การตลาดปัจจัย 4 โอกาสของผู้ประกอบการ SME ไทยกับสังคมผู้สูงอายุ
ประเทศที่ประชากรกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มที่ (Super-Aged Society) มีจำนวน 13 ประเทศที่เข้าสู่สภาวะดังกล่าวตั้งแต่ปี 2020 และมีจำนวนถึง 34 ประเทศที่กำลังเข้าสู่สภาวะดังกล่าวในปี 2030 ซึ่งประเทศที่คาดว่าจะมีสัดส่วนจำนวนประชาสูงอายุมากที่สุดในปี 2030 ได้แก่ ญี่ปุ่น (ร้อยละ 30.7) เยอรมนี (ร้อยละ 28.2) และอิตาลี (ร้อยละ 26.8) ตามลำดับ โดยทั้งสามประเทศเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์สูงสุดตั้งแต่ปี 2015 เป็นต้นมา และในปี 2050 โลกจะกลายเป็นสังคมแห่งผู้สูงวัย ด้วยจำนวนสูงถึง 2,100 ล้านคนคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 1 ใน 5 ของประชากรโลกในจำนวนนี้อาศัยอยู่ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก 670 ล้านคน
แนวโน้มสังคมผู้สูงอายุที่เพิ่มทั้งจำนวนและช่วงอายุขัยอันเกิดจากเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการแพทย์สมัยใหม่ช่วยยืดอายุขัยของมนุษย์ให้ยาวขึ้นกว่าในอดีต ในหลายประเทศจึงเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มที่ (Super-Aged Society) นำมาซึ่งการขาดแคลนทรัพยากรแรงงาน จนต้องขยายช่วงวัยเกษียณ รวมถึงระบบสวัสดิการและสาธารณสุข ที่ไม่เพียงพอนำมาซึ่งโอกาสจากช่องว่างทางการตลาดที่ยังไม่ได้รับการเติมเต็ม ของตลาดอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับปัจจัย 4 ในผู้สูงอายุ ได้แก่ อาหาร ที่อยู่อาศัย เครื่องแต่งกายและแฟชั่น และบริการด้านสุขภาพของผู้สูงอายุ
อาหารสำหรับผู้สูงอายุ จากความเสื่อมสภาพของอวัยวะของร่างกาย ทำให้ผู้สูงอายุหลายคนอยู่ในภาวะทุกโภชนาการ ไม่ว่าจะเป็นภาวะโภชนาการเกิน หรือภาวะโภชนาการต่ำ ต้องการอาหารเสริมต่าง ๆ เพื่อสร้างสมดุลให้แก่ร่างกายที่เหมาะสม ได้แก่
- Medical Food อาหารทางการแพทย์ เพื่อตอบสนองความต้องการทางโภชนาการสำหรับผู้ป่วย ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปแบบของอาหารปรุงสำเร็จเฉพาะผู้ป่วยแต่ละโรค อาหารเหลว หรืออาหารผงกึ่งสำเร็จรูปที่พร้อมผสม ตัวอย่างอาหารประเภทนี้ ได้แก่ นมหรือสารอาหารผงสำหรับผู้ป่วยเบาหวานเพื่อคุมปริมาณน้ำตาล เป็นต้น
- Function Food ผลิตภัณฑ์อาหารเสริม สร้างสมดุล หรือควบคุมสุขภาพเฉพาะ ผู้สูงอายุที่ไม่ได้มีภาวะป่วยก็สามารถทานได้เพื่อผลลัพธ์ในเชิงป้องกัน ตัวอย่างอาหารประเภทนี้ ได้แก่ ผงไข่ขาว คอลลาเจน หรือแพลนท์โปรตีน เป็นต้น
- Superfood อาหารที่อุดมไปด้วยสารอาหาร มีคุณค่าทางโภชนาการอย่างโปรตีน วิตามิน แร่ธาตุ สารต้านอนุมูลอิสระ ใยอาหาร กรดไขมันที่มีประโยชน์ และสารไฟโตนิวเทรียนต์ เช่น น้ำมันปลาจากปลาทะเล ข้าวกล้อง ข้าวโอ๊ต ข้าวบาร์เลย์ ควีนัว เมล็ดเชีย กรีกโยเกิร์ต มะเขือเทศ กระเทียม ขิง อบเชย เป็นต้น
- Superfruit ผลไม้ที่อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidants) รวมถึงสารอาหารที่มีประโยชน์อื่นๆ เช่น วิตามิน แร่ธาตุ ไฟเบอร์ และสารไฟโตนิวเทรียนต์ (Phytonutrients) ได้แก่ ผลไม้กลุ่มเบอร์รีที่มีรสเปรี้ยว และผลไม้อื่น ๆ เช่น ทับทิม พลัม กีวี เกรปฟรุ๊ต พีช เป็นต้น
ที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุจำนวนมากที่อยู่คนเดียว เริ่มที่จะละทิ้งที่อยู่อาศัยเดิม และเลือกที่จะเช่าโครงการที่มีการพัฒนาพื้นที่และสภาพแวดล้อมของชุมชนที่เหมาะกับการใช้ชีวิตบั้นปลายอย่างมีความสุข ไทยเป็นหนึ่งในประเทศเป้าหมายที่ผู้สูงอายุเลือกพำนักในระยะยาว เป็นโอกาสของผู้ประกอบการ SME ตลอดสายโซ่คุณค่าภายใต้การออกแบบด้วยแนวคิดเพื่อคนทั้งมวลหรือ Universal Design ตั้งแต่ธุรกิจบริการออกแบบสถาปัตยกรรมและตกแต่งภายใน ธุรกิจผลิตและจำหน่ายวัสดุก่อสร้าง ธุรกิจให้บริการก่อสร้าง ธุรกิจด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เกี่ยวเนื่อง ธุรกิจฝึกอบรมและจัดหาบุคลากรดูแลผู้สูงอายุ ตลอดจนธุรกิจดูแลสุขภาพในลักษณะของ Wellness หรือ Nursing Care
เครื่องแต่งกายสำหรับผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุที่ชอบแฟชั่นดูดีทันสมัย หรือกลุ่มวัยทำงานที่มีอายุมากขึ้นกำลังก้าวเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ จะให้ความสำคัญกับเรื่องของสไตล์ออกแบบแฟชั่นมากขึ้น จนกระทั่งหลายคนกลายเป็นอินฟลูเอนเซอร์แฟชั่นกับผู้สูงอายุที่เรียกว่า Granfluencers แต่ไม่ได้ลดการให้สำคัญกับคุณภาพการตัดเย็บ เนื้อผ้า และการออกแบบในเชิงป้องกัน เป็นโอกาสของผู้ประกอบการ SME ที่ประสมระหว่างการตัดเย็บที่มีคุณภาพกับเทคโนโลยีที่เหมาะกับผู้สูงอายุ อาทิ เนื้อผ้าที่สามารถรักษาระดับอุณหภูมิและความชุ่มชื้น อีกทั้งยังสามารถขยายไปยังสินค้าในกลุ่มเครื่องประดับ อัญมณี เครื่องสำอาง เพื่อให้สามารถ Mix and Match กับเสื้อผ้าที่ใส่ในแต่ชุด
บริการด้านสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ เนื่องจากผู้สูงอายุมีปัญหาสุขภาพเพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มโรคที่ไม่ติดต่อ อย่างโรคหัวใจ เบาหวาน ความดัน รวมถึงด้านสุขภาพจิต โอกาสของผู้ประกอบการ SME ในการนำเสนอสินค้าและบริการด้านสุขภาพภายใต้แนวคิด “อายุวัฒนะและทางเลือกสุขภาพ”อาทิ ธุรกิจด้านเครื่องมือและอุปกรณ์ดูแลผู้สูงอายุ ธุรกิจให้บริการด้านการส่งเสริมและดูแลผู้สูงอายุ ธุรกิจฟื้นฟูและกายภาพบำบัด ธุรกิจการรับส่งดูแลผู้สูงอายุ ธุรกิจท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ และการเติบโตของเทคโนโลยีฮาร์ตแวร์ ซอร์ฟแวร์ อินเตอร์เน็ต และ IoT ในปัจจุบันทำให้เกิดการพัฒนาสินค้าและบริการที่สามารถนำมาใช้เพื่ออำนวยความสะดวกและรักษาความปลอดภัยให้กับประชากรผู้สูงอายุ อาทิ ธุรกิจสตาร์ทอัพที่ให้บริการแพลทฟอร์มและแอปพลิเคชันออนไลน์สำหรับผู้สูงอายุ การพัฒนาช่วยเหลือด้านการจองและติดตามสถานะการให้บริการต่าง ๆ ผ่านแพลทฟอร์ม พร้อมเทคโนโลยีและเครื่องมืออันทันสมัยต่างๆ ในการดูแลผู้สูงอายุ
การเติบโตของสังคมผู้สูงอายุทั่วโลก แม้ว่าจะนำมาซึ่งปัญหาและข้อกังวลต่าง ๆ ในทางกลับกัน ก็เป็นโอกาสสำหรับผู้ประกอบการ SME ไม่ว่าจะเป็นผู้ผลิตสินค้าหรือธุรกิจบริการ หัวใจสำคัญของการเติบโตในธุรกิจผู้สูงอายุ คือ การใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ ควบคู่กับการสร้าง Community ทั้งชุมชนในพื้นที่จริงหรือในโลกออนไลน์ เพื่อสร้างให้เกิดเครือข่ายการเข้าถึง เกิดความเชื่อมั่น และการยอมรับในแบรนด์สินค้า นอกจากนี้การแสดงออกด้วยความเข้าใจและเอื้ออารี ในการให้บริการ จะเป็นจุดขายความแตกต่างและเสน่ห์ที่น่าดึงดูดของผู้ประกอบการไทย
บทความแนะนำ เมกะเทรนด์
การตลาดปัจจัย 4 โอกาสของผู้ประกอบการ SME ไทยกับสังคมผู้สูงอายุ https://youtu.be/LR6hiUu3MtU ประเทศที่ประชากรกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มที่ (Super-Aged Society) มีจำนวน 13 ประเทศที่เข้าสู่สภาวะดังกล่าวตั้งแต่ปี 2020 และมีจำนวนถึง 34 ประเทศที่กำลังเข้าสู่สภาวะดังกล่าวในปี 2030 ซึ่งประเทศที่คาดว่าจะมีสัดส่วนจำนวนประชาสูงอายุมากที่สุดในปี 2030 ได้แก่ ญี่ปุ่น (ร้อยละ 30.7) เยอรมนี (ร้อยละ 28.2) และอิตาลี (ร้อยละ 26.8) ตามลำดับ โดยทั้งสามประเทศเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์สูงสุดตั้งแต่ปี 2015 เป็นต้นมา และในปี 2050 โลกจะกลายเป็นสังคมแห่งผู้สูงวัย ด้วยจำนวนสูงถึง 2,100 ล้านคนคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 1 ใน 5 ของประชากรโลกในจำนวนนี้อาศัยอยู่ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก 670 ล้านคน แนวโน้มสังคมผู้สูงอายุที่เพิ่มทั้งจำนวนและช่วงอายุขัยอันเกิดจากเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการแพทย์สมัยใหม่ช่วยยืดอายุขัยของมนุษย์ให้ยาวขึ้นกว่าในอดีต ในหลายประเทศจึงเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มที่ (Super-Aged Society) […]
นำพลังแห่ง Soft Power สร้างสรรค์สินค้าไทยสู่ตลาดสากล https://youtu.be/ArgRcGcZDJE ไทยเป็นประเทศที่มีชื่อเสียงด้านการท่องเที่ยว และติดอันดับที่ 4 ของประเทศเป้าหมายที่น่าไปเยือนที่สุดในโลก (Visa Global Travel Intentions Study, 2022) สินค้าและบริการไทยที่เป็น Soft Power จึงมาจากนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางมาท่องเที่ยวประเทศไทย เช่น เครื่องแต่งกายไทย อาหารและผลไม้เมืองร้อน สินค้ากลุ่มหัตถกรรม สินค้าที่ถูกแปรรูปมาจากสมุนไพรไทย อาทิ สินค้ากลุ่มสปา น้ำมันนวด ยาดม ยาหม่อง รวมถึงธุรกิจด้าน Wellness Medical Services ของประเทศไทยที่เป็นที่สนใจของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ตลอดจนการผสมผสานความเชื่อของคนไทยซึ่งเป็นหนึ่งใน Soft Power ที่สร้างรายได้ในภาคการท่องเที่ยวและการส่งออกของไทย โดยเฉพาะกลุ่มคนเชื้อสายเอเชียที่มีวัฒนธรรมความเชื่อร่วมกัน ในขณะที่อุตสาหกรรมบันเทิงไทยกำลังได้รับกระแสเชิงบวกในระดับนานาชาติ อาทิ รายการมวยไทย การแข่งขันนางงาม ซีรีส์ ภาพยนตร์ ละคร และดนตรี โดยเฉพาะแนว Boy’s […]
โอกาสของผู้ประกอบการ SME ไทย ในโลกการค้าดิจิทัล https://youtu.be/UXa3Gxnqo60 ภายใต้แผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ปี 2559-2578 มุ่งเน้นการสร้างระบบนิเวศสำหรับธุรกิจดิจิทัล ประเทศไทยมีนโยบายสนับสนุนด้านดิจิทัลที่ชัดเจนในด้านการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมภาคอุตสาหกรรม เศรษฐกิจ และสังคม นอกจากนี้ การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ยังถือเป็นตัวเร่งสำคัญที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้ใช้อินเตอร์เน็ต เกิดการเชื่อมโยงในหลายภาคส่วน อาทิ การใช้เทคโนโลยีเพื่อสนับสนุนการทำงานของระบบสาธารณสุข การพัฒนาระบบนิเวศ ทั้งในเรื่องความคุ้มครองตามข้อกฎหมาย และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (e-Transaction) เพื่อรองรับการเติบโตของการทำธุรกรรมผ่านเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ (e-Document) การค้าขายผ่านตลาดพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Commerce/ e-Marketplace) และการชำระเงินผ่านกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Wallet) ที่เปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการ SME ไทย มีช่องทางกระจายสินค้าและบริการให้ผู้บริโภคได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และทั่วถึงมากยิ่งขึ้น ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ที่มีความสำคัญ ผู้ประกอบการ SME ควรศึกษาและนำไปใช้ในธุรกิจ ได้แก่ e-Signature หรือ การลงนามในเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ ที่มีความปลอดภัยสูงด้วยเทคโนโลยีบล็อกเชน ที่ออกโดยหน่วยงานที่ได้รับการรับรอง หรือ CA […]
การปรับตัวของผู้ประกอบการ SME ไทยมุ่งสู่การดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน (Sustainable Business) https://youtu.be/ANDjFwAEtvU SDGs ทวีความสำคัญเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะที่นโยบายรัฐบาลกว่า 20 ประเทศทั่วโลก กำหนดเป็นหนึ่งวาระแห่งชาติ นับว่าเป็นหนึ่งในเมกะเทรนด์ที่สำคัญของโลก ที่ให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาสภาพภูมิอากาศ การปกป้องสิ่งแวดล้อม ซึ่งเมกะเทรนด์นี้เป็นได้ทั้งโอกาสและอุปสรรคสำหรับผู้ประกอบการ ในบางประเทศได้นำประเด็นดังกล่าวมากำหนดเป็นนโยบายและกฎระเบียบทางการค้า จนอาจกลายเป็นข้อกีดกันทางการค้าระหว่างประเทศ หรือมาตรการกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษี (Non-Tariff Measure: NTMs) อาทิ มาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช (Agreement on the Application of Sanitary and Phytosanitary Measures-SPS) ที่เน้นมาตรการเพื่อกำกับดูแลความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์สินค้านำเข้า สารอันตราย สารเติมแต่ง สารปนเปื้อน สารพิษต่อชีวิตที่อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์ สอดคล้องกับ SDGs เป้าหมายที่ 3 : สุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี (Good Health and Well-Being) เป็นต้น แผนภาพที่ 1 สัดส่วนของผู้บริโภคที่คำนึงถึงความยั่งยืนในปี […]
โอกาสของผู้ประกอบการ SME ไทยจากการเปลี่ยนแปลงสู่เศรษฐกิจใหม่ที่ไม่พึ่งพิงน้ำมันของกลุ่มประเทศ GCC https://youtu.be/h_RbWAiYr1Q กลุ่มประเทศคณะมนตรีความร่วมมือแห่งรัฐอ่าวอาหรับ (Gulf Cooperation Council) หรือที่เรียกว่ากลุ่มประเทศ GCC ประกอบด้วยสมาชิก 6 ประเทศ ได้แก่ ซาอุดีอาระเบีย คูเวต โอมาน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ กาตาร์ และบาห์เรน มีการกำหนดยุทธศาสตร์และเริ่มปรับตัวสู่การสร้างเศรษฐกิจใหม่ จากประเทศที่พึ่งพิงรายได้จากน้ำมันสู่การพัฒนาเศรษฐกิจที่มีความหลากหลาย โดยเฉพาะหลัง Covid-19 มีการเร่งรัดกิจกรรมทางเศรษฐกิจให้มีการเติบโตแบบอัตราเร่ง มีแผนการเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ 5 จากเดิมที่ไม่มีการจัดเก็บภาษีดังกล่าว และการปรับเปลี่ยนค่านิยมและสังคมรูปแบบใหม่ (Socioeconomic Movement) อาทิ การให้สิทธิและบทบาทของสตรีที่เพิ่มมากขึ้น หรือการผ่อนคลายความเข้มงวดข้อปฏิบัติทางศาสนา ที่สำคัญคือ นโยบายที่มุ่งเน้นการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ในการสร้างประเทศ และมุ่งจ้างแรงงานในประเทศ เพื่อสร้างความมั่นคงให้เกิดขึ้นให้เกิดความสมดุลของแหล่งรายได้ภายใน 5-10 ปีข้างหน้า กลุ่มประเทศ GCC ยังเป็นช่องทางประตูการค้าเชื่อมต่อกับประเทศในทวีปแอฟริกาตอนเหนือ ซึ่งมีการรวมกลุ่มเศรษฐกิจเป็นกลุ่มประเทศตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ (Middle East and North […]