การทำธุรกรรมทางเงินระหว่างประเทศ
ปัจจุบันมีวิธีการหลักที่นิยมใช้กันในการค้าระหว่างประเทศ 4 วิธี คือ
- การชำระเงินล่วงหน้า (Advance Payment) คือวิธีการที่ผู้ซื้อโอนเงินให้กับผู้ขายพร้อมกับการสั่งซื้อสินค้าหรือก่อนส่งสินค้า ผู้ขายจะส่งสินค้าเมื่อได้รับเงินชำระค่าสินค้าแล้ว วิธีนี้มักใช้สำหรับสินค้าที่ราคาไม่สูงมาก เช่น สินค้าตัวอย่าง หรือในกรณีที่เป็นสินค้าผลิตเฉพาะที่มีความต้องการสูง หรือในกรณีที่เป็นการซื้อขายครั้งแรกระหว่างผู้ขายและผู้ซื้อที่ยังไม่มีความรู้จักกันหรือไม่มั่นใจ
ในเครดิตของผู้ซื้อ ผู้ซื้อจะต้องรับความเสี่ยงที่อาจจะไม่ได้รับสินค้าตามที่สั่งซื้อหรือไม่ได้รับสินค้า
ที่ตรงตามคุณภาพที่ต้องการ - การเปิดบัญชี (Open Account) หรือการโอนเงิน (Telegraphic Transfer)การซื้อขายแบบ “เปิดบัญชี” หมายถึงผู้ขายและผู้ซื้อตกลงกันว่าผู้ซื้อจะชำระเงินค่าสินค้าหลังจากได้รับสินค้าแล้วภายในระยะเวลาที่กำหนด เช่น 60 วันหรือ 90 วัน หลังจากผู้ขายส่งสินค้าและเอกสารที่เกี่ยวข้องให้ผู้ซื้อ ผู้ซื้อจะสามารถนำสินค้าออกมาขายหรือใช้งานได้ก่อนการชำระเงิน วิธีการซื้อขายแบบนี้มีความเสี่ยงสำหรับผู้ขาย เนื่องจากต้องส่งสินค้าก่อนโดยไม่มีการรับประกันว่าจะได้รับชำระเงินตามกำหนดเวลาที่ตกลงกันไว้ ดังนั้น การที่ผู้ขายเลือกใช้วิธีการชำระเงินแบบนี้ ควรมีความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย และผู้ขายควรมั่นใจว่าผู้ซื้อสามารถชำระเงินตามกำหนดเวลาที่ตกลงกันได้อีกทั้งผู้ขายควรศึกษากฎระเบียบและกฎหมายของประเทศผู้ซื้อว่ามีข้อจำกัดหรือห้ามการโอนเงินออกนอกประเทศหรือไม่ รวมถึงต้องพิจารณาว่าธุรกิจของตนมีทุนหมุนเวียนเพียงพอในการดำเนินกิจการในระยะเวลาที่ให้เครดิตแก่ผู้ซื้อ
- ตั๋วเงินเพื่อการเรียกเก็บที่มีเอกสารประกอบ (Documentary Bill for Collection) วิธีการชำระเงินแบบ “เปิดบัญชี” มี 2 ประเภท คือ D/P (Document against Payment) และ D/A (Document against Acceptance)
- D/P Sight หมายถึงผู้ขายส่งสินค้าให้ผู้ซื้อพร้อมกับเอกสารที่ใช้ในการออกสินค้า พร้อมนี้ผู้ขายจะส่งเอกสารเหล่านั้นผ่านทางธนาคารเพื่อเรียกเก็บเงินจากผู้ซื้อ ดังนั้นผู้ซื้อต้องชำระเงินค่าสินค้าให้ธนาคารในประเทศของผู้ซื้อก่อน แล้วธนาคารจะมอบเอกสารที่ใช้ออกสินค้าให้ผู้ซื้อ
- D/A นั้นผู้ซื้อจะต้องรับรองตั๋วเงิน (Bill of Exchange) และรับเอกสารที่ใช้ในการออกสินค้าจากธนาคาร จากนั้นผู้ซื้อจะชำระเงินตามตั๋วเงินที่รับรองไว้ เช่นภายใน 30, 60 หรือ 90 วันตามที่ระบุไว้ในตั๋วเงินหลังจากได้รับเอกสารจาก D/P และ D/A ผู้ซื้อจะสามารถนำสินค้าออกมาใช้งานหรือขายได้ โดยไม่สามารถใช้สินค้าโดยไม่มีเอกสารที่ใช้ในการออกสินค้า ผู้ขายจึงมั่นใจได้บ้างว่าผู้ซื้อจะต้องชำระหรือรับรองตั๋วแลกเงินก่อน อย่างไรก็ตาม ผู้ขายยังเป็นฝ่ายที่เสียเปรียบและมีความเสี่ยง
หากผู้ซื้อปฏิเสธการรับสินค้าโดยไม่ยอมชำระเงินหรือรับรองตั๋วแลกเงิน
- เเลตเตอร์ออฟเครดิต (Documentary Letter of Credit : L/C) การชำระเงินแบบนี้เป็นวิธี
ที่สะดวกและเป็นที่ยอมรับในการทำธุรกิจระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย การทำธุรกรรมสามารถปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ที่ชัดเจนในระเบียบ UCP000 ซึ่งเป็นกลไกที่ทำให้การชำระเงินเป็นธรรม ธนาคารเป็นตัวกลางที่ช่วยในการประสานงานระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย ผู้ซื้อมั่นใจได้ว่าหากเปิดจดหมายเครดิต (LC) ให้แก่ผู้ขาย ผู้ขายจะส่งสินค้าตามที่ระบุใน LC และหากผู้ขายไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขใน LC ผู้ซื้อสามารถไม่ชำระเงินค่าสินค้าได้ ผู้ขายก็มั่นใจได้ว่าหากส่งสินค้าและเอกสารตรงตามเงื่อนไขใน LC ที่ผู้ซื้อเปิดให้ ผู้ขายจะได้รับเงินค่าสินค้าจากธนาคาร
การตกลงซื้อขายแบบ LC ต้องระมัดระวังกับข้อกำหนดและเงื่อนไขที่ระบุใน UC ก่อนเปิด LC ผู้ซื้อและผู้ขายควรพิจารณาและพูดคุยเพื่อประเมินว่าสามารถปฏิบัติตามข้อกำหนดและเงื่อนไขได้หรือไม่ เนื่องจากเงื่อนไขที่สำคัญในการรับชำระเงินตาม LC คือเอกสารที่ถูกต้องและครบถ้วนตามที่ระบุใน LC เท่านั้น และไม่เกี่ยวข้องกับสินค้าเอง
การเลือกวิธีการชำระเงินขึ้นอยู่กับการประเมินความเสี่ยงของลูกค้าของผู้ขายและความต้องการในการรับชำระเงิน ควรมีการเตรียมความพร้อมในการจัดการกับปัญหาที่อาจเกิดขึ้นและสามารถต่อรองและตกลงเงื่อนไขการชำระเงินและราคาที่เป็นประโยชน์ร่วมกันระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายได้
การชำระเงินค่าสินค้าระหว่างประเทศ
ในระบบการจัดการการส่งออกและนําเข้านั้น ระบบหนึ่งที่จําเป็นและขาดไม่ได้เลยสําหรับการค้าในรูปแบบการส่งออกและนําเข้า คือ ระบบการชําระเงินค่าสินค้าระหว่างประเทศ เมื่อผู้ซื้อและผูขายได้มีการตกลงเกี่ยวกับขอสัญญาซื้อขายกันแลวกล่าวคือ ได้มีการตกลงเรื่องคุณภาพและ ปริมาณสินคา ราคา กําหนดเวลาและสถานที่สงมอบสินคาและเงื่อนไขการชําระเงิน ฯลฯ ผู้ขายก็มีหน้าที่ต้อง ส่งสิ้นคาตามที่ตกลง ส่วนผู้ซื้อนั้นก็มีหนาที่จะต้องชําระเงินคาสินคาที่ซื้อตามสัญญา ระบบการชําระเงินสามารถดําเนินการได้จําเป็นต้องผ่านองค์กรที่เรียกว่า ธนาคารพาณิชย์ ซึ่งมีบทบาทที่สําคัญในการทําธุรกรรมทางด้านการเงิน การค้า การให้เครดิตการกําหนดอัตราแลกเปลี่ยนเงินสกุลที่ใช้ในการขายสินค้า และเป็นตัวกลางในการตรวจสอบและจําหน่ายถ่ายโอนเอกสารระหว่างผู้ส่งออกและผู้นําเข้า เมื่อมีการกําหนดข้อตกลงทางการค้าระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายแล้ว ข้อตกลงที่สําคัญที่ทั้งสองฝ่ายต้องระบุไว้ในเงื่อนไขคือ รูปแบบการชําระเงินค่าสินค้าและเงื่อนไขในการชําระเงินค่าสินค้าซึ่งระบบในการชําระเงินค่าสินค้าสามารถกําหนดได้ดังนี้
ระยะเวลาของการชำระเงิน (Time of Payment)
1 การชำระเงินเมื่อสั่งซื้อสินค้า
การชําระเงินก่อนจัดส่งสินค้า (Payment Prior to Delivery) หรือการจ่ายเงินล่วงหน้า (Cash in Advance) ใช้ในกรณีต่อไปนี้
- เป็นการซื้อขายย่อย ที่มีมูลค่าการซื้อขายต่ำหรือการทดลองซื้อ
- ผู้ซื้อ (ผู้นําเข้า) มีเครดิตทางการค้าไม่ค่อยดี
- สินค้าที่สั่งซื้อเป็นสินค้าที่ต้องผลิตขึ้นเป็นพิเศษเฉพาะ และ ไม่สามารถนําไปจําหน่ายให้ลูกค้ารายอื่นๆได้
- สินค้าที่มีผู้ต้องการซื้อมากแต่มีผู้ผลิตน้อยรายหรือ ผลิตไม่ทันขาย
- ผู้ซื้อ (ผู้นําเข้า) มีความเชื่อถือและไว้วางใจผู้ขาย (ผู้ส่งออก)
- ผู้ขาย (ผู้ส่งออก) ไม่มีทุนหมุนเวียนจึงจําเป็นต้องเก็บค่าสินค้าก่อนจึงจะสามารถลงมือผลิตได้
*การชําระเงินล่วงหน้าแบบนี้เป็นผลดีต่อผู้ส่งออกมากเพราะ ไม่ต้องรับภาระความเสี่ยงจากการขายสินค้า
2. การชำระเงินพร้อมกับการส่งมอบสินค้า
การชําระเงินพร้อมกับการส่งมอบสินค้า (Payment on Delivery) เป็นเงื่อนไขที่มีความยุติธรรมทั้งฝ่ายผู้ซื้อและผู้ขาย แต่เนื่องจากผู้ซื้อและผู้ขายอยู่กันคนละประเทศจึงต้องอาศัยธนาคารเข้ามามีบทบาทเป็นตัวกลางมากขึ้น เมื่อผู้ขายจัดส่งสินค้าลงเรือผู้ขายจะนําเอกสารไปขอเก็บเงินค่าสินค้าโดยผ่านธนาคารหรือตัวแทนที่ผู้ซื้อระบุชื่อไว้
3. การชำระเงินหลังส่งมอบสินค้า
การชําระเงินหลังส่งมอบสินค้า (Payment after Delivery) เป็นการกําหนดให้ผู้ซื้อชําระค่าสินค้าหลังจาก ได้รับสินค้าแล้วตามระยะเวลาที่กําหนด เช่น 30 วัน หรือรอให้ผู้ซื้อทําการขายสินค้านั้นออกไปเสียก่อนจึงจะชําระค่าสินค้าในกรณีที่เป็นการขายฝาก เงื่อนไขนี้เป็นผลดีต่อผู้ซื้อมากที่สุดที่ช่วยให้ผู้ซื้อมีเงินหมุนเวียนมากขึ้น แต่จะไม่เป็นผลดีสําหรับผู้ขายเพราะอาจเกิดความเสี่ยงหนี้สูญได้มาก ยกเว้นการทําสัญญาที่ใช้ L/C หรือ Bank Guarantee ที่จะเป็นหลักประกันในการชําระเงิน
วิธีการชำระเงิน (Method of Payment)
การชำระเงินค่าสินค้าระหว่างประเทศ มีวิธีการแตกต่างกันไปตามเงื่อนไขในการชําระเงิน ดังนี้
1. การชำระเงินสดเมื่อสั่งซื้อสินค้า
การชําระเงินสดเมื่อสั่งซื้อสินค้า (Cash with order : C.W.O.) หรือการจ่ายเงินล่วงหน้า (Advance Payment) มีวิธีการจ่ายเงินดังนี้
- การโอนเงินทางโทรเลข (Telegraph transfer = T/T) โดยผู้ซื้อจ่ายเงินสดให้กับธนาคารในประเทศของตน จากนั้นธนาคารจะโอนเงินนี้ไปให้ธนาคารในประเทศของผู้ขายโดยการแจ้งทางโทรเลข เพื่อให้ธนาคารจ่ายเงินให้แก่ผู้ขาย การโอนเงินโดยวิธีนี้รวดเร็วที่สุดแต่เสียค่าใช้จ่ายมาก
- การโอนเงินโดยไปรษณีย์อากาศ (Air mail transfer = AMT)
- การโอนเงินโดยใช้ตั๋วแลกเงินหรือแคชเชียร์เช็ค (Demand draft = D/D) โดยผู้นําเข้า ซื้อตั๋วแลกเงินหรือแคชเชียร์เช็คจากธนาคารแล้วจัดส่งไปให้แก่ ผู้ส่งออก เมื่อผู้ส่งออกได้รับตั๋วแล้วก็จะเรียกเก็บเงินจากธนาคารต่อไป
- การจ่ายโดยเช็คส่วนตัวของผู้ซื้อ วิธีนี้ผู้ซื้อจัดส่งเช็คเงินสดของตนเอง ไปให้แก่ผู้ขายแล้วผู้ขายจะนําเช็คนี้ไปเรียกเก็บเงินจากธนาคารต่อไป
- การโอนผ่านธนาณัติระหว่างประเทศ
2. การชำระเงินสดพร้อมกับมอบสินค้า
การชําระเงินสดพร้อมกับมอบสินค้า (Cash against document : C.A.D.) เมื่อผู้ขายจัดส่งสินค้าลงเรือแล้วก็จะนําหลักฐานและเอกสารการจัดส่งสินค้าลงเรือไปขอเก็บเงินค่าสินค้ากับธนาคาร
3. การชำระเงินสดเมื่อสินค้าถูกส่งถึงปลายทาง
การชําระเงินสดเมื่อสินค้าถูกส่งถึงปลายทาง (Cash on Delivery : C.O.D.) เมื่อผู้ขายส่งมอบสินค้าถึงปลายทางผู้ซื้อต้องชําระเงินค่าสินค้าให้แก่ผู้ขายหรือตัวแทนก่อนที่จะรับสินค้าได้
4. การชำระเงินโดยวิธีเรียกเก็บเงิน
การชําระเงินโดยวิธีเรียกเก็บเงิน (Bill for Collection) เมื่อสินค้าลงเรือแล้ว ผู้ขายจะส่งเอกสารการส่ง สินค้าพร้อมตั๋วเรียกเก็บเงินผ่านธนาคารในประเทศผู้ส่งออก โดยธนาคารจะจัดส่งเอกสารไปยังธนาคารใน ประเทศของผู้ซื้อเพื่อเรียกเก็บเงินค่าสินค้าจากผู้ซื้อโดยธนาคารจะดําเนินการเรียกเก็บเงินเท่านั้น วิธีเรียกเก็บ เงินนี้มี 2 แบบ คือ
แบบที่หนึ่ง การเรียกเก็บเงินโดยผู้ซื้อชําระเงินก่อนจึงสามารถนําเอกสารไปออกสินค้าได้ เรียกว่า Documents against Payment : D/P ซึ่งตั๋วเงินนี้จะเป็นตั๋วชนิดจ่ายเมื่อเห็น (D/P at sight) หรือ ตั๋วมี ระยะเวลา การชําระเงิน เช่น 60 วัน หรือ 90 วัน นับตั้งแต่วันส่งสินค้า โดยผู้ซื้อจะได้รับ เอกสารเมื่อชําระเงินก่อนเท่านั้น
การชําระเงินแบบ D/P นิยมใช้ในกรณีต่อไปนี้
1. ผู้ซื้อไม่สามารถเปิด L/C ให้ผู้ขายได้ ขณะเดียวกันผู้ขายอยากได้ลูกค้า จึงขอให้ธนาคารเรียกเก็บเงินค่า สินค้าให้ โดยธนาคารจะมอบเอกสารทั้งหมดให้เมื่อผู้ซื้อชําระค่าสินค้าตามตั๋วแล้วเท่านั้น ซึ่งผู้ขายจะไม่ ต้องเสี่ยงกับปัญหาหนี้สูญมากนัก
2. นิยมใช้กับสินค้าที่ง่ายต่อการเปลี่ยนมือขายให้แก่ลูกค้ารายอื่นๆหากผู้ซื้อไม่ชําระเงินเมื่อสินค้าถูกส่งถึง ปลายทาง
แบบที่สอง การเรียกเก็บเงินโดยผู้ซื้อรับรองตั๋วเงินก่อนจึงสามารถนําเอกสารไปออกสินค้าได้เรียกว่า Documents against Acceptance : D/A วิธีนี้ผู้ขายจะส่งตั๋วเงินและเอกสารทั้งหมดไปเรียกเก็บเงิน จากผู้ซื้อ โดยผ่านธนาคาร เมื่อผู้ซื้อได้รับรองตั๋วสัญญาใช้เงินแล้ว ธนาคารจึงจะมอบเอกสารทั้งหมด ให้แก่ผู้ซื้อเพื่อนําไป ออกสินค้าจากท่าเรือโดยไม่ต้องรอเรียกเก็บเงินตามตั๋วก่อน ตั๋วเงินชนิดนี้เป็นตั๋ว เงินชนิดมีกําหนดระยะเวลา เช่น 90 วัน 120 วัน หรือ 180 วัน นับตั้งแต่วันรับรองตั๋ว
การชําระเงินด้วยวิธี D/A นี้ ผู้ซื้อจะได้เปรียบมากเพราะไม่ต้องชําระค่าสินค้าก่อน เมื่อรับรองตั๋วแล้วก็ สามารถนําสินค้าออกไปขายหรือใช้ประโยชน์ก่อนได้เลย ผู้ซื้อรอให้ครบกําหนดตามเงื่อนไขแล้วจึง ชําระเงินค่า สินค้า โดยมากจะใช้ในกรณีที่สินค้ามีภาระการแข่งขันทางการตลาดสูง ผู้ซื้อต้องการขาย สินค้าก่อนแล้วจึง ชําระเงิน ตั๋วเงินที่ผ่านการรับรองของผู้ซื้อนี้ ผู้ขายหรือผู้ส่งออกสามารถนําไปขาย ลดให้กับธนาคารเพื่อนําเงิน ไปใช้หมุนเวียนในทางธุรกิจโดยไม่ต้องรอให้ตั๋วครบกําหนด
- รายละเอียดที่สำคัญในตั๋วเรียกเก็บเงิน
“Tenor” ที่ระบุในตั๋วเรียกเก็บ หมายถึง ระยะเวลาที่ผู้นําเข้าจะต้องชําระค่าสินค้า โดยระยะเวลานั้นแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ ชําระทันที (At Sight) หรือชําระค่าสินค้าตามระยะเวลาที่ระบุไว้ในตั๋วเรียกเก็บ (At Term) เช่น
- 90 days after sight หมายถึง ผู้ซื้อสามารถชําระเงินค่าสินค้า 90 วันหลังจากเห็นตั๋วเรียกเก็บ
- 180 days after B/L date หมายถึง ผู้ซื้อสามารถชําระค่าสินค้า 180 วันหลังจากวันที่ที่ระบุในใบตราส่งสินค้า
5. การชำระเงินด้วยวิธีการโอนเงินผ่านบัญชี
การชําระเงินด้วยวิธีการโอนเงินผ่านบัญชี (Open Account) คือการที่ผู้ขายสินค้าและผู้ซื้อสินค้า ตกลง ซื้อขายสินค้ากันโดยตรง โดยที่ผู้ขายจะส่งสินค้าไปให้แก่ผู้ซื้อ รวมถึงได้ส่งเอกสารสิทธิ์ไปยังผู้ซื้อโดยตรง เมื่อผู้ ซื้อได้รับเอกสารสิทธิ์ในสินค้าและนําไปขอรับสินค้าจากบริษัทขนส่ง เมื่อครบกําหนดชําระเงินตามข้อตกลงใน เอกสารสิทธิ์ ผู้ซื้อจึงไปติดต่อธนาคาร เพื่อโอนเงินค่าสินค้าให้แก่ผู้ขายตามระยะเวลาที่กําหนด เช่น 30 วัน 90 วันหลังจากที่ได้รับสินค้าหรือเห็นเอกสารหรือตามแต่จะตกลงกัน ซึ่งจะเป็นการโอนโดยทาง T/T Remittance หรือส่งเป็นตั๋วเงินหรือ ดราฟท์หรือวิธีอื่นก็ได้ การซื้อขายด้วยวิธีนี้ผู้ขายเป็นฝ่ายเสียเปรียบเพราะไม่มีหลักประกันว่าผู้ซื้อจะชําระค่าสินค้าให้แก่ผู้ขายโดย ธนาคารจะเข้ามาเกี่ยวข้องเมื่อมีการโอนเงินค่าสินค้าเท่านั้น ดังนั้นวิธีนี้จึงควรใช้ในกรณีดังนี้ คือ
1. ผู้ซื้อและผู้ขายมีการติดต่อกันเป็นระยะเวลายาวนาน
2. ผู้ซื้อและผู้ขายเป็นบริษัทในเครือและมีการซื้อขายสินค้ากันอย่างต่อเนื่อง ซึ่งอาจมีการซื้อขายในลักษณะหักบัญชีระหว่างกัน
6. การชำระเงินค่าสินค้าฝากขาย
การชําระเงินค่าสินค้าฝากขาย (Consignments) เป็นเงื่อนไขการชําระเงินหลังการส่งมอบสินค้าที่
ผู้ส่งออกหรือผู้ฝากขาย (Consigner) จะส่งมอบสินค้าให้ผู้รับมอบการฝากขายหรือตัวแทน (Consignee) ก่อนรอจนสินค้าขายได้แล้วจึงจะส่งเงินให้แก่ผู้ส่งออกวิธีนี้ผู้ส่งออกหรือผู้ฝากขายอาจเป็นฝ่ายเสียเปรียบเพราะได้รับเงินค่าสินค้าไม่เต็มตามจำนวน และกําไรจะต้องมีการจัดแบ่งไปตามที่ตกลงกัน
7. การชำระเงินโดยวิธีการเปิดหนังสือเครดิต (Letter of Credit)
ซึ่งวิธีการชำระเงิน โดยวิธีการเปิดหนังสือเครดิตนี้ เป็นวิธีการชำระเงินระหว่างประเทศที่มีความนิยมมากที่สุดในการค้าระหว่าง ประเทศ เนื่องจากเป็นการช่วยลดความเสี่ยงให้แก่คู่ค้าทั้งฝ่ายผู้นำเข้าและผู้ส่งออก โดยผ่านสถาบันการเงิน โดยธนาคารพาณิชย์จะมีบทบาทที่สำคัญในการเป็นตัวกลางในการชำระเงินและคอยตรวจสอบความถูกต้อง ตามแนวข้อตกลงทางการค้าให้และที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ ธนาคารพาณิชย์ยังสามารถให้ความช่วยเหลือ ทางด้านการเงินในลักษณะเครดิตทางการค้าแก่ทั้งสองฝ่ายได้
การชำระค่าสินค้าด้วย Letter of Credit หรือที่นิยมเรียกกันย่อๆ ว่า L/C เป็นการชำระค่าสินค้าผ่านธนาคารวิธีหนึ่ง ซึ่งเป็นวิธีที่ได้รับความนิยมมากที่สุด เพราะเป็นวิธีเดียวที่มีหลักประกันพอที่จะเชื่อได้ว่าผู้ขายสินค้าจะได้รับเงินค่าสินค้าเมื่อได้ส่งมอบสินค้าลงเรือหรือเครื่องบิน และ ผู้ซื้อสินค้าจะได้รับสินค้าเมื่อจ่ายเงินค่าสินค้าหรือตามเงื่อนไขสัญญา
Letter of Credit (L/C) หรือ Documentary L/C หรือ Commercial Documentary L/C คือ ตรา สารทางการค้าซึ่งออกโดยธนาคารพาณิชย์ (Issuing Bank) ตามคำสั่งของผู้ซื้อ (Applicant) ซึ่งเป็น ลูกค้าของธนาคารในประเทศหนึ่ง เพื่อส่งไปให้แก่ผู้รับประโยชน์ (Beneficiary) ซึ่งเป็นผู้ขายในอีก ประเทศหนึ่ง โดยส่งผ่านธนาคารผู้รับ L/C ในประเทศของผู้ขาย (Advising Bank) ตราสารนี้เป็นคำรับรองหรือสัญญาของธนาคารผู้เปิด L/C ว่าจะจ่ายเงินจำนวนหนึ่งตามที่ระบุไว้ใน L/C ให้แก่ผู้ขายสินค้า เมื่อผู้ขายสินค้าได้ส่งสินค้าลงเรือและได้แสดงเอกสารให้แก่ธนาคารผู้รับซื้อเอกสารและตั๋วเงิน (Negotiating Bank) ได้ครบถ้วนถูกต้องตามที่ระบุไว้ใน L/C ตลอดจนได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขต่างๆ และ กรอบเวลาตามที่ระบุไว้ใน L/C ด้วย
* ดังนั้น L/C จึงทำหน้าที่เป็นสัญญาทางการเงินและทำหน้าที่ในการควบคุมเอกสารทางการค้าไปพร้อมๆ กันด้วย
ประโยชน์ของ Letter of Credit
ประโยชน์ต่อผู้ส่งออก
1. เป็นหลักประกันในการรับชำระค่าสินค้า
2. ผู้ส่งออกได้รับค่าสินค้าเร็วขึ้นเมื่อผู้ส่งออกจัดการส่งมอบสินค้าตามเงื่อนไขที่ระบุก็จะได้รับเงินค่าสินค้า ทันที
3. เป็นหลักประกันในการทำสัญญาซื้อขาย ซึ่งจะเปลี่ยนแปลงหรือยกเลิกเพียงฝ่ายเดียวไม่ได้
4. สามารถนำไปขอสินเชื่อเพื่อการส่งออกได้
ประโยชน์ต่อผู้นำเข้า
1. ผู้นำเข้ามีเงินทุนหมุนเวียนมากขึ้นเนื่องจากธนาคารจะเป็นผู้ชำระเงินค่าสินค้าให้ก่อน
2. ได้รับสินค้าตรงตามเงื่อนไขที่กำหนด
3. มีธนาคารเข้ามาเป็นตัวกลางในการตรวจสอบเอกสารทางการค้า
ผู้เกี่ยวข้องกับการเปิด Letter of Credit
1. ผู้ขอเปิด L/C (Applicant) หรือ ผู้ซื้อหรือผู้นำเข้า
2. ธนาคารผู้เปิดเครดิต (Issuing Bank) คือธนาคารที่ได้รับการร้องขอให้เปิดเครดิตจากผู้ซื้อ และเป็นผู้ซึ่งรับรองการชำระเงินค่าสินค้าของผู้ซื้อ
3. ธนาคารผู้แจ้งการเปิดเครดิต (Advising Bank) หรือธนาคารผู้แจ้งให้ผู้รับผลประโยชน์ (ผู้ส่งออก) ทราบถึงการเปิดเครดิตของผู้ซื้อ
4. ธนาคารผู้รับรองเครดิต (Confirming Bank) ถ้าในกรณีที่ผู้ส่งออกไม่มั่นใจในฐานะและ เครดิตของธนาคารผู้เปิดเครดิต ผู้ส่งออกก็จะกำหนดให้ผู้ซื้อแจ้งธนาคารผู้เปิดเครดิตขอให้ ธนาคารอื่นทำการยืนยันหรือรับรองหนังสือเครดิตเพื่อให้เครดิตนั้นมีความมั่นคงยิ่งขึ้นโดยธนาคาร รับรองเครดิตมีภาระผูกพันที่ต้องจ่ายเงินตามตั๋วให้ผู้ขาย
5. ผู้รับประโยชน์ (Beneficiary) คือผู้ส่งออกที่ได้จัดส่งสินค้าถูกต้องตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้แล้ว นำเอกสารไปขอรับค่าสินค้า
6. ธนาคารผู้จ่ายเงินตามตั๋วหรือธนาคารผู้รับตั๋ว (Accepting /Nominated Bank) คือธนาคารที่ถูกระบุให้เป็นผู้จ่ายเงิน ซึ่งจะเปลี่ยนเป็นธนาคารผู้รับซื้อตั๋วแลกเงินและเอกสารเพื่อ การชำระเงิน (Negotiating Bank) ในที่สุด
7. ธนาคารที่รับใช้เงินคืนให้แก่ธนาคารที่จ่ายเงินรับซื้อเอกสารของผู้ขายไปก่อน (Reimbursing Bank) ธนาคารที่ทางธนาคารผู้เปิดL/C มีบัญชีเงินฝากในธนาคารนั้นโดยฝากเงินเป็นสกุล เดียวกันกับที่เปิด L/C ซึ่งธนาคารผู้เปิด L/Cจะมีหนังสือใช้เงินคืนแก่ธนาคารนั้นไว้ล่วงหน้า ตามรายละเอียดใน L/C
8. ผู้รับประโยชน์รายอื่น (Second Beneficiary) หมายถึงผู้รับผลประโยชน์รายอื่นที่ไม่ใช่ผู้ส่งออก
ประเภทของ Letter of Credit
L/C ที่ใช้ในการซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศ ได้แก่
1. L/C ที่เพิกถอนได้ และ L/C ที่เพิกถอนไม่ได้
- L/C ที่เพิกถอนได้ (Revocable L/C) → L/C ประเภทนี้เมื่อธนาคารของผู้ซื้อได้เปิด L/C ออกไปให้แก่ผู้ขายในต่างประเทศแล้ว ผู้ซื้อหรือธนาคารจะแจ้งยกเลิกเมื่อไรก็ได้ โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากผู้ขายแต่ประการใด ดังนั้นในทางปฏิบัติ L/C ชนิดนี้จึงไม่นิยมนำมาใช้ในการซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศเนื่องจากผู้ขายยังต้องรับความเสี่ยงจากการที่ผู้ซื้อขอยกเลิก ปัจจุบันได้มีการยกเลิกตาม UPC600 แล้ว
- L/C ที่เพิกถอนไม่ได้ (Irrevocable L/C) L/C ประเภทนี้เมื่อธนาคารของผู้ซื้อได้เปิด L/C ออกไปแล้ว ทั้งธนาคารและผู้ซื้อจะทำการยกเลิกไม่ได้ รวมทั้งไม่สามารถแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงข้อความหรือเงื่อนไขต่างๆ ได้ L/C ประเภทนี้จึงเป็นประเภทที่ใช้งานได้จริงในการค้าระหว่างประเทศ L/C ที่มิได้ระบุว่าเป็น L/C ที่เพิกถอนได้ในทางปฏิบัติจะถือว่าเป็น L/C ที่เพิกถอนไม่ได้
2. L/C ที่มีการรับรอง และ L/C ที่ไม่มีการรับรอง
- L/C ที่มีการรับรอง (Confirmed L/C) L/C ที่มีธนาคารในประเทศผู้ส่งออกเป็นผู้รับรองการ จ่ายเงินของธนาคารผู้เปิด L/C
- L/C ที่ไม่มีการรับรอง (Unconfirmed L/C) L/C ที่ไม่มีการรับรองการซื้อเอกสารจากผู้ขาย ดังนั้นผู้ขายจะได้รับการชำระเงินค่าสินค้าเมื่อธนาคารผู้เปิด L/C โอนค่าสินค้ามาให้แล้วเท่านั้น
3. L/C ที่ไม่เจาะจงธนาคารผู้รับซื้อตั๋ว และ L/C ที่เจาะจงธนาคารผู้รับซื้อตั๋ว
- L/C ที่ไม่เจาะจงธนาคารผู้รับซื้อตั๋ว ผู้ส่งออกสามารถนำตั๋วเงินและเอกสารจัดส่งสินค้าไปขายให้แก่ธนาคารใดก็ได้ตามที่ตนมีบัญชีอยู่
- L/C ที่เจาะจงธนาคารผู้รับซื้อตั๋ว เนื่องจากธนาคารผู้เปิด L/C มีนโยบายให้ธนาคารสาขาของตนในต่างประเทศเป็นผู้รับซื้อตั๋วหรืออาจเป็นธนาคารที่เชื่อถือได้ในประเทศผู้ส่งออก โดยการเจาะจงนี้จะต้องได้รับการเห็นชอบจากผู้ขอเปิด L/C ก่อน
ขั้นตอนการเปิด Letter of Credit
ขั้นตอนการเปิด Letter of Credit มีดังนี้
1. ผู้นำเข้าและผู้ส่งออกตกลงจะทำการซื้อขายสินค้าโดยยินยอมเงื่อนไขการชำระเงินด้วย L/C
2. ผู้นำเข้าขอแบบฟอร์มการขอเปิด L/C และตกลงรายละเอียดในเงื่อนไขต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม พร้อมกรอก แบบฟอร์ม
3. ธนาคารผู้เปิด L/C จะทำการตรวจสอบเอกสารและวงเงินสินเชื่อ
4. ผู้นำเข้าขอเลขที่ L/C และแจ้งชื่อธนาคารที่เปิด L/C ไปให้ผู้ส่งออกทราบ
5. ธนาคารผู้เปิด L/C ส่งเอกสารยืนยันการเปิด L/C ไปให้แก่ธนาคารของผู้ส่งออก
6. เมื่อธนาคารผู้ส่งออกได้รับ L/C จากธนาคารผู้เปิดแล้วจะทำการตรวจสอบเอกสาร
7. ธนาคารผู้ส่งออกจะทำใบแจ้งหนังสือเครดิตไปยังผู้ส่งออก
8. เมื่อผู้ส่งออกได้รับ L/C แล้วจะทำตรวจสอบเงื่อนไขใน L/C เพื่อให้ตรงกับสัญญาซื้อขายสินค้า
9. หลังจากผู้ส่งออกส่งสินค้าไปให้แก่ผู้ซื้อแล้วผู้ส่งออกจะทำการรวบรวมเอกสารที่ระบุไว้ใน L/C เช่น ใบกำกับ สินค้า ใบตราส่งสินค้า เพื่อนำไปให้กับธนาคาร
10. เมื่อผู้ส่งออกยื่นเอกสารต่างๆให้แก่ธนาคารของตนหรือธนาคารผู้แจ้ง ธนาคารจะตรวจสอบเอกสารทั้งหมดว่า ตรงตามที่ระบุไว้ใน L/C หรือไม่ ถ้าเอกสารถูกต้องเรียบร้อย ธนาคารจะจ่ายเงินล่วงหน้าให้แก่ผู้ขายไปก่อน และส่ง เอกสารทั้งหมดไปให้แก่ธนาคารผู้เปิด L/C
11. หลังจากได้รับเอกสารแล้วธนาคารผู้เปิด L/C จะตรวจสอบเอกสารต่างๆว่าถูกต้องหรือไม่ ถ้าถูกต้องเรียบร้อย ธนาคารผู้เปิด L/Cจะทำการชำระค่าสินค้าแทนผู้นำเข้าให้แก่ธนาคารผู้แจ้ง
12. หลังจากนั้นผู้ซื้อจะชำระค่าสินค้าให้แก่ธนาคารผู้เปิด L/C
ข้อควรระวังในการเปิด L/C
ในการเปิด L/C ไปซื้อสินค้าจากผู้ขายในต่างประเทศ ผู้ซื้อควรปฏิบัติดังนี้
- ตรวจสอบความน่าเชื่อถือของผู้ขายให้แน่ชัดเสียก่อน ซึ่งอาจกระทำได้โดยการไปเยี่ยมโรงงานของผู้ขายหรือให้ธนาคารเป็นผู้ตรวจสอบให้
- ตรวจสอบว่าเอกสารและเงื่อนไขต่างๆ ที่ระบุไว้ในใบคำขอเปิด L/C เพียงพอต่อความต้องการหรือไม่
- ศึกษาข้อกำหนดของทางราชการเกี่ยวกับสินค้าที่จะนำเข้า เช่น การควบคุมการนำเข้า หรือมีอากรพิเศษหรือไม่ เป็นต้น
สรุปสิ่งที่ต้องใช้ในการเปิด L/C กับธนาคาร
1. ใบคำขอเปิด L/C
2. หลักทรัพย์ของผู้ เปิด L/C
3. เอกสารประกอบการขอเปิด L/C เช่น สัญญาขาย (Sale Contract), คำสั่งซื้อ (Purchase Order), ใบ เสนอราคา (Proforma Invoice), หรือเอกสารยืนยันคำสั่งซื้อ (Order Confirmation) แล้วแต่กรณี
4. ค่าธรรมเนียมที่ผู้ซื้อจะต้องเสียให้ธนาคาร 0.25% ของจำนวนเงินที่เปิดต่อหนึ่งระยะเวลา 90 วัน
เศษของ 90 วันให้ถือเป็นอีกหนึ่งระยะเวลา ขั้นต่ า 1,000.00 บาท