนวณค่าขนส่ง กรณี LCL ใช้หลักการเดียวกับการขนส่งสินค้าทางอากาศ ได้แก่

  • การคำนวณน้ำหนักสินค้า (Weight Ton) = จำนวนสินค้า (กล่อง) x น้ำหนักต่อกล่อง (ตัน)
  • การคำนวณปริมาตรของสินค้า ซึ่งมีหน่วยเป็นลูกบาศก์เมตร หรือ CBM

ปริมาตรของสินค้า (CBM) = จำนวนสินค้า (กล่อง) x (กว้าง x ยาว x สูง / 1,000,000)

*1,000,000 คือค่ามาตรฐานที่กำหนดโดยสายเรือ

เมื่อคำนวณเสร็จเรียบร้อยแล้วให้เปรียบเทียบระหว่างน้ำหนักที่ชั่งได้ (Weight Ton) กับปริมาตร (CBM) โดยเลือกค่าที่มากที่สุดมาคำนวณค่าระวาง สูตรในการคำนวณ คือ

ค่าระวาง = อัตราค่าระวาง x น้ำหนักสินค้า (ที่ได้จากการเปรียบเทียบ)

สำหรับอัตราค่าระวางสินค้าของแต่ละสายการบิน/สายเรือ ในเส้นทางเดียวกันอาจไม่เท่ากัน ดังนั้นผู้ประกอบการควรสอบถามอัตราค่าระวางจากสายเรือ/สายการบินหลาย ๆ แห่ง แล้วนำมาเปรียบเทียบเพื่อเป็นข้อมูลในการตัดสินใจ