loader

โดยทั่วไปประเภทของธุรกิจการค้าระหว่างประเทศสามารถกำหนดรูปแบบได้ดังนี้

          1. ส่วนของผู้ผลิต (Producer/Manufacturers) ซึ่งผู้ผลิต ผลิตสินค้าและป้อนสินค้าเข้าสู่ตลาดภายในประเทศจนมีความชำนาญแล้ว จึงสนใจด้านการส่งออกต่างประเทศที่มีขนาดตลาดใหญ่กว่า มีโอกาสในการสร้างยอดขายมากกว่า และขนาดการขายต่อครั้งมียอดขายที่สูง ดังนั้นผู้ผลิตสามารถพัฒนารูปแบบการดำเนินธุรกิจส่งออกได้ด้วยตัวเอง

           2. นายหน้าตัวแทน (Agent) แบ่งออกเป็น

                    2.1 บริษัทตัวแทนจัดซื้อสินค้าให้ชาวต่างชาติ (Export Commission House, Buying agent) เป็นธุรกิจตัวแทนที่ดำเนินการในลักษณะการรับใบสั่งซื้อหรือวัตถุดิบจากบริษัทนำเข้าหรือผู้ผลิตในต่างประเทศ แล้วจัดซื้อสินค้าหรือวัตถุดิบจากประเทศผู้ส่งออกให้ตามที่ลูกค้าต้องการ

                    2.2 บริษัทตัวแทนนำเข้าสินค้าให้ผู้ซื้อภายในประเทศ (Import Commission House) เป็นธุรกิจที่ดำเนินกิจการในลักษณะการรับใบสั่งซื้อจากลูกค้าที่เป็นบริษัทผู้ซื้อที่อยู่ในประเทศให้สั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศ

                    2.3 บริษัทตัวแทนส่งออกสินค้าของผู้ผลิตภายในประเทศ (Manufacturer’s Export Agent) การที่บริษัทผู้ผลิตสินค้าที่ไม่ได้ดำเนินการส่งออกด้วยตัวเอง อาจจะมีการว่าจ้างบริษัทใดบริษัทหนึ่งภายในประเทศเป็นตัวแทนจัดจำหน่ายสินค้าของตนให้แก่ลูกค้าในตลาดต่างประเทศที่ผู้ผลิตไม่ต้องติดต่อเองหรือไม่มีข้อมูล

                    2.4 บริษัทตัวแทนนายหน้าขายสินค้าให้ผู้ผลิตในต่างประเทศ (Selling Agent) เนื่องจากการที่บริษัท ที่ผู้ผลิตสินค้าในต่างประเทศ (ประเทศไทย) ไม่ชำนาญในการทำตลาดต่างประเทศซึ่งเป็นผู้นำเข้า โดยเฉพาะสินค้าที่ต้องมีการให้บริการเพิ่มขึ้น นอกเหนือจากการส่งออกเพียงอย่างเดียว เช่นเครื่องจักรขนาดใหญ่ ทำให้ต้องมีการใช้ตัวแทนเป็นคนติดต่อประสานงานกับลูกค้า นำเสนองานกับลูกค้า รวมถึงการให้บริการหลังการขาย ซึ่งบางครั้งอาจจะแต่งตั้งเป็นผู้แทนนำของของโรงงานการผลิตนั้นๆ แต่เพียงผู้เดียว (Exclusive Manufacturer’s Selling Agent)

                    2.5 บริษัทตัวแทนฝากขาย (Consignment Agent) คือการที่บริษัทหรือผู้ผลิตส่งออกในรูปแบบธุรกิจฝากขายสินค้า ผู้ฝากขาย (Consigner) มอบหมายให้บริษัทตัวแทนในต่างประเทศซึ่งเรียกว่า ผู้รับฝากขาย (Consignee) เป็นผู้ขายสินค้าให้ โดยส่งสินค้าไปเก็บไว้ที่ บริษัทผู้รับฝากขาย และรอให้ผู้รับฝากขายจำหน่ายสินค้าในตลาดประเทศนำเข้าได้ก่อน จึงค่อยชำระสินค้าให้บริษัทผู้ฝากขายภายหลัง

สรุปข้อดีและข้อเสียของตัวแทนนายหน้าของแต่ละประเภท

ประเภทของนายหน้าตัวแทน (Agent) ข้อดี ข้อเสีย
1. บริษัทตัวแทนจัดซื้อสินค้าให้ชาวต่างชาติ (Buying Agent) 1. ไม่ต้องใช้ทุนในการซื้อสินค้า
2. ได้ค่าตอบแทนเป็นเปอร์เซนต์จากค่านายหน้าจากลูกค้าชาวต่างชาติ
1. ต้องใช้ความสามารถเฉพาะในการติดต่อสื่อสารถึงความต้องการของลูกค้าชาวต่างชาติ
2. เป็นธุรกิจจับเสือมือเปล่า มีความเสี่ยงในกรณีที่ลูกค้าต่างประเทศติดต่อสั่งซื้อสินค้ากับผู้ผลิตในประเทศโดยตรง
2. บริษัทตัวแทนนำเข้าสินค้าให้ผู้ซื้อภายในประเทศ (Import Commission House) 1. เป็นธุรกิจที่ไม่ใช้ทุนของตัวเองหรือใช้ทุนบางส่วนในการซื้อสินค้า
2. ได้ค่าตอบแทนเป็นเปอร์เซ็นต์ จากค่านายหน้าหรือส่วนต่างราคาจากลูกค้าในประเทศ
1. ต้องใช้ความสามารถในการติดต่อและสื่อสารหาข้อมูลถึงความต้องการของลูกค้ากับซัพพลายเออร์ต่างประเทศ
2. เป็นธุรกิจจับเสือมือเปล่า มีความเสี่ยงในกรณีที่ลูกค้าต่างประเทศติดต่อสั่งซื้อสินค้ากับผู้ผลิตในประเทศโดยตรง
3. บริษัทตัวแทส่งออกสินค้าของผู้ผลิตภายในประเทศ (Manufacturer’s Export Agent) 1. เป็นธุรกิจที่ไม่ต้องใช้ทุนของตนเองหรือใช้ทุนบางส่วนในการซื้อสินค้า
2. สามารถตรวจสอบสินค้าก่อนส่งออกทำให้ไม่ต้องรับผิดชอบกรณีสินค้ามีปัญหาเมื่อถึงปลายทาง
3. ได้ค่าตอบแทนเป็นเปอร์เซนต์จากค่านายหน้าจากซัพพลายเออร์ประหรือผู้ผลิตในประเทศ
1. ต้องใช้ความสามารถเฉพาะในการติดต่อสื่อสารหาลูกค้าต่างประเทศ
2. เป็นธุรกิจจับเสือมือเปล่า มีความเสี่ยงที่ต้องรักษายอดขายหรือทำตามเป้าหมายการขายและการทำตลาดในต่างประเทศตามข้อตกลงของการเป็นตัวแทน ซึ่งถ้าทำผลงานไม่เป็นไปตามเป้าอาจถูกยกเลิกสัญญาการเป็นตัวแทนได้
4. บริษัทตัวแทนนายหน้าขายสินค้าให้ผู้ผลิตในต่างประเทศ (Selling Agent) 1. มีความเข้าใจสภาพตลาดได้ดี
2. สามารถขยายกิจกรรมทางการค้าต่อเนื่องไปถึงการบริการหลังการขาย
3. ได้ค่าตอบแทนเป็นเปอร์เซนต์จากค่านายหน้า โดยเฉพาะการเป็นตัวแทนนำเข้าแต่เพียงผู้เดียวของสินค้าที่มีชื่อเสียง ซึ่งทำให้การจำหน่ายสินค้าง่าย  
1. มีการลงทุนสูงด้านสถานที่ เครื่องมือ บุคลากรในการในการรับรองการให้บริการ รวมถึงเงินค้ำประเกินสินค้านำเข้า โดยเฉพาะสินค้าที่มีชื่อเสียง
2. ต้องทำตามสัญญาที่ตกลงกันไว้กับเจ้าของตราสินค้าอย่างเคร่งครัดและความเสี่ยงที่ต้องรักษายอดขายหรือทำตามเป้าหมายการขายและการทำการตลาดในประเทศตามข้อตกลงของการเป็นตัวแทน ซึ่งถ้าทำผลงานไม่เป็นไปตามเป้าอาจจะถูกยกเลิกสัญญาการเป็นตัวแทนได้
5. บริษัทตัวแทนฝากขาย (Consignment Agent)  1. ช่วยให้เจ้าของสินค้าหรือผู้ฝากขายหาผู้จัดจำหน่ายหรือผู้รับฝากขายได้ง่าย โดยเฉพาะสินค้าที่ต้องการระบายสินค้าคงคลัง 1. ผู้ฝากขายมีความเสี่ยงสูงมากถ้าผู้รับฝากขายโกงด้วยการไม่โอนค่าสินค้าที่จำหน่ายได้หรือไม่รับผิดขอบหรือไม่ทำการนำหน่ายสินค้า
2. ผู้รับฝากขายมีภาระจากการที่ผู้ฝากขายส่งสินค้าเก่า ตกรุ่นจำหน่ายไมได้มาให้ ทำให้มีปัญหาในการจัดการสินค้าที่จำหน่ายไม่ได้