loader

ที่มา: คณะทำงานบริษัท มาร์เก็ตเมทริกซ์ เอเชีย จำกัด แนะนำ 5 อุตสาหกรรม SME ไทยมีศักยภาพส่งออก       ในปัจจุบันสหรัฐอเมริกามีความต้องการที่จะพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจในพื้นที่อินโด-แปซิฟิก ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์ชาติระยะยาวที่สำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจพื้นที่ประเทศสมาชิกอาเซียน โดยการดำเนินการดังกล่าวจะช่วยยกระดับมาตรฐานสินค้าและบริการต่าง ๆ ให้สามารถส่งออกไปยังประเทศสหรัฐได้มากขึ้น        ตลาดสหรัฐอเมริกาในช่วงหลังโควิดมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยพฤติกรรมสำคัญของผู้บริโภคชาวอเมริกาคือเรื่องการให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากการตระหนักรู้ปัญหาเรื่องภาวะโลกร้อนและการขายสินค้าที่ไม่เป็นธรรม โดยในปัจจุบันเริ่มมีการผู้บริโภคชาวสหรัฐอเมริกาที่นิยมซื้อสินค้าที่มีสัญลักษณ์ Fair Trade เพิ่มขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปทั่วโลก แต่อาจมีการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วกว่าซึ่งเป็นอีกหนึ่งพฤติกรรมที่เรียกว่า Gen Now ซึ่งมีความต้องการสินค้าทันทีและมีระยะเวลาในการรอสินค้าน้อยลง โดยผู้ประกอบการควรมีการปรับตัวเพื่อให้สอดคล้องกับพฤติกรรมของผู้บริโภคสหรัฐที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว อาหารจากพืช อัญมณีและเครื่องประดับ อาหารสัตว์เลี้ยง เฟอร์นิเจอร์และของตกแต่งบ้าน ธุรกิจร้านอาหารไทย อาหารจากพืช       อาหารจากพืชคืออาหารที่ผลิตโดยใช้พืชเป็นส่วนประกอบหลักโดยจะผลิตให้มีรสชาติใกล้เคียงกับเนื้อสัตว์ เพื่อตอบสนองกับกลุ่มผู้บริโภคที่ให้ความสำคัญกับสุขภาพและสิ่งแวดล้อม โดยจากงานวิจัยหลายแห่งได้อธิบายกระบวนการผลิตอาหารจากพืชนั้นได้ปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ต่ำกว่ากระบวนการผลิตอาหารจากเนื้อสัตว์ ส่งผลให้อุตสาหกรรมอาหารจากพืชเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง ปัจจัยที่กล่าวมาข้างต้นจึงเป็นโอกาสสำคัญสำหรับผู้ประกอบการ SME ไทยที่ต้องการส่งออกสินค้าไปยังประเทศสหรัฐอเมริกา โดยผู้ประกอบการควรคำนึงถึงการขยายตลาดผ่านช่องทางออนไลน์ที่เหมาะสมกับผู้บริโภคอย่าง Facebook ที่ได้รับความนิยมสูงสุดในประเทศสหรัฐอเมริกา โดยผู้ประกอบการควรเลือกทางการขายให้เหมาะ โดยอาจขายผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์อื่น ๆ ที่น่าสนใจ […]

ที่มา: คณะทำงานบริษัท มาร์เก็ตเมทริกซ์ เอเชีย จำกัด แนะนำ 5 อุตสาหกรรม SME ไทยมีศักยภาพส่งออก       เดนมาร์ก ถือเป็นประเทศที่ฟื้นตัวทางเศรษฐกิจได้เร็วที่สุด และถือเป็นประเทศที่สามารถรับมือกับวิกฤต COVID-19 ได้ดีที่สุด ซึ่งอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศได้รับผลกระทบเพียงเล็กน้อยเท่านั้น       จากพฤติกรรมผู้บริโภคชาวเดนมาร์กที่ผ่านมา จะมีความโดดเด่นในเรื่องอาหารเกษตรอินทรีย์เป็นหลัก จะเห็นได้ว่าชาวเดนมาร์กมีความต้องการผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์อย่างเป็นวงกว้าง และยังมีแนวโน้มที่จะได้รับความนิยม รวมถึงการมีศักยภาพในการขยายตัวเพิ่มขึ้นอีกในอนาคต ในระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมา เดนมาร์กสามารถลดปริมาณขยะจากอาหารลงได้ถึงร้อยละ 25 นอกจากนี้ กลุ่ม Food Cluster ของเดนมาร์กยังคงเดินหน้าเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ (climate neutral) ภายในปี 2593 (ค.ศ. 2050) (อ้างอิงจากสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโคเปนเฮเกน, 2022) และเดนมาร์กยังคงให้ความสำคัญในเรื่องของความยั่งยืน โดยมุ่งเน้นที่จะสร้างสังคมที่มีความเท่าเทียม ความยั่งยืนทางด้านเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม       นอกจากนี้ข้อมูลจาก Mintel และ […]

ที่มา: คณะทำงานบริษัท มาร์เก็ตเมทริกซ์ เอเชีย จำกัด แนะนำ 5 อุตสาหกรรม SME ไทยมีศักยภาพส่งออก       อินเดียเป็นประเทศที่มีขนาดใหญ่ มีการเติบโตอย่างต่อเนื่องของรายได้ต่อหัวและจำนวนประชากร การเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างในระบบเศรษฐกิจ การพัฒนาของนวัตกรรมและเทคโนโลยี และการพัฒนาคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ที่เพิ่มขึ้น แต่ด้วยประเทศอินเดียมีหลายเมือง/มลรัฐ จึงมีความเกี่ยวข้องกับหลายภาษา วัฒนธรรม และรสนิยมที่แตกต่างกัน ซึ่งก่อให้เกิดความท้าทายต่อการโฆษณาและการทำตลาดทั่วประเทศ จำเป็นต้องปรับผลิตภัณฑ์และปรับเปลี่ยนแนวทางการตลาดให้เหมาะกับรสนิยมและความต้องการของผู้บริโภคเป้าหมายแต่ละภูมิภาค และยังทำให้การจัดการการจัดจำหน่ายทั่วอินเดียทำได้ยากขึ้น โดยโอกาสในการขยายธุรกิจของผู้ประกอบการไทยอาจเลือกเจาะจงไปยังอินเดียใต้ เนื่องจากเศรษฐกิจของรัฐอินเดียใต้มีอัตราการเติบโตที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยในช่วง 3 ทศวรรษที่ผ่านมาและมีอัตราในการเติบโตที่เร็วกว่ารัฐทางตอนเหนือ อีกทั้งอินเดียกำลังเปิดท่าเรือ Vizhinjam (คาดว่าจะเปิดใช้งานปี 2024) ซึ่งเป็นท่าเรือนานาชาติแห่งใหม่ในเมืองธิรูวานันทปุรัม (Thiruvananthapuram) รัฐเกรละ (Kerala) ตั้งอยู่บริเวณตอนใต้สุดของอินเดีย เพื่อการเชื่อมโยงการผลิตและการค้าระหว่างกลุ่มประเทศในตะวันออกกลาง เอเชียใต้ และ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (East-West Shipping Route) อีกทั้งชาวอินเดียยังมองว่าสินค้าและอาหารจากไทยนั้นมีความคุ้มค่าและคุ้มราคา รวมทั้งรัฐบาลอินเดียมีนโยบายส่งเสริมให้ต่างชาติมาลงทุนในหลายอุตสาหกรรมฯ มีนโยบายพัฒนาเร่งโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภคครบครัน อาหารมังสวิรัติ อัญมณีและเครื่องประดับ อาหารสัตว์เลี้ยง สินค้าสำหรับทารก เครื่องสำอางสมุนไพร อาหารมังสวิรัติ     […]

ที่มา: คณะทำงานบริษัท มาร์เก็ตเมทริกซ์ เอเชีย จำกัด แนะนำ 5 อุตสาหกรรม SME ไทยมีศักยภาพส่งออก       ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์มีวิสัยทัศน์การสร้างมาตรฐานให้เกิดการพัฒนาทัดเทียมมาตรฐานสากลโลก โดยกำหนดมาตรฐานการพัฒนาไว้ 6 ด้าน ได้แก่ มาตรฐานการรักษาพยาบาล การแข่งขันทางเศรษฐกิจ สังคมที่ปลอดภัยและระบบความยุติธรรม สังคมที่อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข คุณภาพการศึกษา และสิ่งแวดล้อมและโครงสร้างพื้นฐานที่ยั่งยืน       กระแสดความต้องการบริโภคของผู้บริโภคภายในประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ได้แก่ แนวโน้มด้านสุขภาพที่ส่งผลต่อการเลือกสินค้าสำหรับอุปโภคและบริโภค ความมั่นคงทางอาหารเพื่อสร้างอาหารให้เพียงพอต่อความต้องการบริโภคของประชาชนในประเทศ การทำธุรกรรมบนโลกดิจิทัลเพื่อสนับสนุนธุรกิจอีคอมเมิร์ช และความต้องการที่ยั่งยืนสนับสนุนธุรกิจด้านสิ่งแวดล้อม ธุรกิจประหยัดพลังงาน อะไหล่และชิ้นส่วนยานยนต์ วัสดุก่อสร้าง ประเภทไม้เทียม อาหารแปรรูป อัญมนีและเครื่องประดับ สิ่งแวดล้อมและพลังงานสะอาด อะไหล่และชิ้นส่วนยานยนต์       จำนวนรถยนต์ในประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์มีจำนวนเพิ่มขึ้นส่งผลให้ความต้องการใช้อะไหล่และชิ้นส่วนยานยนต์เพิ่มขึ้น ทำให้ธุรกิจ SME ไทยได้โอกาสด้านการส่งออกชิ้นส่วนอะไหล่ การส่งออกแรงงานช่างยนต์ฝีมือ และการลงทุนธุรกิจบำรุงรักษายานยนต์ในอนาคต โดยรถยนต์ที่เป็นที่นิยมในประเทศคือแบรนด์รถญี่ปุ่น และรองลงมาเป็นรถยนต์แบรนด์เกาหลีใต้ และสหรัฐอเมริกาตามลำดับ       […]

ที่มา: คณะทำงานบริษัท มาร์เก็ตเมทริกซ์ เอเชีย จำกัด แนะนำ 5 อุตสาหกรรม SME ไทยมีศักยภาพส่งออก       ประเทศตุรกีประกาศยุทธศาสตร์ Far Countries Strategy เพื่อทำการค้าเชิงรุกกับ 18 ประเทศ ซึ่งประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศเป้าหมาย นโยบายทางการค้าของประเทศตุรกีเพื่อพัฒนาระบบคลังสินค้าและขนส่งให้สามารถส่งสินค้าไปยังประเทศที่ห่างไกลจากตุรกีมากขึ้น       การร่วมมือทางการค้าระหว่างประเทศของประเทศไทยและตุรกีช่วยให้เกิดการขยายตลาดของธุรกิจ SME ไทย การเข้าถึงเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่จากตุรกีที่ช่วยยกระดับความสามารถในการแข่งขันของ SME โดยเฉพาะในด้านสาขาอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ เทคโนโลยีชีวภาพ หุ่นยนต์ และสาขาที่เกี่ยวข้องกับโมเดลเศรษฐกิจใหม่ ทำให้เกิดการส่งเสริมการัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมของ SME ไทยและช่วยเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของ SME ไทยในตลาดโลก อัญมนีและเครื่องประดับ หมอนยางพารา เฟอร์นิเจอร์และของตกแต่งบ้าน ผลไม้สดและแปรรูป อาหารสัตว์เลี้ยง อัญมนีและเครื่องประดับ       รัฐบาลของประเทศตุรกีให้การสนับสนุนอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ โดยการลดหย่อนภาษีนำเข้า จัดตั้งศูนย์ฝึกอบรมสำหรับแรงงานฝีมือด้านจิวเวลรี่ เพื่อตอบรับตลาดผู้บริโภคที่กำลังเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะกลุ่มเครื่องประดับที่ยั่งยืน ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมและการจ้างงานที่เป็นธรรม และเครื่องประดับจะต้องสามารถสะท้อนตัวตนของผู้สวมใส่ อัญมณีที่เป็นที่นิยม […]

ที่มา: คณะทำงานบริษัท มาร์เก็ตเมทริกซ์ เอเชีย จำกัด แนะนำ 5 อุตสาหกรรม SME ไทยมีศักยภาพส่งออก       รัฐบาลประเทศการตาร์ประกาศใช้แผนยุทธศาสตร์แห่งชาติในปี 2008 เพื่อพัฒนาด้านบุคลากร เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม รองรับการเปลี่ยนแปลงของกระแสโลก เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกให้กาตาร์เป็นประเทศที่ทันสมัยภายในปี 2030 ทำให้กาตาร์มีโครงการก่อสร้างต่าง ๆ ที่เป็นโอกาสให้บริษัทจากต่างประเทศเข้าไปลงทุนหรือทำงานในโครงการขนาดใหญ่ทำให้เกิดโอกาสของธุรกิจ SME ของประเทศไทยที่สามารถให้บริการปรึกษาด้านการออกแบบระบบไฟฟ้า เครื่องกล และระบบปรับอากาศ ธุรกิจที่ปรึกษาด้านพลังงานทดแทน ธุรกิจบริการจัดหาแรงงานฝีมือ รวมถึงธุรกิจด้านสุขภาพ และบริการด้านอื่น ๆ ที่ส่งเสริมการขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์แห่งชาติของการตาร์       ประเทศกาตาร์เคยถูกคว่ำบาตรจากประเทศกลุ่ม GCC เพื่อตัดความสัมพันธ์ทางการทูตด้วยข้อกล่าวหาว่ารัฐบาลกาตาร์ให้การสนับสนุนผู้ก่อการร้าย ทำลายเสถียรภาพในภูมิภาคตะวันออก และได้ยุติการคว่ำบาตรในเดือนมกราคม 2021 โดยรัฐบาลของกาตาร์รายงานว่าเหตุการณ์ดังกล่าวไม่ได้ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาในประเทศมากนัก การก่อสร้าง อาหารแปรรูป เครื่องสำอาง อัญมณีและเครื่องประดับ พลังงานทดแทน การก่อสร้าง       รัฐบาลของประเทศกาตาร์มีเป้าหมายพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและกระจายสัดส่วนรายได้ทางเศรษฐกิจของประเทศ เลิกพึ่งพาภาคน้ำมันและก๊าซ จึงเปิดเขตเศรษฐกิจเสรีเพื่อดึงดูดบริษัทจากทั่วโลก […]

ที่มา: คณะทำงานบริษัท มาร์เก็ตเมทริกซ์ เอเชีย จำกัด แนะนำ 5 อุตสาหกรรม SME ไทยมีศักยภาพส่งออก       ความมุ่งมั่นต่อการพัฒนาประเทศตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ของรัฐบาลญี่ปุ่น ตั้งแต่ปี 2016 เพื่อให้แน่ใจว่าโลกจะดีขึ้นภายในปี 2030 นั้น ญี่ปุ่นได้มีการนำมาปรับใช้ในองค์กรให้ปฏิบัติตามแนวทางการจัดการความยั่งยืนนี้เกือบทุกภาคส่วน ทั้งหน่วยงานรัฐ และภาคเอกชน อีกทั้งคนญี่ปุ่นยังมีความตระหนักรู้และเข้าใจเกี่ยวกับแนวปฏิบัติ SDGs ทั้งด้านเสรีภาพ ความเท่าเทียม รวมถึงปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม ส่งผลให้สินค้ากลุ่ม BCG กำลังเติบโตได้ดีในตลาด โดยเฉพาะกลุ่มคนญี่ปุ่นรุ่นใหม่ที่มีอายุระหว่าง 18 – 30 ปี จะเป็นกำลังหลักในการขับเคลื่อนภาคสังคมและเศรษฐกิจของญี่ปุ่นให้บรรลุเป้าหมายตาม SDGs ในปี 2030 มากที่สุด เนื่องจากคนกลุ่มนี้มีวิถีชีวิตและพฤติกรรมการบริโภคที่มีความยั่งยืนมากกว่าคนรุ่นเก่า (Hiroshima University, 2020) จึงมักแสดงออกด้วยการเลือกสนับสนุนสินค้าที่คำนึงถึงผลกระทบเชิงสังคมและสิ่งแวดล้อม แม้จะมีราคาสูงกว่าก็ตาม ประกอบกับหลังการระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 ผู้บริโภคชาวญี่ปุ่นมองหาสินค้าและบริการที่ดีต่อสุขภาพในระยะยาวมากขึ้น ซึ่งถือเป็นโอกาสสำหรับ SME ไทย ในการพัฒนาศักยภาพกลุ่มสินค้าที่ดีต่อสุขภาพ และสร้างความยั่งยืนแก่โลก […]