การประกันภัยสินค้าระหว่างประเทศ การประกันภัยสินค้าระหว่างประเทศมักจะอยู่ในรูปของการประกันภัยการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ ซึ่งหมายถึงการให้ความคุ้มครองแก่ทรัพย์สินหรือสินค้าที่ขนส่งทางทะเล ทางอากาศ ทางบก จากประเทศหนึ่งไปยังอีกประเทศหนึ่งและการขนส่งต่อเนื่องกับการขนส่งทางทะเล ซึ่งในการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศนั้นอาจเกิดความเสียหายหรือสูญเสียต่อสินค้าได้ การประกันภัยทางทะเล หมายถึง การประกันภัยซึ่งครอบคลุมถึงความเสียหายและการสูญหายของตัวสินค้า ทรัพย์สิน หรือของตัวเรือ ระหว่างการเดินทางจากที่หนึ่งไปที่หนึ่งโดยเรือเดินสมุทร การประกันภัยทางทะเลถือ เป็นข้อสัญญาที่ฝ่ายหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า ผู้รับประกัน (Assurer) หรือ (Underwriter) ตกลงในเงื่อนไขที่จะชดใช้ ให้กับอีกฝ่ายหนึ่งเมื่อได้รับเงินค่าเบี้ยประกัน (Premiums) ฝ่ายผู้ที่ทำประกันนี้เรียกว่า Insured หรือ Assured ซึ่งค่าชดใช้จากการเสียหายซึ่งเกิดจากภัยที่ระบุในกรมธรรม์ของประกันภัยทางทะเล การชดใช้ค่าเสียหายนั้นจะ รวมเฉพาะการทำให้สินค้าคืนสภาพเดิมหรือค่าเสียหายที่เสียไป แต่จะไม่คุ้มครองการได้รับของมาทดแทนใหม่ ประเภทของการทำประกันภัยสินค้า การประกันภัยสินค้าจะพิจารณาจากสัญญาการซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศ ตามเงื่อนไขของราคา เช่น สาเหตุของการทำประกันภัยสินค้า การประกันภัยทางทะเลนั้นให้ความคุ้มครองต่อสินค้า โดยจะชดใช้ความเสียหายที่เกิดขึ้นให้กับผู้เอาประกันภัย ซึ่งอาจเป็นเจ้าของสินค้าเองผู้ทำการค้าหรือผู้ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งประเภทของการประกันภัยทางทะเล แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ 1. การประกันภัยตัวเรือ (Hull Insurance) : คุ้มครองความเสียหายหรือสูญเสียของโครงสร้างตัวเรือ รวมทั้งอุปกรณ์ต่างๆ แบ่งเป็น 1.1 ประเภทไม่มีเครื่องจักร […]
การขอเครดิตการชำระเงินผ่านธนาคาร เพื่อส่งเสริมขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการค้าไทยในเวทีการค้าโลก สถาบันการเงินต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นของรัฐหรือเอกชน สามารถให้บริการทางการเงินแก่ผู้ประกอบการค้าในรูปของสินเชื่อเพื่อการนำเข้าและการส่งออก ตลอดจนการส่งเสริมการลงทุนในต่างประเทศอันจะส่งผลต่อการขยายฐานการค้าของประเทศไทยอีกด้วย 1. สินเชื่อเพื่อการนำเข้า สามารถจำแนกออกเป็น 2 รูปแบบ คือ · สินเชื่อก่อนการนำเข้า (Pre-Import Financing) หมายถึง การที่ธนาคารพาณิชย์ให้สินเชื่อแก่ลูกค้าก่อนการนำเข้าสินค้า สินเชื่อนี้ คือ Letter of Credit: L/C เป็นสินเชื่อเพื่อการนำเข้าที่ธนาคารให้วงเงินแก่ผู้นำเข้าโดยมีหลักประกันในการเปิด L/C เพื่อซื้อสินค้าจากต่างประเทศ ซึ่งธนาคารจะประเมินความต้องการใช้และกำหนดวงเงินตามความจำเป็นของผู้ประกอบการ · สินเชื่อหลังการนำเข้า (Post-Import Financing) หมายถึง ธนาคารพาณิชย์ให้สินเชื่อแก่ลูกค้าหลังจากที่ผู้ส่งออกได้ทำการส่งสินค้ามาให้ผู้นำเข้าแล้ว ผู้ซื้อหรือผู้นำเข้าต้องทำการชำระเงินค่าสินค้าให้แก่ผู้ขาย ถ้าผู้นำเข้าไม่มีเงินสามารถขอสินเชื่อหลังการนำเข้าได้สินเชื่อหลังการนำเข้าได้แก่ การขอรับเอกสารแสดงสิทธิ์ในสินค้า (Trust Receipt: T/R) การขอรับเอกสารแสดงสิทธิ์ในสินค้า (Trust Receipt: T/R) คือ การที่ธนาคารพาณิชย์ให้สินเชื่อลูกค้าหรือผู้นำเข้า ซึ่งสั่งซื้อสินค้าโดยการเปิด L/C ผ่านธนาคาร เพื่อให้ผู้นำเข้ารับสินค้าไปก่อนการชำระเงิน สินเชื่อ T/R นี้เป็น […]
กลยุทธ์การตั้งราคาในธุรกิจส่งออก การกำหนดเงื่อนไขราคาและส่งมอบสินค้า ในการดำเนินการค้าระหว่างประเทศมีขั้นตอนในการดำเนินงานหลายขั้นตอนซึ่งขั้นตอนที่สำคัญลำดับหนึ่งคือการทำข้อตกลงในสัญญาซื้อขายซึ่งเป็นเอกสารเริ่มต้นที่สำคัญในการกำหนดรูปแบบการซื้อขายกันโดยมีการกำหนดรายละเอียดเงื่อนไขต่าง ๆ ภายในสัญญาซื้อขายเงื่อนไขที่เป็นหัวใจของสัญญาซื้อขายนั่นคือการกำหนดประเภทเงื่อนไขราคาและการส่งมอบสินค้า เช่น รูปแบบ FOB, CIF หรือ C&F เป็นต้น ซึ่งคู่สัญญาทั้ง 2 ฝ่ายคือผู้นำเข้าและผู้ส่งออก จะต้องพิจารณาเงื่อนไขนี้อย่างรอบคอบ เนื่องจากการกำหนดเงื่อนไขแต่ละรูปแบบหมายถึงค่าใช้จ่าย ความเสี่ยง และความรับผิดชอบที่แตกต่างกันในด้านราคาสินค้า เวลาและสถานที่ของการส่งมอบสินค้า ตลอดจนต้นทุนสินค้าในการคำนวณภาษีศุลกากรทั้งในการนำเข้าและการส่งออกทั้งนี้ เงื่อนไขราคาและการส่งมอบสินค้าในทางสากลเรียกว่า International CommercialTerms หรือ INCOTERMS เงื่อนไขราคาและการส่งมอบสินค้าหรืออินโคเทอม (Incoterms) เป็นข้อกำหนดของสภาหอการค้านานาชาติ (International Chamber of Commerce : ICC) ที่กำหนดความหมายของคำเฉพาะทางการค้า (trade term) เพื่อใช้สำหรับการค้าระหว่างประเทศแต่ก็สามารถนำไปใช้ในการทำสัญญาซื้อขายภายในได้ด้วยอินโคเทอมให้ความหมายและบ่งบอกถึงหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้ขายผู้ซื้อในการจัดส่งสินค้าตลอดจนค่าใช้จ่าย และความเสี่ยงภัย ซึ่งช่วยอำนวยความสะดวกให้ผู้ซื้อและผู้ขายในการทำสัญญาซื้อขายเพราะเพียงระบุเทอมของการซื้อขาย ตามอินโคเทอมไว้ในสัญญาซื้อขายโดยไม่ต้องบรรยายรายละเอียดขั้นตอนความรับผิดชอบในการจัดส่งสินค้า ค่าใช้จ่ายและความเสี่ยงภัยลงไว้ในสัญญาซื้อขายก็ถือว่าเป็นการตกลงที่เข้าใจและรับรู้กันว่าผู้ขายมีหน้าที่รับผิดชอบอย่างไรในการจัดส่งสินค้าและต้องรับภาระค่าใช้จ่ายในการส่งสินค้าเพียงใด ถึงจุดใดความเสี่ยงภัยต่อความสูญเสียหรือความเสียหายของสินค้าที่ซื้อขายกันจะโอนจากผู้ขายไปยังผู้ซื้อเมื่อใด ข้อกำหนดใน Incoterms · เงื่อนไขทางการค้าที่เป็นสากลเป็นตัวย่อภาษาอังกฤษ 3 ตัว · ลดความเข้าใจไม่ตรงกัน […]
กลยุทธ์การตั้งราคาในธุรกิจส่งออก ในการดำเนินการค้าระหว่างประเทศมีขั้นตอนในการดำเนินงานหลายขั้นตอน ซึ่งขั้นตอนที่สำคัญลำดับหนึ่งคือการทำข้อตกลงในสัญญาซื้อขาย ซึ่งเป็นเอกสารเริ่มต้นที่สำคัญในการกำหนดรูปแบบการซื้อขายกันโดยมีการกำหนดรายละเอียดเงื่อนไขต่าง ๆ ภายในสัญญาซื้อขาย เงื่อนไขที่เป็นหัวใจของสัญญาซื้อขายนั่นคือการกำหนดประเภทเงื่อนไขราคาและการส่งมอบสินค้า เช่น รูปแบบ FOB, CIF หรือ C&F เป็นต้น ซึ่งคู่สัญญาทั้ง 2 ฝ่าย คือผู้นำเข้าและผู้ส่งออก จะต้องพิจารณาเงื่อนไขนี้อย่างรอบคอบ เนื่องจากการกำหนดเงื่อนไขแต่ละรูปแบบหมายถึง ค่าใช้จ่าย ความเสี่ยง และความรับผิดชอบที่แตกต่างกันในด้านราคาสินค้า เวลา และสถานที่ของการส่งมอบสินค้า ตลอดจนต้นทุนสินค้าในการคำนวณภาษีศุลกากรทั้งในการนำเข้าและการส่งออก ทั้งนี้ เงื่อนไขราคาและการส่งมอบสินค้าในทางสากลเรียกว่า International Commercial Terms หรือ INCOTERMS เงื่อนไขราคาและการส่งมอบสินค้า หรืออินโคเทอม (Incoterms) เป็นข้อกำหนดของสภาหอการค้านานาชาติ (International Chamber of Commerce : ICC) ที่กำหนดความหมายของคำเฉพาะทางการค้า (trade term) เพื่อใช้สำหรับการค้าระหว่างประเทศ แต่ก็สามารถนำไปใช้ในการทำสัญญาซื้อขายภายในได้ด้วย อินโคเทอมให้ความหมายและบ่งบอกถึงหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้ขายผู้ซื้อในการจัดส่งสินค้า ตลอดจนค่าใช้จ่าย และความเสี่ยงภัย ซึ่งช่วยอำนวยความสะดวกให้ผู้ซื้อและผู้ขายในการทำสัญญาซื้อขาย เพราะเพียงระบุเทอมของการซื้อขาย ตามอินโคเทอมไว้ในสัญญาซื้อขาย โดยไม่ต้องบรรยายรายละเอียดขั้นตอนความรับผิดชอบในการจัดส่งสินค้า […]
ข้อปฏิบัติในการส่งออกสินค้าและการจัดเตรียมเอกสารการส่งออก เมื่อผู้ประกอบการเตรียมความพร้อมในเรื่องของสินค้า การจดทะเบียนต่าง ๆ รวมถึงมีประเทศเป้าหมายที่จะทำการส่งออกแล้ว ขั้นตอนต่อมา ผู้ประกอบการจำเป็นต้องศึกษาและทำความเข้าใจเกี่ยวกับเอกสารการส่งออก ซึ่งประกอบด้วย 1. ใบขนสินค้าขาออก – เมื่อเราต้องการส่งสินค้าออก จะต้องใช้ใบขนส่งสินค้าขาออก ในการแจ้งข้อมูลสินค้าให้กับศุลกากรทราบ ประกอบไปด้วย ประเภทสินค้า ราคาและจำนวน เพื่อให้นำทางศุลกากรนำไปคิดภาษีและจัดเก็บข้อมูลการนำเข้า-ส่งออกของเราได้ (ในส่วนนี้มักดำเนินการโดยบริษัทขนส่ง) ซึ่งแบ่งเป็น 4 ประเภท (1) แบบ กศก.101/1 ใบขนสินค้าขาออก ใช้สำหรับการส่งออกในกรณี ดังต่อไปนี้ (2) แบบ กศก.103 คำร้องขอผ่อนผันรับของ/ส่งของออกไปก่อน ใช้สำหรับการขอส่งสินค้าออกไปก่อนปฏิบัติ พิธีการใบขนสินค้าขาออกในลักษณะที่กรมศุลกากรกำหนดไว้ ในประมวลระเบียบปฏิบัติศุลกากร พ.ศ. 2544 (3) แบบ A.T.A. Carnet ใบขนสินค้าสำหรับนำของเข้าหรือส่งของออกชั่วคราว ใช้สำหรับพิธีการส่งของออก ชั่วคราวในลักษณะที่กำหนดในอนุสัญญา (4) ใบขนสินค้าพิเศษสำหรับรถยนต์และจักรยานยนต์นำเข้าหรือส่งออกชั่วคราว ใช้สำหรับการส่งออกรถยนต์ และจักรยานยนต์ชั่วคราว 2. ใบตราส่งสินค้า ใบตราส่งสินค้า จะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ […]
การจัดการขนส่งสินค้าขาออก (Exportation) ในขั้นตอนการขนส่งสินค้าไปต่างประเทศ จะแบ่งการดำเนินงานออกเป็น 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การเลือกรูปแบบการขนส่ง และหลักการคำนวณค่าระวางสินค้า 2) ประสานงานกับผู้ให้บริการขนส่ง 3) การจัดเตรียมเอกสารส่งออก 4) การดำเนินพิธีการศุลกากรขาออก 5) การส่งเอกสารให้แก่ผู้นำเข้า และรับชำระค่าสินค้าตามข้อตกลง โดยแต่ละขั้นตอนมีรายละเอียดการดำเนินการ ดังนี้ 1. การเลือกรูปแบบการขนส่ง ปัจจุบันการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ มีความก้าวหน้าและมีพัฒนาการมากยิ่งขึ้น มีรูปแบบและวิธีการขนส่งที่หลากหลายให้ผู้ประกอบการตัดสินใจเลือกใช้ตามความเหมาะสมกับธุรกิจตนเอง ทั้งนี้ ปัจจัยในการเลือกรูปแบบการขนส่ง ได้แก่ ระยะเวลาขนส่ง ต้นทุนค่าขนส่ง ประเภทของสินค้า ปริมาณและน้ำหนักของสินค้า และเงื่อนไขของประเทศปลายทาง เป็นต้น การเปรียบเทียบรูปแบบการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ ในการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศที่นิยมใช้กัน ถ้าขนส่งสินค้าในปริมาณมาก สินค้าไม่เน่าเสียง่าย ผู้ประกอบการอาจเลือกการขนส่งทางเรือ เนื่องจากมีต้นทุนค่าขนส่งต่ำกว่า แต่ถ้าผู้นำเข้ามีความต้องการสินค้าเร่งด่วน การขนส่งทางอากาศจะเป็นตัวเลือกที่เหมาะสมกว่า การคำนวณค่าระวางสินค้า หลักการคำนวณค่าขนส่งขึ้นอยู่กับรูปแบบการขนส่ง ดังนี้ Volume Weight = กว้าง x ยาว x สูง / […]
การคัดเลือกคู่ค้าในต่างประเทศ ผู้ประกอบการควรสำรวจและหาคู่ค้าที่มีศักยภาพในหัวข้อต่อไปนี้ 1. สภาพทางภูมิศาสตร์ ได้แก่ ลักษณะที่ตั้งของประเทศ ขนาดพื้นที่ ภูมิประเทศ ภูมิอากาศ ปริมาณน้ำฝน อุณหภูมิ ความชื้นสัมพันธ์ อาจมีผลต่อคุณภาพสินค้าปลายทางได้ เช่น ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับไม้ เฟอร์นิเจอร์ไม้ ถ้าไม่มีการอบให้แห้งก่อนส่งไประเทศที่มีอากาศแห้ง เฟอร์นิเจอร์ไม้อาจจะแตกจนถูกปฏิเสธในการรับสินค้า 2. ข้อมูลประชากรศาสตร์ ได้แก่ จำนวนประชากร เชื้อชาติ ศาสนา ภาษา วัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณี ระดับรายได้และนโยบายการค้าของประเทศนั้น ๆ 3. ข้อมูลการผลิตและทรัพยากร เช่น ผลผลิตหลักและจำนวนการผลิต ลักษณะของแรงงานการคมนาคมขนส่ง เป็นต้น 4. […]
ประเภทการดำเนินธุรกิจระหว่างประเทศ โดยทั่วไปประเภทของธุรกิจการค้าระหว่างประเทศสามารถกำหนดรูปแบบได้ดังนี้ 1. ส่วนของผู้ผลิต (Producer/Manufacturers) ซึ่งผู้ผลิต ผลิตสินค้าและป้อนสินค้าเข้าสู่ตลาดภายในประเทศจนมีความชำนาญแล้ว จึงสนใจด้านการส่งออกต่างประเทศที่มีขนาดตลาดใหญ่กว่า มีโอกาสในการสร้างยอดขายมากกว่า และขนาดการขายต่อครั้งมียอดขายที่สูง ดังนั้นผู้ผลิตสามารถพัฒนารูปแบบการดำเนินธุรกิจส่งออกได้ด้วยตัวเอง 2. นายหน้าตัวแทน (Agent) แบ่งออกเป็น 2.1 บริษัทตัวแทนจัดซื้อสินค้าให้ชาวต่างชาติ (Export Commission House, Buying agent) เป็นธุรกิจตัวแทนที่ดำเนินการในลักษณะการรับใบสั่งซื้อหรือวัตถุดิบจากบริษัทนำเข้าหรือผู้ผลิตในต่างประเทศ แล้วจัดซื้อสินค้าหรือวัตถุดิบจากประเทศผู้ส่งออกให้ตามที่ลูกค้าต้องการ 2.2 […]
การทำธุรกรรมทางเงินระหว่างประเทศ ปัจจุบันมีวิธีการหลักที่นิยมใช้กันในการค้าระหว่างประเทศ 4 วิธี คือ การตกลงซื้อขายแบบ LC ต้องระมัดระวังกับข้อกำหนดและเงื่อนไขที่ระบุใน UC ก่อนเปิด LC ผู้ซื้อและผู้ขายควรพิจารณาและพูดคุยเพื่อประเมินว่าสามารถปฏิบัติตามข้อกำหนดและเงื่อนไขได้หรือไม่ เนื่องจากเงื่อนไขที่สำคัญในการรับชำระเงินตาม LC คือเอกสารที่ถูกต้องและครบถ้วนตามที่ระบุใน LC เท่านั้น และไม่เกี่ยวข้องกับสินค้าเอง การเลือกวิธีการชำระเงินขึ้นอยู่กับการประเมินความเสี่ยงของลูกค้าของผู้ขายและความต้องการในการรับชำระเงิน ควรมีการเตรียมความพร้อมในการจัดการกับปัญหาที่อาจเกิดขึ้นและสามารถต่อรองและตกลงเงื่อนไขการชำระเงินและราคาที่เป็นประโยชน์ร่วมกันระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายได้ การชำระเงินค่าสินค้าระหว่างประเทศ ในระบบการจัดการการส่งออกและนําเข้านั้น ระบบหนึ่งที่จําเป็นและขาดไม่ได้เลยสําหรับการค้าในรูปแบบการส่งออกและนําเข้า คือ ระบบการชําระเงินค่าสินค้าระหว่างประเทศ เมื่อผู้ซื้อและผูขายได้มีการตกลงเกี่ยวกับขอสัญญาซื้อขายกันแลวกล่าวคือ ได้มีการตกลงเรื่องคุณภาพและ ปริมาณสินคา ราคา กําหนดเวลาและสถานที่สงมอบสินคาและเงื่อนไขการชําระเงิน ฯลฯ ผู้ขายก็มีหน้าที่ต้อง ส่งสิ้นคาตามที่ตกลง ส่วนผู้ซื้อนั้นก็มีหนาที่จะต้องชําระเงินคาสินคาที่ซื้อตามสัญญา ระบบการชําระเงินสามารถดําเนินการได้จําเป็นต้องผ่านองค์กรที่เรียกว่า ธนาคารพาณิชย์ ซึ่งมีบทบาทที่สําคัญในการทําธุรกรรมทางด้านการเงิน การค้า การให้เครดิตการกําหนดอัตราแลกเปลี่ยนเงินสกุลที่ใช้ในการขายสินค้า และเป็นตัวกลางในการตรวจสอบและจําหน่ายถ่ายโอนเอกสารระหว่างผู้ส่งออกและผู้นําเข้า เมื่อมีการกําหนดข้อตกลงทางการค้าระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายแล้ว ข้อตกลงที่สําคัญที่ทั้งสองฝ่ายต้องระบุไว้ในเงื่อนไขคือ รูปแบบการชําระเงินค่าสินค้าและเงื่อนไขในการชําระเงินค่าสินค้าซึ่งระบบในการชําระเงินค่าสินค้าสามารถกําหนดได้ดังนี้ ระยะเวลาของการชำระเงิน […]
การวางกลยุทธ์ธุรกิจ ผู้ประกอบการอาจจะมีโมเดลธุรกิจที่ดีอยู่แล้ว แต่เป็นโมเดลที่ใช้สำหรับการประกอบกิจการภายในประเทศเท่านั้น ดังนั้นเมื่อผู้ประกอบการต้องการส่งออกสินค้าไปยังต่างประเทศ จึงจำเป็นต้องปรับโมเดลธุรกิจใหม่ โดยผู้ประกอบการสามารถใช้ Business Model Canvas ในการจัดทำแผนกลยุทธ์ในการส่งออกเบื้องต้น ซึ่งประกอบด้วยส่วนประกอบต่อไปนี้ Business Model Canvas