ที่มา: คณะทำงานบริษัท มาร์เก็ตเมทริกซ์ เอเชีย จำกัด แนะนำ 5 อุตสาหกรรม SME ไทยมีศักยภาพส่งออก ในปัจจุบันสหรัฐอเมริกามีความต้องการที่จะพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจในพื้นที่อินโด-แปซิฟิก ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์ชาติระยะยาวที่สำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจพื้นที่ประเทศสมาชิกอาเซียน โดยการดำเนินการดังกล่าวจะช่วยยกระดับมาตรฐานสินค้าและบริการต่าง ๆ ให้สามารถส่งออกไปยังประเทศสหรัฐได้มากขึ้น ตลาดสหรัฐอเมริกาในช่วงหลังโควิดมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยพฤติกรรมสำคัญของผู้บริโภคชาวอเมริกาคือเรื่องการให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากการตระหนักรู้ปัญหาเรื่องภาวะโลกร้อนและการขายสินค้าที่ไม่เป็นธรรม โดยในปัจจุบันเริ่มมีการผู้บริโภคชาวสหรัฐอเมริกาที่นิยมซื้อสินค้าที่มีสัญลักษณ์ Fair Trade เพิ่มขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปทั่วโลก แต่อาจมีการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วกว่าซึ่งเป็นอีกหนึ่งพฤติกรรมที่เรียกว่า Gen Now ซึ่งมีความต้องการสินค้าทันทีและมีระยะเวลาในการรอสินค้าน้อยลง โดยผู้ประกอบการควรมีการปรับตัวเพื่อให้สอดคล้องกับพฤติกรรมของผู้บริโภคสหรัฐที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว อาหารจากพืช อัญมณีและเครื่องประดับ อาหารสัตว์เลี้ยง เฟอร์นิเจอร์และของตกแต่งบ้าน ธุรกิจร้านอาหารไทย อาหารจากพืช อาหารจากพืชคืออาหารที่ผลิตโดยใช้พืชเป็นส่วนประกอบหลักโดยจะผลิตให้มีรสชาติใกล้เคียงกับเนื้อสัตว์ เพื่อตอบสนองกับกลุ่มผู้บริโภคที่ให้ความสำคัญกับสุขภาพและสิ่งแวดล้อม โดยจากงานวิจัยหลายแห่งได้อธิบายกระบวนการผลิตอาหารจากพืชนั้นได้ปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ต่ำกว่ากระบวนการผลิตอาหารจากเนื้อสัตว์ ส่งผลให้อุตสาหกรรมอาหารจากพืชเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง ปัจจัยที่กล่าวมาข้างต้นจึงเป็นโอกาสสำคัญสำหรับผู้ประกอบการ SME ไทยที่ต้องการส่งออกสินค้าไปยังประเทศสหรัฐอเมริกา โดยผู้ประกอบการควรคำนึงถึงการขยายตลาดผ่านช่องทางออนไลน์ที่เหมาะสมกับผู้บริโภคอย่าง Facebook ที่ได้รับความนิยมสูงสุดในประเทศสหรัฐอเมริกา โดยผู้ประกอบการควรเลือกทางการขายให้เหมาะ โดยอาจขายผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์อื่น ๆ ที่น่าสนใจ […]
ที่มา: คณะทำงานบริษัท มาร์เก็ตเมทริกซ์ เอเชีย จำกัด แนะนำ 5 อุตสาหกรรม SME ไทยมีศักยภาพส่งออก เดนมาร์ก ถือเป็นประเทศที่ฟื้นตัวทางเศรษฐกิจได้เร็วที่สุด และถือเป็นประเทศที่สามารถรับมือกับวิกฤต COVID-19 ได้ดีที่สุด ซึ่งอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศได้รับผลกระทบเพียงเล็กน้อยเท่านั้น จากพฤติกรรมผู้บริโภคชาวเดนมาร์กที่ผ่านมา จะมีความโดดเด่นในเรื่องอาหารเกษตรอินทรีย์เป็นหลัก จะเห็นได้ว่าชาวเดนมาร์กมีความต้องการผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์อย่างเป็นวงกว้าง และยังมีแนวโน้มที่จะได้รับความนิยม รวมถึงการมีศักยภาพในการขยายตัวเพิ่มขึ้นอีกในอนาคต ในระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมา เดนมาร์กสามารถลดปริมาณขยะจากอาหารลงได้ถึงร้อยละ 25 นอกจากนี้ กลุ่ม Food Cluster ของเดนมาร์กยังคงเดินหน้าเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ (climate neutral) ภายในปี 2593 (ค.ศ. 2050) (อ้างอิงจากสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโคเปนเฮเกน, 2022) และเดนมาร์กยังคงให้ความสำคัญในเรื่องของความยั่งยืน โดยมุ่งเน้นที่จะสร้างสังคมที่มีความเท่าเทียม ความยั่งยืนทางด้านเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ข้อมูลจาก Mintel และ […]