กลยุทธ์การตั้งราคาในธุรกิจส่งออก
การกำหนดเงื่อนไขราคาและส่งมอบสินค้า
ในการดำเนินการค้าระหว่างประเทศมีขั้นตอนในการดำเนินงานหลายขั้นตอนซึ่งขั้นตอนที่สำคัญลำดับหนึ่งคือการทำข้อตกลงในสัญญาซื้อขายซึ่งเป็นเอกสารเริ่มต้นที่สำคัญในการกำหนดรูปแบบการซื้อขายกันโดยมีการกำหนดรายละเอียดเงื่อนไขต่าง ๆ ภายในสัญญาซื้อขายเงื่อนไขที่เป็นหัวใจของสัญญาซื้อขายนั่นคือการกำหนดประเภทเงื่อนไขราคาและการส่งมอบสินค้า เช่น รูปแบบ FOB, CIF หรือ C&F เป็นต้น ซึ่งคู่สัญญาทั้ง 2 ฝ่ายคือผู้นำเข้าและผู้ส่งออก จะต้องพิจารณาเงื่อนไขนี้อย่างรอบคอบ เนื่องจากการกำหนดเงื่อนไขแต่ละรูปแบบหมายถึงค่าใช้จ่าย ความเสี่ยง และความรับผิดชอบที่แตกต่างกันในด้านราคาสินค้า เวลา
และสถานที่ของการส่งมอบสินค้า ตลอดจนต้นทุนสินค้าในการคำนวณภาษีศุลกากรทั้งในการนำเข้าและการส่งออกทั้งนี้ เงื่อนไขราคาและการส่งมอบสินค้าในทางสากลเรียกว่า International Commercial
Terms หรือ INCOTERMS
เงื่อนไขราคาและการส่งมอบสินค้าหรืออินโคเทอม (Incoterms) เป็นข้อกำหนดของสภาหอการค้านานาชาติ (International Chamber of Commerce : ICC) ที่กำหนดความหมายของคำเฉพาะทางการค้า (trade term) เพื่อใช้สำหรับการค้าระหว่างประเทศแต่ก็สามารถนำไปใช้ในการทำสัญญาซื้อขายภายในได้ด้วยอินโคเทอมให้ความหมายและบ่งบอกถึงหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้ขายผู้ซื้อในการจัดส่งสินค้าตลอดจนค่าใช้จ่าย และความเสี่ยงภัย ซึ่งช่วยอำนวยความสะดวกให้ผู้ซื้อและผู้ขายในการทำสัญญาซื้อขายเพราะเพียงระบุเทอมของการซื้อขาย ตามอินโคเทอมไว้ในสัญญาซื้อขายโดยไม่ต้องบรรยายรายละเอียดขั้นตอนความรับผิดชอบในการจัดส่งสินค้า ค่าใช้จ่ายและความเสี่ยงภัยลงไว้ในสัญญาซื้อขายก็ถือว่าเป็นการตกลงที่เข้าใจและรับรู้กันว่าผู้ขายมีหน้าที่รับผิดชอบอย่างไรในการจัดส่งสินค้าและต้องรับภาระค่าใช้จ่ายในการส่งสินค้าเพียงใด ถึงจุดใดความเสี่ยงภัยต่อความสูญเสียหรือความเสียหายของสินค้าที่ซื้อขายกันจะโอนจากผู้ขายไปยังผู้ซื้อเมื่อใด
ข้อกำหนดใน Incoterms
· เงื่อนไขทางการค้าที่เป็นสากลเป็นตัวย่อภาษาอังกฤษ 3 ตัว
· ลดความเข้าใจไม่ตรงกัน และความขัดแย้งระหว่างคู่ค้า
1. ด้านภาระหน้าที่การส่งมอบสินค้า & เอกสาร
2. ด้านค่าใช้จ่าย
3. ด้านความเสี่ยงที่อาจเกิดจากการขนส่งสินค้า
· ลดความเสี่ยงในการตีความเงื่อนไขที่อาจแตกต่างกันในแต่ละประเทศเนื่องจากผู้ซื้อผู้ขายอยู่คนละประเทศ มีภาษาและวัฒนธรรมทางการค้าที่แตกต่างกัน
กฎ Incoterms กล่าวถึง
· ใครที่มีหน้าที่ในการจัดการขนส่งสินค้าและประกันภัยในสัญญาซื้อขาย
· เมื่อใดที่ผู้ขายส่งมอบสินค้าให้กับผู้ซื้อ
· ค่าใช้จ่ายใดที่คู่สัญญาแต่ละฝ่ายต้องรับผิดชอบ
กฎ Incoterms ไม่ได้กล่าวถึง
· ราคาสินค้าที่ต้องชำระ
· วิธีการชำระเงินที่ใช้ในการซื้อขาย
· กรรมสิทธิ์ในสินค้า
· ผลของการผิดสัญญา
INCOTERMS 2020 (International Commercial Terms of 2020) เป็นข้อตกลงมาตรฐานสากลที่ได้รับการยอมรับในการซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศในปัจจุบันประกอบด้วย 11 Terms แบ่งเป็น 4 กลุ่มคือ
Group E: Departure |
Group F: Main Carriage unpaid |
· EXW (Ex Works) |
· FCA: Free Carriage · FAS (Free Alongside Ship) · FOB (Free On Board) |
Group |
Group |
· CFR (Cost And Freight) · CIF (Cost, Insurance and · CPT (Carriage Paid To) · |
· DPU (Delivered at Place · DAP (Delivered at Place) · DDP (Delivered Duty Paid)
|
ศึกษาข้อมูล INCOTERMS 2020 เพิ่มเติมได้ที่ www.smartfreight.co.th/incoterms
ปัจจัยในการตั้งราคา
การตั้งราคาถือว่าเป็นเรื่องสำคัญมากในการทำกำไรของธุรกิจ ซึ่งในบางครั้งผู้ประกอบการอาจจะขายสินค้าดีมาก ขายดีจนไม่พอขาย ทว่าไม่มีกำไร แถมขาดทุนด้วยซ้ำ ดังนั้นการตั้งราคาขายต้องคำนึงถึงปัจจัยต่อไปนี้
- ลักษณะสินค้า หากลักษณะสินค้าคล้ายกันแทบจะไม่มีความแตกต่าง หรือเป็นสินค้าซื้อมา-ขายไป มีการแข่งขันสูง สินค้ามุ่งไปที่กลุ่ม Mass กลยุทธ์ในการตั้งราคาที่ควรใช้ คือ การตั้งราคาแบบใช้ต้นทุนเป็นฐาน หรือ Cost based Price Strategy นั่นคือ โฟกัสที่ต้นทุนของเรา แล้วบวกด้วย profit margin
- ลักษณะการแข่งขันในตลาด หากสินค้ามีความแตกต่างอยู่บ้าง แต่สามารถทดแทนกันได้ คู่แข่งมีส่วนถือครองส่วนตลาด (Market Share) ใกล้เคียงกัน กลยุทธ์ในการตั้งราคาที่ควรใช้คือ การตั้งราคาแบบใช้ราคาคู่แข่งเป็นฐาน หรือ Competitor based Price Strategy นั่นคือโฟกัสที่การตั้งราคาของคู่แข่ง หรือรอให้คู่แข่งประกาศราคาก่อน แล้วปรับราคาตามคู่แข่ง อุตสาหกรรมที่ใช้วิธีนี้ที่เห็นได้ชัดมาก ได้แก่ ธุรกิจน้ำมัน ธุรกิจน้ำหวาน และธุรกิจน้ำโคล่า เป็นต้น
- ลักษณะของกลุ่มเป้าหมาย หากสินค้าของคุณมีความแตกต่างอย่างชัดเจน มีนวัตกรรม เป็นแบรนด์ที่มีชื่อเสียง หรือกลุ่มลูกค้าเป็นกลุ่ม Premium หรือ Niche การตั้งราคาแบบใช้การรับรู้คุณค่าของลูกค้าเป็นฐาน หรือ Customer Value based Price Strategy ก็เป็นกลยุทธ์ที่สามารถทำได้ โดยเริ่มจากการเข้าใจความต้องการและประเมินคุณค่าของลูกค้า โดยปกติแล้วลูกค้าจะมีราคา
ในใจที่ตั้งไว้สำหรับสินค้าแต่ละประเภทที่เค้าต้องการซื้อ ตามคุณค่าที่เค้าได้รับรู้จากสินค้านั้น ๆ
ในกลยุทธ์นี้ก็คือ เราพยายามที่จะตั้งราคาให้ใกล้เคียงกับราคาในใจลูกค้า หรือ Reserved Price ของลูกค้าให้มากที่สุด แต่การที่จะทำแบบนั้นได้ แสดงว่าท่านจะต้องทำการศึกษาพฤติกรรมกลุ่มป้าหมายของท่านให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ และทำการพัฒนาสินค้าเพื่อสร้างคุณค่าเพิ่มให้กับตัวสินค้าของท่าน และทำการวิเคราะห์ว่าหากพัฒนาผลิตภัณฑ์ไปถึงจุดที่ท่านสามารถตั้งราคาได้ใกล้เคียงกับ Reserved Price ต้นทุนส่วนเพิ่มจะเป็นเท่าไร หากต้นทุนที่เพิ่มขึ้นน้อยกว่า profit margin ที่จะเพิ่มขึ้นก็ตัดสินใจพัฒนาสินค้าตามคุณค่าที่ลูกค้าต้องการ
การตั้งราคาสำหรับธุรกิจส่งออก สามารถตั้งราคาได้ 3 วิธีคือ
- Cost-Based Price Strategy ซึ่งจะเน้นไปที่เรื่องต้นทุนเป็นหลัก แล้วบวกเพิ่มอัตรากำไรที่คาดหวัง (profit margin)
ข้อดี
- หาข้อมูลในการตั้งราคาไม่ยาก
- ง่ายต่อการคิดคำนวณ
ข้อเสีย
- ไม่ได้นำข้อมูลความต้องการ และการรับรู้คุณค่าของลูกค้าที่แท้จริงมาวิเคราะห์การตั้งราคา
- ไม่ได้นำราคาคู่แข่งมาเปรียบเทียบ
- อาจจะทำให้ได้กำไรน้อยกว่าที่ควร
ปัจจัยในการกำหนดราคาแบบ Cost-Based Price Strategy ในการส่งออก
ต้นทุนสินค้า (Cost of Goods Sold) +*ค่าใช้จ่ายในการขนส่งสินค้าตามเงื่อนไขใน INCOTERMS + ค่าใช้จ่ายในการทำธุรกรรม (Transaction Cost) + กำไรที่คาดหวัง (Gross Profit Margin)
*ค่าใช้จ่ายในการขนส่งสินค้าตามเงื่อนไขใน INCOTERMS
Group F: Main Carriage unpaid
- FCA: Free Carriage
- FAS (Free Alongside Ship)
- FOB (Free On Board)
ประกอบไปด้วย
- ค่าขนส่งจากหน้าโรงงาน ไปท่าเรือ/ท่าอากาศยานต้นทาง (Carriage Costs)
- ค่าพิธีการศุลกากรขาออก (Export Custom Formalities)
- ค่าเคลื่อนย้ายสินค้าขึ้นยานพาหนะท่าท่าต้นทาง เช่น เรือ เครื่องบิน เป็นต้น (Handling Cost)
Group C: Main Carriage paid
- CFR (Cost And Freight)
- CPT (Carriage Paid To)
ประกอบไปด้วย
- ค่าขนส่งจากหน้าโรงงาน ไปท่าเรือ/ท่าอากาศยานต้นทาง (Carriage Costs)
- ค่าพิธีการศุลกากรขาออก (Export Custom Formalities)
- ค่าเคลื่อนย้ายสินค้าขึ้นยานพาหนะท่าท่าต้นทาง เช่น เรือ เครื่องบิน เป็นต้น (Handling Cost)
- ค่าขนส่งไปยังท่าปลายทาง (Main Transport Insurance Cost)
Group C: Main Carriage paid
- CIP (Carriage And Insurance Paid To)
- CIF (Cost, Insurance and Freight)
ประกอบไปด้วย
- ค่าขนส่งจากหน้าโรงงาน ไปท่าเรือ/ท่าอากาศยานต้นทาง (Carriage Costs)
- ค่าพิธีการศุลกากรขาออก (Export Custom Formalities)
- ค่าเคลื่อนย้ายสินค้าขึ้นยานพาหนะที่ท่าต้นทาง เช่น เรือ เครื่องบิน เป็นต้น (Handling Cost)
- ค่าขนส่งไปยังท่าปลายทาง (Main Transport Cost)
- ค่าประกันภัย (Main Transport Insurance Cost)
Group D: Delivery
- DPU (Delivered at Place Unloaded)
- DAP (Delivered at Place)
ประกอบไปด้วย
- ค่าขนส่งจากหน้าโรงงาน ไปท่าเรือ/ท่าอากาศยานต้นทาง (Carriage Costs)
- ค่าพิธีการศุลกากรขาออก (Export Custom Formalities)
- ค่าเคลื่อนย้ายสินค้าขึ้นพาหนขึ้นพาหนะที่ท่าต้นทาง เช่น เรือ เครื่องบิน เป็นต้น (Handling Cost)
- ค่าขนส่งไปยังท่าปลายทาง (Main Transport Cost)
- ค่าประกันภัย (Main Transport Insurance Cost)
- ค่าขนเคลื่อนย้ายสินค้าขึ้นยานพาหนะที่ท่าต้นปลายทาง เช่น เรือ เครื่องบิน เป็นต้น (Handling Cost)
- ค่าพิธีการศุลกากรขาออก (Import Custom Formalities)
- ค่าขนส่งจากท่าเรือ/ท่าอากาศยานต้นทาง ไปยังจุดที่ผู้ซื้อกำหนด (Carriage Costs)
- ภาษีศุลกากรนำเข้า (Custom Duties)
Group D: Delivery
- DDP (Delivered Duty Paid)
ประกอบไปด้วย
- ค่าขนส่งจากหน้าโรงงาน ไปท่าเรือ/ท่าอากาศยานต้นทาง (Carriage Costs)
- ค่าพิธีการศุลกากรขาออก (Export Custom Formalities)
- ค่าเคลื่อนย้ายสินค้าขึ้นพาหนขึ้นพาหนะที่ท่าต้นทาง เช่น เรือ เครื่องบิน เป็นต้น (Handling Cost)
- ค่าขนส่งไปยังท่าปลายทาง (Main Transport Cost)
- ค่าประกันภัย (Main Transport Insurance Cost)
- ค่าขนเคลื่อนย้ายสินค้าขึ้นยานพาหนะที่ท่าต้นปลายทาง เช่น เรือ เครื่องบิน เป็นต้น (Handling Cost)
- ค่าพิธีการศุลกากรขาออก (Import Custom Formalities)
- ค่าขนส่งจากท่าเรือ/ท่าอากาศยานต้นทาง ไปยังจุดที่ผู้ซื้อกำหนด (Carriage Costs)
- ภาษีศุลกากรนำเข้า (Custom Duties)
- ภาษีนำเข้า (Import Taxes)
- Competition-Based Price Strategy
- เป็นการตั้งราคาที่เน้นไปที่การเปรียบเทียบราคากับคู่แข่งในตลาด ซึ่งตั้งราคาใกล้เคียงกับคู่แข่ง
- ใช้กับสินค้าที่มีการแข่งขันสูง หรือไม่มีความแตกต่างของผลิตภัณฑ์ เช่าสบู่ ยาสีฟัน ในร้านสะดวกซื้อ
- ไม่ได้คำนึงถึงปัจจัยอื่น อย่างเช่น ความต้องการของลูกค้า
- Customer-Based Price Strategy
- เนื้อเรื่องการรับรู้คุณค่าของลูกค้าเป็นหลัก (End Users) และกำหนดราคาเป้าหมาย ณ จุดนั้น
- ออกแบบพัฒนาสินค้าและบริการให้ได้ตรงตามมูลค่าที่ลูกค้าประเมินจากคุณค่าของสินค้าที่ลูกค้าต้องการ
- กลับมาประเมินต้นทุนในการสร้างคุณค่าที่ลูกค้าต้องการ
ข้อดี
- ตั้งราคาได้ใกล้เคียงกับเพดานราคา (Ceiling Price)
- เน้นการเอามุมมองลูกค้ามาเป็นกลยุทธ์ในการกำหนดราคา
ข้อเสีย
- ใช้เวลาในการหาข้อมูลและวิเคราะห์ความต้องการของลูกค้า
- ต้องมี Customer Segmentation และ positioning ที่ชัดเจน
- ต้องใช้ต้นทุนสูงในการวิจัยและพัฒนาสินค้าให้ตรงกับความต้องการของลูกค้าอยู่ตลอดเวลา