โอกาสของผู้ประกอบการ SME ไทยจากการเปลี่ยนแปลงสู่เศรษฐกิจใหม่ที่ไม่พึ่งพิงน้ำมันของกลุ่มประเทศ GCC
กลุ่มประเทศคณะมนตรีความร่วมมือแห่งรัฐอ่าวอาหรับ (Gulf Cooperation Council) หรือที่เรียกว่ากลุ่มประเทศ GCC ประกอบด้วยสมาชิก 6 ประเทศ ได้แก่ ซาอุดีอาระเบีย คูเวต โอมาน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ กาตาร์ และบาห์เรน มีการกำหนดยุทธศาสตร์และเริ่มปรับตัวสู่การสร้างเศรษฐกิจใหม่ จากประเทศที่พึ่งพิงรายได้จากน้ำมันสู่การพัฒนาเศรษฐกิจที่มีความหลากหลาย โดยเฉพาะหลัง Covid-19 มีการเร่งรัดกิจกรรมทางเศรษฐกิจให้มีการเติบโตแบบอัตราเร่ง มีแผนการเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ 5 จากเดิมที่ไม่มีการจัดเก็บภาษีดังกล่าว และการปรับเปลี่ยนค่านิยมและสังคมรูปแบบใหม่ (Socioeconomic Movement) อาทิ การให้สิทธิและบทบาทของสตรีที่เพิ่มมากขึ้น หรือการผ่อนคลายความเข้มงวดข้อปฏิบัติทางศาสนา ที่สำคัญคือ นโยบายที่มุ่งเน้นการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ในการสร้างประเทศ และมุ่งจ้างแรงงานในประเทศ เพื่อสร้างความมั่นคงให้เกิดขึ้นให้เกิดความสมดุลของแหล่งรายได้ภายใน 5-10 ปีข้างหน้า
กลุ่มประเทศ GCC ยังเป็นช่องทางประตูการค้าเชื่อมต่อกับประเทศในทวีปแอฟริกาตอนเหนือ ซึ่งมีการรวมกลุ่มเศรษฐกิจเป็นกลุ่มประเทศตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ (Middle East and North Africa, MENA) ประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 21 ประเทศ มีขนาดเศรษฐกิจประมาณ 3.415 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 4.4 ของขนาดเศรษฐกิจโลก หรือมีขนาดใหญ่ 9 เท่าของเศรษฐกิจไทย จากบริบทที่เปลี่ยนแปลงและกำลังเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วนี้ จะเป็นโอกาสใหม่ (ตลาดใหม่) สำหรับ SME ไทยในการส่งออกสินค้าและบริการ และสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันให้ทันกับคู่แข่งที่เล็งเห็นโอกาสดังกล่าว
อุตสาหกรรมที่เป็นโอกาสสำหรับ SME ไทย
อุตสาหกรรมอาหาร การปรับเปลี่ยนบทบาทจากผู้นำข้าวของกลุ่มประเทศ GCC สู่การเป็นศูนย์กลางกระจายสินค้าเกษตรและอาหารแปรรูป โดยเฉพาะอย่างยิ่งการกระจายสินค้าอาหารฮาลาลไปยังกลุ่มประเทศ MENA เป็นโอกาสสำหรับ SME ไทยในตลาดอาหารแปรรูป ไม่ว่าจะเป็นปลากระป๋อง ไก่แปรรูป และเครื่องปรุงรสต่าง ๆ นอกจากนี้พฤติกรรมการเลือกบริโภคอาหารที่เป็นมิตรต่อสุขภาพ เช่น กลุ่มขนมขบเคี้ยวที่มีปริมาณน้ำตาลน้อย สินค้าประเภทเสริมโปรตีน เพิ่มพลังงาน หรือช่วยให้เกิดความสดชื่น ลดความเหนื่อยล้าจากการทำงาน รวมทั้งอาหารที่มีส่วนผสมจากธรรมชาติเป็นหลัก หรือเป็นผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากวัตถุดิบคุณภาพสูงอย่างส่วนประสมของโกโก้หรือช็อคโกแล็ตที่เป็นเกรดพรีเมี่ยม กลุ่มสินค้า Ready-to-Drink ไม่ว่าจะเป็นกาแฟพร้อมดื่ม ชาพร้อมดื่ม เครื่องดื่มทดแทนมื้ออาหาร และเครื่องดื่มน้ำผลไม้อัดก๊าซ แต่ต้องไม่มีส่วนผสมของแอลกอฮอลล์ มีแนวโน้มได้รับความนิยมและเติบโตสูงในอนาคต อย่างไรก็ตาม การจะเข้าสู่กลุ่มประเทศ GCC ได้นั้น จะต้องได้รับการรับรองมาตรฐานฮาลาล รวมทั้งมาตรฐานในอุตสาหกรรมการผลิตอาหาร ที่เรียกว่า GSO ผ่านการตรวจสอบโดยหน่วยงาน GCC
อุตสาหกรรมอะไหล่และชิ้นส่วนยานยนต์ ประเทศไทยเป็นผู้ส่งออกรถยนต์รายใหญ่ของโลก และเป็นประเทศคู่ค้าสำคัญในอุตสาหกรรมกับกลุ่มประเทศ GCC ภายใต้แบรนด์ยานยนต์ชั้นนำต่าง ๆ โดยรถยนต์ส่วนใหญ่ที่เป็นที่นิยมในกลุ่มประเทศ GCC ได้แก่ รถยนต์ประเภท SUV โดยแบรนด์รถยนต์ที่เป็นที่นิยมมากที่สุด คือ โตโยต้า โดยอะไหล่และชิ้นส่วนที่มีการนำเข้าจากต่างประเทศจำนวนมาก ได้แก่ แบตเตอรี่ ชิ้นส่วนของระบบเบรก ผ้าเบรก โช้คอัพ ตัวกรองน้ำมันเครื่อง หัวเทียน สายพาน และใบปัดน้ำฝน ทำให้ยังมีช่องว่างทางการตลาดเป็นโอกาสของ SME ไทยในอุตสาหกรรมอะไหล่และชิ้นส่วนยานยนต์ ได้แก่ อะไหล่แท้ อะไหล่เทียบ หรือแม้กระทั่งอะไหล่มือสอง แต่อย่างไรก็ตามการส่งออกสินค้าอะไหล่และชิ้นส่วนยานยนต์จะต้องผ่านการรับรองมาตรฐานด้านคุณภาพจาก ESMA
อุตสาหกรรมวัสดุก่อสร้าง จากวิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์ของรัฐบาลในกลุ่มประเทศ GCC มีการก่อสร้างและขยายเมืองใหม่ ทำให้มีความต้องการใช้วัสดุก่อสร้างจำนวนมากและมีการนำเข้าจากต่างประเทศแทบจะทั้งหมด วัสดุก่อสร้างเฉพาะทาง ประเภทที่ใช้สำหรับอาคารอนุรักษ์พลังงานระบบธรรมชาติเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม พลังงานทดแทนและการจัดการพลังงานสิ่งแวดล้อม สินค้าประหยัดพลังงานและน้ำ ระบบก่อสร้างสำหรับอาคารอัจฉริยะ (systems for building automation) เครื่องทำความเย็น วัสดุสำหรับสระว่ายน้ำ สร้างถนน สะพาน ระบบไฟฟ้าแสงสว่าง สนามกีฬา โรงแรม บ้านพัก งานภูมิสถาปัตยกรรม โรงแรม มหาวิทยาลัย โรงพยาบาล โรงงานผลิตไฟฟ้า และโรงกลั่นน้ำทะเลเป็นน้ำจืด ยังเป็นที่ต้องการอย่างสูง และเป็นกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่ผู้ประกอบการ SME ไทยสามารถเข้าถึงตลาดได้
อุตสาหกรรมเครื่องประดับ แม้ว่ากลุ่มประเทศ GCC จะสามารถผลิตเครื่องประดับได้เองในประเทศ แต่ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภค รวมถึงมีนักท่องเที่ยวที่มาเยือน ทำให้ต้องมีการนำเข้าจากต่างประเทศเป็นส่วนใหญ่ นอกจากนี้ดูไบยังเป็นศูนย์กลางหลักสำหรับการจัดส่งอัญมณีและเครื่องประดับไปยังประเทศอื่น ๆ ในกลุ่มประเทศความร่วมมืออ่าวอาหรับ (GCC) อันได้แก่ ซาอุดิอาระเบีย กาตาร์ บาห์เรน โอมาน และคูเวต ประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคตะวันออกกลาง แอฟริกาตอนเหนือ กลาง และใต้ เอเชียกลาง ยุโรปตอนใต้และรัสเซีย จึงเป็นโอกาสของผู้ประกอบการ SME ไทยที่จะใช้เป็นช่องทางในการส่งออกต่อ (Re-Export) ไปยังประเทศปลายทางดังกล่าว อย่างไรก็ตาม ธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับเป็นธุรกิจที่ต้องอาศัยความไว้เนื้อเชื่อใจ มีความซื่อสัตย์ระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย ดังนั้น การสร้างให้เกิดความไว้เนื้อเชื่อใจกันของ SME อาจจะจำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ
อุตสาหกรรมภาคบริการ จากยุทธศาสตร์และแผนพัฒนาประเทศของกลุ่มประเทศ GCC ที่ล้วนมุ่งสู่ความยั่งยืน การพัฒนาเมืองใหม่ที่มีสิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัยและดี เป็นโอกาสของ SME ไทย ในธุรกิจให้บริการออกแบบและที่ปรึกษาระบบเชิงวิศวกรรมและสถาปัตยกรรม นอกจากนั้น อีกหนึ่งธุรกิจบริการที่สามารถเป็นโอกาสของ SME ไทย คือ ธุรกิจ Wellness and Spa ที่รองรับนักท่องเที่ยวและนักธุรกิจที่มาเยือนเป็นแหล่งรายได้ที่สำคัญ อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการ SME ควรจะต้องศึกษาวัฒนธรรม ข้อห้ามทางศาสนา และข้อสำคัญ คือ การนำเข้าแรงงานฝีมือมายังกลุ่มประเทศ GCC โดยการประสานกับหน่วยงานภาครัฐอย่างถูกต้อง
การเข้าสู่ตลาดกลุ่มประเทศ GCC นั้น ผู้ประกอบการ SME ควรหาโอกาสเข้าไปเพื่อศึกษาตลาดในพื้นที่ หาคู่ค้านักธุรกิจท้องถิ่นที่จะร่วมลงทุนทำธุรกิจ และการสร้างช่องทางธุรกิจใหม่ ๆ หรือในระยะเริ่มต้น อาจจะใช้วิธีจำหน่ายผ่านหรือร่วมกับผู้ประกอบการไทยขนาดใหญ่ที่อยู่ในตลาด เพื่อเรียนรู้การดำเนินธุรกิจก่อนเข้าสู่ตลาดอย่างเต็มรูปแบบ ผู้ประกอบการจำเป็นต้องปรับตัวสู่มาตรฐานของกลุ่มประเทศ GCC ควรหมั่นศึกษาข้อมูล ศึกษาวัฒนธรรม เข้าร่วมงานแสดงสินค้า รวมทั้งหาโอกาสเข้ามาฝังตัวเพื่อศึกษาตลาดในพื้นที่ ซึ่งการขยายตัวของเมืองและรูปแบบเศรษฐกิจใหม่ ส่งผลให้มีความต้องการสินค้าและบริการอยู่อีกมาก เป็นโอกาสสำคัญของ SME ไทยที่ต้องการรุกสู่ตลาดคู่ค้ารายใหม่ที่มีกำลังซื้อสูง
บทความแนะนำ เมกะเทรนด์
การตลาดปัจจัย 4 โอกาสของผู้ประกอบการ SME ไทยกับสังคมผู้สูงอายุ https://youtu.be/LR6hiUu3MtU ประเทศที่ประชากรกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มที่ (Super-Aged Society) มีจำนวน 13 ประเทศที่เข้าสู่สภาวะดังกล่าวตั้งแต่ปี 2020 และมีจำนวนถึง 34 ประเทศที่กำลังเข้าสู่สภาวะดังกล่าวในปี 2030 ซึ่งประเทศที่คาดว่าจะมีสัดส่วนจำนวนประชาสูงอายุมากที่สุดในปี 2030 ได้แก่ ญี่ปุ่น (ร้อยละ 30.7) เยอรมนี (ร้อยละ 28.2) และอิตาลี (ร้อยละ 26.8) ตามลำดับ โดยทั้งสามประเทศเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์สูงสุดตั้งแต่ปี 2015 เป็นต้นมา และในปี 2050 โลกจะกลายเป็นสังคมแห่งผู้สูงวัย ด้วยจำนวนสูงถึง 2,100 ล้านคนคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 1 ใน 5 ของประชากรโลกในจำนวนนี้อาศัยอยู่ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก 670 ล้านคน แนวโน้มสังคมผู้สูงอายุที่เพิ่มทั้งจำนวนและช่วงอายุขัยอันเกิดจากเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการแพทย์สมัยใหม่ช่วยยืดอายุขัยของมนุษย์ให้ยาวขึ้นกว่าในอดีต ในหลายประเทศจึงเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มที่ (Super-Aged Society) […]
นำพลังแห่ง Soft Power สร้างสรรค์สินค้าไทยสู่ตลาดสากล https://youtu.be/ArgRcGcZDJE ไทยเป็นประเทศที่มีชื่อเสียงด้านการท่องเที่ยว และติดอันดับที่ 4 ของประเทศเป้าหมายที่น่าไปเยือนที่สุดในโลก (Visa Global Travel Intentions Study, 2022) สินค้าและบริการไทยที่เป็น Soft Power จึงมาจากนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางมาท่องเที่ยวประเทศไทย เช่น เครื่องแต่งกายไทย อาหารและผลไม้เมืองร้อน สินค้ากลุ่มหัตถกรรม สินค้าที่ถูกแปรรูปมาจากสมุนไพรไทย อาทิ สินค้ากลุ่มสปา น้ำมันนวด ยาดม ยาหม่อง รวมถึงธุรกิจด้าน Wellness Medical Services ของประเทศไทยที่เป็นที่สนใจของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ตลอดจนการผสมผสานความเชื่อของคนไทยซึ่งเป็นหนึ่งใน Soft Power ที่สร้างรายได้ในภาคการท่องเที่ยวและการส่งออกของไทย โดยเฉพาะกลุ่มคนเชื้อสายเอเชียที่มีวัฒนธรรมความเชื่อร่วมกัน ในขณะที่อุตสาหกรรมบันเทิงไทยกำลังได้รับกระแสเชิงบวกในระดับนานาชาติ อาทิ รายการมวยไทย การแข่งขันนางงาม ซีรีส์ ภาพยนตร์ ละคร และดนตรี โดยเฉพาะแนว Boy’s […]
โอกาสของผู้ประกอบการ SME ไทย ในโลกการค้าดิจิทัล https://youtu.be/UXa3Gxnqo60 ภายใต้แผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ปี 2559-2578 มุ่งเน้นการสร้างระบบนิเวศสำหรับธุรกิจดิจิทัล ประเทศไทยมีนโยบายสนับสนุนด้านดิจิทัลที่ชัดเจนในด้านการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมภาคอุตสาหกรรม เศรษฐกิจ และสังคม นอกจากนี้ การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ยังถือเป็นตัวเร่งสำคัญที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้ใช้อินเตอร์เน็ต เกิดการเชื่อมโยงในหลายภาคส่วน อาทิ การใช้เทคโนโลยีเพื่อสนับสนุนการทำงานของระบบสาธารณสุข การพัฒนาระบบนิเวศ ทั้งในเรื่องความคุ้มครองตามข้อกฎหมาย และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (e-Transaction) เพื่อรองรับการเติบโตของการทำธุรกรรมผ่านเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ (e-Document) การค้าขายผ่านตลาดพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Commerce/ e-Marketplace) และการชำระเงินผ่านกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Wallet) ที่เปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการ SME ไทย มีช่องทางกระจายสินค้าและบริการให้ผู้บริโภคได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และทั่วถึงมากยิ่งขึ้น ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ที่มีความสำคัญ ผู้ประกอบการ SME ควรศึกษาและนำไปใช้ในธุรกิจ ได้แก่ e-Signature หรือ การลงนามในเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ ที่มีความปลอดภัยสูงด้วยเทคโนโลยีบล็อกเชน ที่ออกโดยหน่วยงานที่ได้รับการรับรอง หรือ CA […]
การปรับตัวของผู้ประกอบการ SME ไทยมุ่งสู่การดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน (Sustainable Business) https://youtu.be/ANDjFwAEtvU SDGs ทวีความสำคัญเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะที่นโยบายรัฐบาลกว่า 20 ประเทศทั่วโลก กำหนดเป็นหนึ่งวาระแห่งชาติ นับว่าเป็นหนึ่งในเมกะเทรนด์ที่สำคัญของโลก ที่ให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาสภาพภูมิอากาศ การปกป้องสิ่งแวดล้อม ซึ่งเมกะเทรนด์นี้เป็นได้ทั้งโอกาสและอุปสรรคสำหรับผู้ประกอบการ ในบางประเทศได้นำประเด็นดังกล่าวมากำหนดเป็นนโยบายและกฎระเบียบทางการค้า จนอาจกลายเป็นข้อกีดกันทางการค้าระหว่างประเทศ หรือมาตรการกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษี (Non-Tariff Measure: NTMs) อาทิ มาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช (Agreement on the Application of Sanitary and Phytosanitary Measures-SPS) ที่เน้นมาตรการเพื่อกำกับดูแลความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์สินค้านำเข้า สารอันตราย สารเติมแต่ง สารปนเปื้อน สารพิษต่อชีวิตที่อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์ สอดคล้องกับ SDGs เป้าหมายที่ 3 : สุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี (Good Health and Well-Being) เป็นต้น แผนภาพที่ 1 สัดส่วนของผู้บริโภคที่คำนึงถึงความยั่งยืนในปี […]
โอกาสของผู้ประกอบการ SME ไทยจากการเปลี่ยนแปลงสู่เศรษฐกิจใหม่ที่ไม่พึ่งพิงน้ำมันของกลุ่มประเทศ GCC https://youtu.be/h_RbWAiYr1Q กลุ่มประเทศคณะมนตรีความร่วมมือแห่งรัฐอ่าวอาหรับ (Gulf Cooperation Council) หรือที่เรียกว่ากลุ่มประเทศ GCC ประกอบด้วยสมาชิก 6 ประเทศ ได้แก่ ซาอุดีอาระเบีย คูเวต โอมาน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ กาตาร์ และบาห์เรน มีการกำหนดยุทธศาสตร์และเริ่มปรับตัวสู่การสร้างเศรษฐกิจใหม่ จากประเทศที่พึ่งพิงรายได้จากน้ำมันสู่การพัฒนาเศรษฐกิจที่มีความหลากหลาย โดยเฉพาะหลัง Covid-19 มีการเร่งรัดกิจกรรมทางเศรษฐกิจให้มีการเติบโตแบบอัตราเร่ง มีแผนการเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ 5 จากเดิมที่ไม่มีการจัดเก็บภาษีดังกล่าว และการปรับเปลี่ยนค่านิยมและสังคมรูปแบบใหม่ (Socioeconomic Movement) อาทิ การให้สิทธิและบทบาทของสตรีที่เพิ่มมากขึ้น หรือการผ่อนคลายความเข้มงวดข้อปฏิบัติทางศาสนา ที่สำคัญคือ นโยบายที่มุ่งเน้นการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ในการสร้างประเทศ และมุ่งจ้างแรงงานในประเทศ เพื่อสร้างความมั่นคงให้เกิดขึ้นให้เกิดความสมดุลของแหล่งรายได้ภายใน 5-10 ปีข้างหน้า กลุ่มประเทศ GCC ยังเป็นช่องทางประตูการค้าเชื่อมต่อกับประเทศในทวีปแอฟริกาตอนเหนือ ซึ่งมีการรวมกลุ่มเศรษฐกิจเป็นกลุ่มประเทศตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ (Middle East and North […]