loader

ที่มา: คณะทำงานบริษัท มาร์เก็ตเมทริกซ์ เอเชีย จำกัด แนะนำ 5 อุตสาหกรรม SME ไทยมีศักยภาพส่งออก       การเข้าสู่ตลาดจีนนั้นไม่ใช่ทุกรายจะประสบความสำเร็จ เนื่องจากมีการแข่งขันกันสูงมากในตลาดจีนในขณะที่จีนมีเมืองกว่า 600 เมือง แต่เมืองต่าง ๆ ในจีนมีระดับการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมแตกต่างกันมาก โดยเมืองรองที่มีการเติบโตทางเศรษฐกิจ ได้แก่ เมืองหนานจิง มณฑลเจียงซู, เมืองตงก่วน มณฑลกวางตุ้ง, เมืองฝอซาน มณฑลกวางตุ้ง, เมืองหังโจว มณฑลเจ้อเจียง, เมืองซูโจว มณฑลเจียงซู, เมืองเซี่ยเหมิน มณฑลฝูเจี้ยน, เมืองเฉิงตู มณฑลเสฉวน, เมืองฉงชิ่ง, เมืองซีอาน มณฑลส่านซี และเมืองเจิ้งโจว มณฑลเหอหนาน เป็นโอกาสสำคัญสำหรับสินค้าไทยในการเข้าสู่ตลาดจีน ด้วยผู้บริโภคในเมืองดังกล่าวส่วนใหญ่เป็นชนชั้นกลางที่มีกำลังซื้อค่อนข้างสูงและเปิดรับสำหรับสินค้าไลฟ์สไตล์จากต่างประเทศ นอกจากนี้ยังมีผู้บริโภคในจีนกว่าร้อยละ 50 ให้ความสนใจสินค้าที่เน้นความประณีตและงานฝีมือมีการออกแบบโดยใช้ความคิดสร้างสรรค์ มีบรรจุภัณฑ์ทันสมัย สินค้ามีคุณภาพ และน่าเชื่อถือ เช่น เครื่องสำอางคุณภาพดี เสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย เครื่องประดับ ที่ส่งเสริมบุคลิกภาพและหน้าที่การงาน รวมถึงสินค้าความต้องการเพิ่มสูงขึ้นตามสัดส่วนประชากร และแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภคที่เรียกว่า […]

ที่มา: คณะทำงานบริษัท มาร์เก็ตเมทริกซ์ เอเชีย จำกัด แนะนำ 5 อุตสาหกรรม SME ไทยมีศักยภาพส่งออก       ประเทศตุรกีประกาศยุทธศาสตร์ Far Countries Strategy เพื่อทำการค้าเชิงรุกกับ 18 ประเทศ ซึ่งประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศเป้าหมาย นโยบายทางการค้าของประเทศตุรกีเพื่อพัฒนาระบบคลังสินค้าและขนส่งให้สามารถส่งสินค้าไปยังประเทศที่ห่างไกลจากตุรกีมากขึ้น       การร่วมมือทางการค้าระหว่างประเทศของประเทศไทยและตุรกีช่วยให้เกิดการขยายตลาดของธุรกิจ SME ไทย การเข้าถึงเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่จากตุรกีที่ช่วยยกระดับความสามารถในการแข่งขันของ SME โดยเฉพาะในด้านสาขาอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ เทคโนโลยีชีวภาพ หุ่นยนต์ และสาขาที่เกี่ยวข้องกับโมเดลเศรษฐกิจใหม่ ทำให้เกิดการส่งเสริมการัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมของ SME ไทยและช่วยเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของ SME ไทยในตลาดโลก อัญมนีและเครื่องประดับ หมอนยางพารา เฟอร์นิเจอร์และของตกแต่งบ้าน ผลไม้สดและแปรรูป อาหารสัตว์เลี้ยง อัญมนีและเครื่องประดับ       รัฐบาลของประเทศตุรกีให้การสนับสนุนอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ โดยการลดหย่อนภาษีนำเข้า จัดตั้งศูนย์ฝึกอบรมสำหรับแรงงานฝีมือด้านจิวเวลรี่ เพื่อตอบรับตลาดผู้บริโภคที่กำลังเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะกลุ่มเครื่องประดับที่ยั่งยืน ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมและการจ้างงานที่เป็นธรรม และเครื่องประดับจะต้องสามารถสะท้อนตัวตนของผู้สวมใส่ อัญมณีที่เป็นที่นิยม […]

ที่มา: คณะทำงานบริษัท มาร์เก็ตเมทริกซ์ เอเชีย จำกัด แนะนำ 5 อุตสาหกรรม SME ไทยมีศักยภาพส่งออก       ประเทศมาเลเซียวางนโยบายและแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาประเทศมาเลเซียให้มีความเจริญ ครอบครุมและยั่งยืน เพื่อประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นโดยขับเคลื่อนผ่านการพัฒนาความสามารถพิเศษของทรัพยากรบุคคลในอนาคต การสนับสนุนด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยี การปรับปรุง เชื่อมต่อโครงสร้างพื้นฐานของระบบการคมนาคม และการวร้างความเข้มแข็งด้านการบริการสาธารณะ       เศรษฐกิจของประเทศมาเลเซียเติบโตต่อเนื่อง มีอัตราการว่างงานต่ำ ทำให้ประชาชนมีรายได้สำหรับการอุปโภค บริโภค สถานการณ์โควิด-19 ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตและพฤติกรรมของผู้บริโภค ผู้บริโภคเริ่มสนใจบริโภคสินค้าที่มีความจำเป็นในชีวิตประจำวันมากกว่าการบริโภคแบบฟุ่มเฟือย และต้องการการบริการที่สะดวกสบาย คุ้มค่า ในการใช้บริการ อาหารสัตว์เลี้ยง เครื่องสำอางฮาลาล ผลไม้สด อาหารแปรรูปฮาลาล สิ่งทอและเครื่องแต่งกาย อาหารสัตว์เลี้ยง     ชาวมาเลเซียให้ความสำคัญกับสัตว์เลี้ยงเสมือนเพื่อนหรือสมาชิกภายในครอบครัว เนื่องจากสัตว์เลี้ยงช่วยเพิ่มความรู้สึกปลอดภัย ลดความตึงเครียด และความวิตกกังวลของผู้เลี้ยง ชาวมาเลเซียที่มีสัตว์เลี้ยงจึงให้ความสำคัญกับสุขภาพและการเป็นอยู่ที่ดีของสัตว์เลี้ยง ราคาของผลิตภัณฑ์จึงไม่ใช่ปัจจัยหลักในการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้า อย่างไรก็ตามสินค้าจะต้องให้ความรู้สึกคุ้มค่าเมื่อเทียบกับราคาในท้องตลาด       ธุรกิจ SME ไทยสามารถนำเสนอสินค้าให้กับผู้บริโภคชาวมาเลเซียผ่านการสร้างโอกาสการทดลองใช้ผ่านร้าน Pet […]

ที่มา: คณะทำงานบริษัท มาร์เก็ตเมทริกซ์ เอเชีย จำกัด แนะนำ 5 อุตสาหกรรม SME ไทยมีศักยภาพส่งออก       ความมุ่งมั่นต่อการพัฒนาประเทศตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ของรัฐบาลญี่ปุ่น ตั้งแต่ปี 2016 เพื่อให้แน่ใจว่าโลกจะดีขึ้นภายในปี 2030 นั้น ญี่ปุ่นได้มีการนำมาปรับใช้ในองค์กรให้ปฏิบัติตามแนวทางการจัดการความยั่งยืนนี้เกือบทุกภาคส่วน ทั้งหน่วยงานรัฐ และภาคเอกชน อีกทั้งคนญี่ปุ่นยังมีความตระหนักรู้และเข้าใจเกี่ยวกับแนวปฏิบัติ SDGs ทั้งด้านเสรีภาพ ความเท่าเทียม รวมถึงปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม ส่งผลให้สินค้ากลุ่ม BCG กำลังเติบโตได้ดีในตลาด โดยเฉพาะกลุ่มคนญี่ปุ่นรุ่นใหม่ที่มีอายุระหว่าง 18 – 30 ปี จะเป็นกำลังหลักในการขับเคลื่อนภาคสังคมและเศรษฐกิจของญี่ปุ่นให้บรรลุเป้าหมายตาม SDGs ในปี 2030 มากที่สุด เนื่องจากคนกลุ่มนี้มีวิถีชีวิตและพฤติกรรมการบริโภคที่มีความยั่งยืนมากกว่าคนรุ่นเก่า (Hiroshima University, 2020) จึงมักแสดงออกด้วยการเลือกสนับสนุนสินค้าที่คำนึงถึงผลกระทบเชิงสังคมและสิ่งแวดล้อม แม้จะมีราคาสูงกว่าก็ตาม ประกอบกับหลังการระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 ผู้บริโภคชาวญี่ปุ่นมองหาสินค้าและบริการที่ดีต่อสุขภาพในระยะยาวมากขึ้น ซึ่งถือเป็นโอกาสสำหรับ SME ไทย ในการพัฒนาศักยภาพกลุ่มสินค้าที่ดีต่อสุขภาพ และสร้างความยั่งยืนแก่โลก […]