โอกาสของผู้ประกอบการ SME ไทย ในโลกการค้าดิจิทัล
ภายใต้แผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ปี 2559-2578 มุ่งเน้นการสร้างระบบนิเวศสำหรับธุรกิจดิจิทัล ประเทศไทยมีนโยบายสนับสนุนด้านดิจิทัลที่ชัดเจนในด้านการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมภาคอุตสาหกรรม เศรษฐกิจ และสังคม นอกจากนี้ การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ยังถือเป็นตัวเร่งสำคัญที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้ใช้อินเตอร์เน็ต เกิดการเชื่อมโยงในหลายภาคส่วน อาทิ การใช้เทคโนโลยีเพื่อสนับสนุนการทำงานของระบบสาธารณสุข การพัฒนาระบบนิเวศ ทั้งในเรื่องความคุ้มครองตามข้อกฎหมาย และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (e-Transaction) เพื่อรองรับการเติบโตของการทำธุรกรรมผ่านเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ (e-Document) การค้าขายผ่านตลาดพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Commerce/ e-Marketplace) และการชำระเงินผ่านกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Wallet) ที่เปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการ SME ไทย มีช่องทางกระจายสินค้าและบริการให้ผู้บริโภคได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และทั่วถึงมากยิ่งขึ้น
ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ที่มีความสำคัญ ผู้ประกอบการ SME ควรศึกษาและนำไปใช้ในธุรกิจ ได้แก่
e-Signature หรือ การลงนามในเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ ที่มีความปลอดภัยสูงด้วยเทคโนโลยีบล็อกเชน ที่ออกโดยหน่วยงานที่ได้รับการรับรอง หรือ CA
e-Wallet หรือ กระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ ช่องทางการชำระเงินผ่านระบบดิจิทัล ยังสามารถใช้ทำกิจกรรมส่งเสริมการขายต่าง ๆ เช่น การสะสมแต้ม แลกแต้ม เป็นต้น
นอกจากการค้าบนแพลทฟอร์ม e-Commerce ที่มักเข้าใจว่า เป็นการค้าขายอย่างไร้พรมแดน ไร้ข้อจำกัด แต่แท้จริงแล้ว e-Commerce เป็นเพียงหนึ่งในช่องทางการสื่อสารและช่องทางการจำหน่ายที่เพิ่มโอกาสเข้าถึงผู้บริโภคทั่วโลกเท่านั้น แต่การนำเข้าสินค้าต่าง ๆ ยังคงเป็นไปตามข้อกฎหมายและระเบียบการนำเข้าสินค้าของ แต่ละประเทศ โดยสามารถแบ่งตลาด e-Commerce ได้เป็น
ตลาด B2B e-Commerce (Business-to-Business) หรือที่เรารู้จักกันในการค้าขายแบบส่งทีละจำนวนมากระหว่างธุรกิจกับธุรกิจ
ในปี 2021 มีมูลค่ากว่า 17 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งตลาดเอเชียแปซิฟิกมีส่วนแบ่งมากถึงร้อยละ 80 ปัจจุบันมีแพลทฟอร์ม
- Amazon
- Alibaba
- Rakuten
- Mercateo
- Global Sources
- Walmart
- และ IndiaMART
เป็นผู้ประกอบการหลักในตลาด
ตลาด B2C e-Commerce (Business-to-Customer) หรือที่เรารู้จักกันในการค้าขายปลีกระหว่างธุรกิจกับผู้บริโภค ในปี 2023 คาดว่าจะมีมูลค่ากว่า 3.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยสินค้าที่ได้รับความนิยมมากที่สุด 3 อันดับแรก คือ
- สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์
- เสื้อผ้าแฟชั่น
- และเฟอร์นิเจอร์
ปัจจุบันตลาด B2C e-Commerce ที่ใหญ่ที่สุด คือ จีน รองลงมา คือ สหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรปโดยผู้ให้บริการ e-Commerce Platform ที่เป็นผู้ประกอบการรายหลักในแต่ละประเทศหรือโซนทวีป เช่น ฝั่งเอเชีย นิยมใช้ Shopee / JD.com ฝั่งอเมริกาใช้ Amazon / Walmart เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตาม การพึ่งพาช่องทางจำหน่ายผ่าน e-Commerce ช่องทางเดียว จะส่งผลให้มีผลกำไรน้อยกว่าการใช้ช่องทางการจำหน่ายที่หลากหลาย โดยเฉพาะการจำหน่ายผ่านแพลทฟอร์มที่มีชื่อเสียงระดับโลกและอำนาจต่อรองสูงกลยุทธ์ที่ลดความเสี่ยงดังกล่าว คือ การจำหน่ายแบบ Direct to Customer ผ่านเว็บไซต์หรือร้านค้าของผู้ประกอบการเอง ควบคู่กับการจำหน่ายผ่านผู้ให้บริการ e-Commerce Platform หลายราย อันจะทำให้สามารถสร้างประสบการณ์ที่ดีและสร้างความผูกพันแก่ลูกค้าได้ในระยะยาว
เครื่องมือการตลาดบนโลกการค้าดิจิทัล
ข้อมูล หรือ Data เป็นทรัพยากรสำคัญในการทำตลาดบนทุกเครื่องมือในโลกการค้าดิจิทัล สามารถนำข้อมูลมาใช้วิเคราะห์ ตีความพฤติกรรมของผู้บริโภคได้ ซึ่งการแบ่งปันและการใช้ข้อมูล เพื่อให้เกิดประโยชน์ และจะต้องอยู่บนหลักความปลอดภัย ภายใต้ข้อบังคับของกฎหมาย PDPA โดยมีเครื่องมือต่างๆ ที่แนะนำแก่ผู้ประกอบการ SME ดังนี้
- Marketing Funnel เป็นเครื่องมือที่นำมาใช้วิเคราะห์ข้อมูลลูกค้า ทำความเข้าใจเส้นทางพฤติกรรมของลูกค้าหรือ Customer Journey เพื่อให้รู้ถึงความต้องการเบื้องลึกหรือ Customer Insights ในการวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจ ยิ่งผู้ประกอบการให้ข้อมูลที่ครบถ้วน จะเป็นประโยชน์ในการค้นหาผ่านฟังก์ชัน Search Engine ในแพลทฟอร์ม
- Social Monitoring และ Social Listening เป็นเครื่องมือสำรวจทัศนคติและความเห็นผู้บริโภคในโลกดิจิทัล เพื่อหา Keywords ที่ผู้บริโภคใช้ค้นหาสินค้าและบริการ นำมาสร้างเรื่องราวหรือ Content ที่เอื้อต่อการค้นหา
- การนำเสนอสินค้าเสมือนจริง การค้าบนโลกออนไลน์ ผู้บริโภคไม่สามารถสัมผัสสินค้าได้เหมือนการซื้อขายแบบดั้งเดิม การนำเทคโนโลยีนำเสนอสินค้าเสมือนจริงทั้งในรูปแบบของ AR (Augmented Reality) หรือ VR (Virtual Reality) หรือ MR (Mixed Reality) มาใช้ จะช่วยสร้างประสบการณ์ร่วมในการรับชมสินค้าแบบ 360 องศาได้
- การออกแบบผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ ต้องอยู่ภายใต้ขนาดที่ผู้ให้บริการโลจิสติกส์หรือ Courier กำหนด อีกทั้งต้องคำนึงถึงความทนทาน น้ำหนัก ต้นทุน ภาพลักษณ์ของแบรนด์ และประสิทธิภาพในการรักษาคุณภาพของผลิตภัณฑ์ที่จัดส่งด้วย
หลังวิกฤตการณ์ COVID-19 ผู้คนทั่วโลกได้เปลี่ยนวิถีการใช้ชีวิตที่พึ่งพิงโลกดิจิทัลมากขึ้น ผู้ประกอบการควรเพิ่มทักษะที่เกี่ยวข้องกับ Digital Literacy ซึ่งเป็นทักษะสำคัญด้านการใช้ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์อย่างน้อย 2 ธุรกรรม ได้แก่ e-Signature และ e-Wallet พร้อมด้วยทักษะในการใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ และเทคโนโลยีดิจิทัลในยุคปัจจุบัน โดยแบ่งทักษะที่เกี่ยวข้องออกเป็น 4 ด้าน คือ การใช้ (Use) ความเข้าใจ (Understand) การสร้าง (Create) และการเข้าถึงเทคโนโลยีได้อย่างมีประสิทธิภาพ (Access) ทักษะเหล่านี้จะช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถใช้เทคโนโลยีได้อย่างรู้เท่าทันและมีประสิทธิภาพ
ที่สำคัญ กลยุทธ์ในการทำตลาดบนโลกการค้าดิจิทัล ข้อมูลถือได้ว่าเป็นกุญแจสำคัญสู่ความสำเร็จ การเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลผู้บริโภคทั้งที่เป็นลูกค้าและไม่ใช่ลูกค้าตลอดเส้นทางการเป็นลูกค้า (Customer Journey) ด้วยเครื่องมือ Marketing Funnel ตั้งแต่กระบวนการค้นหาข้อมูลผลิตภัณฑ์และผู้ผลิต การเปรียบเทียบสินค้ากับคู่เทียบรายต่าง ๆ การพิจารณาตัดสินใจซื้อ การนำเสนอขายแบบ Up-Selling และ Cross-Selling รวมทั้งกระบวนสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า ก่อให้เกิดความผูกพัน ซื้อซ้ำ และบอกต่อ ผ่านโปรแกรม CRM หรือ CDP แต่การได้มาและบริหารจัดการข้อมูลผู้บริโภคและลูกค้านั้น ผู้ประกอบการจะต้องปฏิบัติภายใต้กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล PDPA หรือ GDPR อย่างเคร่งครัด
บทความแนะนำ เมกะเทรนด์
การตลาดปัจจัย 4 โอกาสของผู้ประกอบการ SME ไทยกับสังคมผู้สูงอายุ https://youtu.be/LR6hiUu3MtU ประเทศที่ประชากรกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มที่ (Super-Aged Society) มีจำนวน 13 ประเทศที่เข้าสู่สภาวะดังกล่าวตั้งแต่ปี 2020 และมีจำนวนถึง 34 ประเทศที่กำลังเข้าสู่สภาวะดังกล่าวในปี 2030 ซึ่งประเทศที่คาดว่าจะมีสัดส่วนจำนวนประชาสูงอายุมากที่สุดในปี 2030 ได้แก่ ญี่ปุ่น (ร้อยละ 30.7) เยอรมนี (ร้อยละ 28.2) และอิตาลี (ร้อยละ 26.8) ตามลำดับ โดยทั้งสามประเทศเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์สูงสุดตั้งแต่ปี 2015 เป็นต้นมา และในปี 2050 โลกจะกลายเป็นสังคมแห่งผู้สูงวัย ด้วยจำนวนสูงถึง 2,100 ล้านคนคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 1 ใน 5 ของประชากรโลกในจำนวนนี้อาศัยอยู่ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก 670 ล้านคน แนวโน้มสังคมผู้สูงอายุที่เพิ่มทั้งจำนวนและช่วงอายุขัยอันเกิดจากเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการแพทย์สมัยใหม่ช่วยยืดอายุขัยของมนุษย์ให้ยาวขึ้นกว่าในอดีต ในหลายประเทศจึงเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มที่ (Super-Aged Society) […]
นำพลังแห่ง Soft Power สร้างสรรค์สินค้าไทยสู่ตลาดสากล https://youtu.be/ArgRcGcZDJE ไทยเป็นประเทศที่มีชื่อเสียงด้านการท่องเที่ยว และติดอันดับที่ 4 ของประเทศเป้าหมายที่น่าไปเยือนที่สุดในโลก (Visa Global Travel Intentions Study, 2022) สินค้าและบริการไทยที่เป็น Soft Power จึงมาจากนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางมาท่องเที่ยวประเทศไทย เช่น เครื่องแต่งกายไทย อาหารและผลไม้เมืองร้อน สินค้ากลุ่มหัตถกรรม สินค้าที่ถูกแปรรูปมาจากสมุนไพรไทย อาทิ สินค้ากลุ่มสปา น้ำมันนวด ยาดม ยาหม่อง รวมถึงธุรกิจด้าน Wellness Medical Services ของประเทศไทยที่เป็นที่สนใจของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ตลอดจนการผสมผสานความเชื่อของคนไทยซึ่งเป็นหนึ่งใน Soft Power ที่สร้างรายได้ในภาคการท่องเที่ยวและการส่งออกของไทย โดยเฉพาะกลุ่มคนเชื้อสายเอเชียที่มีวัฒนธรรมความเชื่อร่วมกัน ในขณะที่อุตสาหกรรมบันเทิงไทยกำลังได้รับกระแสเชิงบวกในระดับนานาชาติ อาทิ รายการมวยไทย การแข่งขันนางงาม ซีรีส์ ภาพยนตร์ ละคร และดนตรี โดยเฉพาะแนว Boy’s […]
โอกาสของผู้ประกอบการ SME ไทย ในโลกการค้าดิจิทัล https://youtu.be/UXa3Gxnqo60 ภายใต้แผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ปี 2559-2578 มุ่งเน้นการสร้างระบบนิเวศสำหรับธุรกิจดิจิทัล ประเทศไทยมีนโยบายสนับสนุนด้านดิจิทัลที่ชัดเจนในด้านการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมภาคอุตสาหกรรม เศรษฐกิจ และสังคม นอกจากนี้ การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ยังถือเป็นตัวเร่งสำคัญที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้ใช้อินเตอร์เน็ต เกิดการเชื่อมโยงในหลายภาคส่วน อาทิ การใช้เทคโนโลยีเพื่อสนับสนุนการทำงานของระบบสาธารณสุข การพัฒนาระบบนิเวศ ทั้งในเรื่องความคุ้มครองตามข้อกฎหมาย และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (e-Transaction) เพื่อรองรับการเติบโตของการทำธุรกรรมผ่านเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ (e-Document) การค้าขายผ่านตลาดพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Commerce/ e-Marketplace) และการชำระเงินผ่านกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Wallet) ที่เปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการ SME ไทย มีช่องทางกระจายสินค้าและบริการให้ผู้บริโภคได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และทั่วถึงมากยิ่งขึ้น ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ที่มีความสำคัญ ผู้ประกอบการ SME ควรศึกษาและนำไปใช้ในธุรกิจ ได้แก่ e-Signature หรือ การลงนามในเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ ที่มีความปลอดภัยสูงด้วยเทคโนโลยีบล็อกเชน ที่ออกโดยหน่วยงานที่ได้รับการรับรอง หรือ CA […]
การปรับตัวของผู้ประกอบการ SME ไทยมุ่งสู่การดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน (Sustainable Business) https://youtu.be/ANDjFwAEtvU SDGs ทวีความสำคัญเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะที่นโยบายรัฐบาลกว่า 20 ประเทศทั่วโลก กำหนดเป็นหนึ่งวาระแห่งชาติ นับว่าเป็นหนึ่งในเมกะเทรนด์ที่สำคัญของโลก ที่ให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาสภาพภูมิอากาศ การปกป้องสิ่งแวดล้อม ซึ่งเมกะเทรนด์นี้เป็นได้ทั้งโอกาสและอุปสรรคสำหรับผู้ประกอบการ ในบางประเทศได้นำประเด็นดังกล่าวมากำหนดเป็นนโยบายและกฎระเบียบทางการค้า จนอาจกลายเป็นข้อกีดกันทางการค้าระหว่างประเทศ หรือมาตรการกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษี (Non-Tariff Measure: NTMs) อาทิ มาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช (Agreement on the Application of Sanitary and Phytosanitary Measures-SPS) ที่เน้นมาตรการเพื่อกำกับดูแลความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์สินค้านำเข้า สารอันตราย สารเติมแต่ง สารปนเปื้อน สารพิษต่อชีวิตที่อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์ สอดคล้องกับ SDGs เป้าหมายที่ 3 : สุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี (Good Health and Well-Being) เป็นต้น แผนภาพที่ 1 สัดส่วนของผู้บริโภคที่คำนึงถึงความยั่งยืนในปี […]
โอกาสของผู้ประกอบการ SME ไทยจากการเปลี่ยนแปลงสู่เศรษฐกิจใหม่ที่ไม่พึ่งพิงน้ำมันของกลุ่มประเทศ GCC https://youtu.be/h_RbWAiYr1Q กลุ่มประเทศคณะมนตรีความร่วมมือแห่งรัฐอ่าวอาหรับ (Gulf Cooperation Council) หรือที่เรียกว่ากลุ่มประเทศ GCC ประกอบด้วยสมาชิก 6 ประเทศ ได้แก่ ซาอุดีอาระเบีย คูเวต โอมาน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ กาตาร์ และบาห์เรน มีการกำหนดยุทธศาสตร์และเริ่มปรับตัวสู่การสร้างเศรษฐกิจใหม่ จากประเทศที่พึ่งพิงรายได้จากน้ำมันสู่การพัฒนาเศรษฐกิจที่มีความหลากหลาย โดยเฉพาะหลัง Covid-19 มีการเร่งรัดกิจกรรมทางเศรษฐกิจให้มีการเติบโตแบบอัตราเร่ง มีแผนการเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ 5 จากเดิมที่ไม่มีการจัดเก็บภาษีดังกล่าว และการปรับเปลี่ยนค่านิยมและสังคมรูปแบบใหม่ (Socioeconomic Movement) อาทิ การให้สิทธิและบทบาทของสตรีที่เพิ่มมากขึ้น หรือการผ่อนคลายความเข้มงวดข้อปฏิบัติทางศาสนา ที่สำคัญคือ นโยบายที่มุ่งเน้นการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ในการสร้างประเทศ และมุ่งจ้างแรงงานในประเทศ เพื่อสร้างความมั่นคงให้เกิดขึ้นให้เกิดความสมดุลของแหล่งรายได้ภายใน 5-10 ปีข้างหน้า กลุ่มประเทศ GCC ยังเป็นช่องทางประตูการค้าเชื่อมต่อกับประเทศในทวีปแอฟริกาตอนเหนือ ซึ่งมีการรวมกลุ่มเศรษฐกิจเป็นกลุ่มประเทศตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ (Middle East and North […]