นำพลังแห่ง Soft Power สร้างสรรค์สินค้าไทยสู่ตลาดสากล
ไทยเป็นประเทศที่มีชื่อเสียงด้านการท่องเที่ยว และติดอันดับที่ 4 ของประเทศเป้าหมายที่น่าไปเยือนที่สุดในโลก (Visa Global Travel Intentions Study, 2022) สินค้าและบริการไทยที่เป็น Soft Power จึงมาจากนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางมาท่องเที่ยวประเทศไทย เช่น เครื่องแต่งกายไทย อาหารและผลไม้เมืองร้อน สินค้ากลุ่มหัตถกรรม สินค้าที่ถูกแปรรูปมาจากสมุนไพรไทย อาทิ สินค้ากลุ่มสปา น้ำมันนวด ยาดม ยาหม่อง รวมถึงธุรกิจด้าน Wellness Medical Services ของประเทศไทยที่เป็นที่สนใจของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ตลอดจนการผสมผสานความเชื่อของคนไทยซึ่งเป็นหนึ่งใน Soft Power ที่สร้างรายได้ในภาคการท่องเที่ยวและการส่งออกของไทย โดยเฉพาะกลุ่มคนเชื้อสายเอเชียที่มีวัฒนธรรมความเชื่อร่วมกัน
ในขณะที่อุตสาหกรรมบันเทิงไทยกำลังได้รับกระแสเชิงบวกในระดับนานาชาติ อาทิ รายการมวยไทย การแข่งขันนางงาม ซีรีส์ ภาพยนตร์ ละคร และดนตรี โดยเฉพาะแนว Boy’s Love (BL) ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในหลาย ๆ ประเทศ สร้างอิทธิพลต่อการรับรู้และความชื่นชอบแฟชั่นสไตล์ไทย ประกอบกับการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวไทยอย่างต่อเนื่อง ได้นำมาซึ่งโอกาสในการขยายการค้าของผู้ประกอบการขนาดเล็ก
การสร้างมูลค่าเพิ่มด้านสินค้าและบริการที่สอดแทรกมรดกทางวัฒนธรรมไทย
ธุรกิจสอนศิลปะการต่อสู้ไทย ปัจจุบันหลายประเทศชื่นชอบมวยไทยเป็นอย่างมาก เป็นโอกาสในการขยายธุรกิจสอนศิลปะการต่อสู้ไทย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการเรียนรู้เพื่อป้องกันตัวเองและการออกกำลังกาย จากกระแสความนิยมที่โด่งดังของมวยไทย นำมาซึ่งการต่อยอดสินค้าส่งออกที่เกี่ยวข้อง เช่น สินค้าแฟชั่น ของตกแต่งบ้าน น้ำมันมวย อุปกรณ์มวยไทย เกม เป็นต้น
ร้านอาหารไทย การสร้างบรรยากาศที่ชวนให้คิดถึงการทานอาหารอยู่ที่เมืองไทย ไม่ว่าจะเป็นธีมร้านอาหารริมทาง เสียงเพลงไทย ของตกแต่งร้านสไตล์ไทย หรือวัฒนธรรมภูมิภาคต่าง ๆ โดยหากมีการปรับรสชาติและการให้บริการสอดคล้องกับพฤติกรรมการบริโภคของคนในท้องถิ่น ตลอดจนเพิ่มมาตรฐานด้วยสัญลักษณ์ Thai SELECT รับรองคุณภาพของร้านอาหาร จะช่วยสร้างความโดดเด่นแตกต่างจากคู่แข่ง ซึ่งการรับรู้และความคุ้นชินรสชาติเอกลักษณ์ของอาหารไทยนี้เอง จะเป็นโอกาสของ SME ในการส่งออกสินค้าอาหารและเครื่องดื่มของไทยไปยังต่างประเทศมากขึ้น
ร้านสปาเพื่อสุขภาพและความงาม องค์ความรู้ด้านการแพทย์แผนไทย สมุนไพรไทย และการให้บริการแบบไทย สร้างการจดจำในหมู่ชาวต่างชาติมาอย่างยาวนาน อีกทั้งคนรุ่นใหม่ให้ความสำคัญกับการนวดเพื่อสุขภาพและผลิตภัณฑ์ที่มาจากธรรมชาติมากขึ้น เป็นโอกาสของไทยในการขยายธุรกิจในต่างประเทศได้อย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้การจำหน่ายผลิตภัณฑ์สมุนไพรในร้านสปาไทยหรือแหล่งท่องเที่ยว จะเพิ่มการรับรู้สินค้าสปาไทย จะนำมาซึ่งการส่งออกสินค้ากลุ่มสปาและสมุนไพรไทยเพิ่มขึ้นตามไปด้วย
ธุรกิจบันเทิง เป็นธุรกิจที่สร้างสรรค์เนื้อหาส่งออกด้านวัฒนธรรมไทยได้เป็นอย่างดี การสื่อสารศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี ตลอดจนลักษณะเฉพาะตัวของคนไทยอย่างเป็นธรรมชาติ อาทิ การผสมผสานศิลปวัฒนธรรม ประเพณีไทย ความเชื่อ ค่านิยม เทศกาลสำคัญต่าง ๆ การ Remix ดนตรีไทยหรือการร้องแบบไทยเดิมกับแนวดนตรีร่วมสมัย รวมไปถึงการสอดแทรกประวัติศาสตร์ หรือวิถีชีวิตแบบไทย ไม่ว่าจะเป็นความเป็นสังคมเมือง สังคมชนบท การนำเสนอแฟชั่นเครื่องแต่งกาย ชุดนักเรียน กางเกงมวย การแต่งหน้า ชุดไทย งานแต่งแบบไทย บริการต่าง ๆ ที่ตอบสนองไลฟ์สไตล์หลากหลายทั้งสมัยใหม่และแบบดั้งเดิม หรือวัฒนธรรมการทานอาหารแบบไทยที่ไม่กำหนดรูปแบบอาหารที่ต้องทานแต่ละมื้อ ในการนำเสนออาหารหลากหลายให้เลือกรับประทานได้ตลอดวันให้น่าสนใจ จนทำให้ผู้บริโภครู้สึกชื่นชอบ จดจำได้ และเปิดใจอยากใช้สินค้าของไทย จะนำมาซึ่งการต่อยอดในการส่งออกสินค้าและบริการที่เกี่ยวข้องตามมาได้
สินค้ากลุ่มหัตถกรรม ผู้ประกอบการสามารถเริ่มต้นจากการต่อยอดจากมรดกทางวัฒนธรรมในการสร้างสรรค์สินค้าและบรรจุภัณฑ์จากเอกลักษณ์ไทย โดยประยุกต์ได้หลากหลายรูปแบบ อาทิ การใช้ลายไทยในการออกแบบกราฟิก ตัวอักษร ประเพณีและงานเทศกาล วรรณกรรม อาหารและเครื่องดื่ม ผลไม้ สัตว์ประจำถิ่น มวยไทย สถานที่ท่องเที่ยวในไทย ตลอดจนความเชื่อของคนไทย ในการออกแบบเสื้อผ้าและเครื่องแต่งกาย อัญมณีและเครื่องประดับ เครื่องใช้ในบ้าน หรือของใช้เบ็ดเตล็ด โดยสิ่งสำคัญคือการออกแบบฟังก์ชันให้สอดคล้องกับการใช้งานของผู้บริโภค และจัดจำหน่ายในแหล่งที่มีนักท่องเที่ยวสัญจร จะนำไปสู่การบอกต่อและขยายการรับรู้คุณภาพสินค้าไทย
ไทยเป็นประเทศที่มีความเข้มแข็งของมรดกทางวัฒนธรรม การนำกระแส Soft Power มาสร้างสรรค์สินค้าและบริการ ด้วยการต่อยอดด้วยการร่วมมือระหว่างแบรนด์ออกแบบคอลเลคชั่นพิเศษ (Collaboration Marketing) หรือการนํามาประยุกต์สร้างสรรค์สินค้าขึ้นมาเอง จนถึงการนํามาใช้เป็นเครื่องมือทางการตลาดที่มีประสิทธิภาพสูง ในการถ่ายทอดเรื่องราวของแบรนด์ให้แทรกซึมเข้าไปอยู่ในใจผู้บริโภค โดยกำหนดจุดยืนและสร้างเรื่องราวของแบรนด์ที่เชื่อมโยงกับเทรนด์โลก อาทิ ความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม จริยธรรมการใช้แรงงาน หรือการแสดงออกถึงความเท่าเทียม จะช่วยสร้างความโดดเด่นและแตกต่างจากคู่แข่งในตลาด ตลอดจนส่งเสริมให้ผู้บริโภคจดจำสินค้าไทยได้อย่างยาวนาน และเป็นที่ต้องการของตลาดโลก
นอกจากนี้สินค้าและบริการที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม เพื่อป้องกันการถูกคัดลอก ต้องมีการทำสัญญาร่วมระหว่างคู่ค้า และการขอคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาที่กรมทรัพย์สินทางปัญญา แต่จะไม่ครอบคลุมในระดับนานาชาติ ผู้ประกอบการที่ต้องการส่งออกสินค้าและบริการไปยังต่างประเทศ จะต้องทำเรื่องขออนุญาตตามพื้นที่ของประเทศที่ต้องการส่งออกสินค้าหรือบริการ และควรขอคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญแต่ละประเทศโดยตรง เพื่อป้องกันการถูกละเมิดลิขสิทธิ์และการถูกคัดลอกผลงานได้
บทความแนะนำ เมกะเทรนด์
การตลาดปัจจัย 4 โอกาสของผู้ประกอบการ SME ไทยกับสังคมผู้สูงอายุ https://youtu.be/LR6hiUu3MtU ประเทศที่ประชากรกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มที่ (Super-Aged Society) มีจำนวน 13 ประเทศที่เข้าสู่สภาวะดังกล่าวตั้งแต่ปี 2020 และมีจำนวนถึง 34 ประเทศที่กำลังเข้าสู่สภาวะดังกล่าวในปี 2030 ซึ่งประเทศที่คาดว่าจะมีสัดส่วนจำนวนประชาสูงอายุมากที่สุดในปี 2030 ได้แก่ ญี่ปุ่น (ร้อยละ 30.7) เยอรมนี (ร้อยละ 28.2) และอิตาลี (ร้อยละ 26.8) ตามลำดับ โดยทั้งสามประเทศเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์สูงสุดตั้งแต่ปี 2015 เป็นต้นมา และในปี 2050 โลกจะกลายเป็นสังคมแห่งผู้สูงวัย ด้วยจำนวนสูงถึง 2,100 ล้านคนคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 1 ใน 5 ของประชากรโลกในจำนวนนี้อาศัยอยู่ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก 670 ล้านคน แนวโน้มสังคมผู้สูงอายุที่เพิ่มทั้งจำนวนและช่วงอายุขัยอันเกิดจากเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการแพทย์สมัยใหม่ช่วยยืดอายุขัยของมนุษย์ให้ยาวขึ้นกว่าในอดีต ในหลายประเทศจึงเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มที่ (Super-Aged Society) […]
นำพลังแห่ง Soft Power สร้างสรรค์สินค้าไทยสู่ตลาดสากล https://youtu.be/ArgRcGcZDJE ไทยเป็นประเทศที่มีชื่อเสียงด้านการท่องเที่ยว และติดอันดับที่ 4 ของประเทศเป้าหมายที่น่าไปเยือนที่สุดในโลก (Visa Global Travel Intentions Study, 2022) สินค้าและบริการไทยที่เป็น Soft Power จึงมาจากนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางมาท่องเที่ยวประเทศไทย เช่น เครื่องแต่งกายไทย อาหารและผลไม้เมืองร้อน สินค้ากลุ่มหัตถกรรม สินค้าที่ถูกแปรรูปมาจากสมุนไพรไทย อาทิ สินค้ากลุ่มสปา น้ำมันนวด ยาดม ยาหม่อง รวมถึงธุรกิจด้าน Wellness Medical Services ของประเทศไทยที่เป็นที่สนใจของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ตลอดจนการผสมผสานความเชื่อของคนไทยซึ่งเป็นหนึ่งใน Soft Power ที่สร้างรายได้ในภาคการท่องเที่ยวและการส่งออกของไทย โดยเฉพาะกลุ่มคนเชื้อสายเอเชียที่มีวัฒนธรรมความเชื่อร่วมกัน ในขณะที่อุตสาหกรรมบันเทิงไทยกำลังได้รับกระแสเชิงบวกในระดับนานาชาติ อาทิ รายการมวยไทย การแข่งขันนางงาม ซีรีส์ ภาพยนตร์ ละคร และดนตรี โดยเฉพาะแนว Boy’s […]
โอกาสของผู้ประกอบการ SME ไทย ในโลกการค้าดิจิทัล https://youtu.be/UXa3Gxnqo60 ภายใต้แผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ปี 2559-2578 มุ่งเน้นการสร้างระบบนิเวศสำหรับธุรกิจดิจิทัล ประเทศไทยมีนโยบายสนับสนุนด้านดิจิทัลที่ชัดเจนในด้านการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมภาคอุตสาหกรรม เศรษฐกิจ และสังคม นอกจากนี้ การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ยังถือเป็นตัวเร่งสำคัญที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้ใช้อินเตอร์เน็ต เกิดการเชื่อมโยงในหลายภาคส่วน อาทิ การใช้เทคโนโลยีเพื่อสนับสนุนการทำงานของระบบสาธารณสุข การพัฒนาระบบนิเวศ ทั้งในเรื่องความคุ้มครองตามข้อกฎหมาย และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (e-Transaction) เพื่อรองรับการเติบโตของการทำธุรกรรมผ่านเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ (e-Document) การค้าขายผ่านตลาดพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Commerce/ e-Marketplace) และการชำระเงินผ่านกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Wallet) ที่เปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการ SME ไทย มีช่องทางกระจายสินค้าและบริการให้ผู้บริโภคได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และทั่วถึงมากยิ่งขึ้น ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ที่มีความสำคัญ ผู้ประกอบการ SME ควรศึกษาและนำไปใช้ในธุรกิจ ได้แก่ e-Signature หรือ การลงนามในเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ ที่มีความปลอดภัยสูงด้วยเทคโนโลยีบล็อกเชน ที่ออกโดยหน่วยงานที่ได้รับการรับรอง หรือ CA […]
การปรับตัวของผู้ประกอบการ SME ไทยมุ่งสู่การดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน (Sustainable Business) https://youtu.be/ANDjFwAEtvU SDGs ทวีความสำคัญเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะที่นโยบายรัฐบาลกว่า 20 ประเทศทั่วโลก กำหนดเป็นหนึ่งวาระแห่งชาติ นับว่าเป็นหนึ่งในเมกะเทรนด์ที่สำคัญของโลก ที่ให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาสภาพภูมิอากาศ การปกป้องสิ่งแวดล้อม ซึ่งเมกะเทรนด์นี้เป็นได้ทั้งโอกาสและอุปสรรคสำหรับผู้ประกอบการ ในบางประเทศได้นำประเด็นดังกล่าวมากำหนดเป็นนโยบายและกฎระเบียบทางการค้า จนอาจกลายเป็นข้อกีดกันทางการค้าระหว่างประเทศ หรือมาตรการกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษี (Non-Tariff Measure: NTMs) อาทิ มาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช (Agreement on the Application of Sanitary and Phytosanitary Measures-SPS) ที่เน้นมาตรการเพื่อกำกับดูแลความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์สินค้านำเข้า สารอันตราย สารเติมแต่ง สารปนเปื้อน สารพิษต่อชีวิตที่อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์ สอดคล้องกับ SDGs เป้าหมายที่ 3 : สุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี (Good Health and Well-Being) เป็นต้น แผนภาพที่ 1 สัดส่วนของผู้บริโภคที่คำนึงถึงความยั่งยืนในปี […]
โอกาสของผู้ประกอบการ SME ไทยจากการเปลี่ยนแปลงสู่เศรษฐกิจใหม่ที่ไม่พึ่งพิงน้ำมันของกลุ่มประเทศ GCC https://youtu.be/h_RbWAiYr1Q กลุ่มประเทศคณะมนตรีความร่วมมือแห่งรัฐอ่าวอาหรับ (Gulf Cooperation Council) หรือที่เรียกว่ากลุ่มประเทศ GCC ประกอบด้วยสมาชิก 6 ประเทศ ได้แก่ ซาอุดีอาระเบีย คูเวต โอมาน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ กาตาร์ และบาห์เรน มีการกำหนดยุทธศาสตร์และเริ่มปรับตัวสู่การสร้างเศรษฐกิจใหม่ จากประเทศที่พึ่งพิงรายได้จากน้ำมันสู่การพัฒนาเศรษฐกิจที่มีความหลากหลาย โดยเฉพาะหลัง Covid-19 มีการเร่งรัดกิจกรรมทางเศรษฐกิจให้มีการเติบโตแบบอัตราเร่ง มีแผนการเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ 5 จากเดิมที่ไม่มีการจัดเก็บภาษีดังกล่าว และการปรับเปลี่ยนค่านิยมและสังคมรูปแบบใหม่ (Socioeconomic Movement) อาทิ การให้สิทธิและบทบาทของสตรีที่เพิ่มมากขึ้น หรือการผ่อนคลายความเข้มงวดข้อปฏิบัติทางศาสนา ที่สำคัญคือ นโยบายที่มุ่งเน้นการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ในการสร้างประเทศ และมุ่งจ้างแรงงานในประเทศ เพื่อสร้างความมั่นคงให้เกิดขึ้นให้เกิดความสมดุลของแหล่งรายได้ภายใน 5-10 ปีข้างหน้า กลุ่มประเทศ GCC ยังเป็นช่องทางประตูการค้าเชื่อมต่อกับประเทศในทวีปแอฟริกาตอนเหนือ ซึ่งมีการรวมกลุ่มเศรษฐกิจเป็นกลุ่มประเทศตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ (Middle East and North […]