Warning: unlink(C:\xampp\htdocs/wp-content/uploads/wpo/images/wpo_logo_small.png.webp): Permission denied in C:\xampp\htdocs\wp-content\plugins\wp-optimize\vendor\rosell-dk\webp-convert\src\Convert\Converters\BaseTraits\DestinationPreparationTrait.php on line 96
การจัดการขนส่งสินค้าขาออก (Exportation) - Market Intelligence
loader

ระบบการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ

          ในการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศที่นิยมใช้กัน จะเป็นการขนส่งโดยทางเรือและการขนส่งโดยทางอากาศยาน ดังมีรายละเอียดดังนี้   

 1.) การขนส่งสินค้าทางทะเล 

        การขนส่งสินค้าทางทะเล เป็นส่วนประกอบที่สำคัญส่วนหนึ่งของ ระบบการค้าระหว่างประเทศ ทั้งในอดีต ปัจจุบัน และในอนาคต เพราะเป็นเพียงการขนส่งชนิดเดียวที่ขนสินค้าได้คราวละมากๆ และค่าระวางมีราคาถูกกว่าการขนส่งในรูปแบบอื่น ๆ

ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งสินค้าทางทะเล

  • เจ้าของเรือ (SHIP OWNER)
  • ผู้เช่าเรือ (SHIP CHARTERER)
  • ตัวแทนสายเดินเรือ และตัวแทนผู้รับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ (SHIPPING AGENT & FREIGHT FORWARDER)
  • ผู้ส่งสินค้า (SHIPPER or EXPORTER)
  • ผู้รับตราส่ง (CONSIGNEE)
  • ผู้รับสินค้า (NOTIFY PARTY)

รูปแบบของการว่าจ้างขนส่งสินค้าทางทะเล

           1. LINER TERM คือการว่าจ้างขนส่งสินค้าโดยเรือที่มีตาราง เดินเรือที่วิ่งประจำเส้นทาง ประกอบด้วย Conventional Vessel เรือสินค้าอเนกประสงค์แบบดั้งเดิม ทำการขนส่งสินค้าโดยการบรรทุกสินค้าลง ในระวางเรือใหญ่ ส่วนใหญ่ใช้ในการขนสินค้าแบบเทกอง (Bulk Cargo) การขนส่งประเภทนี้มักใช้กับ สินค้าที่มีราคาไม่สูงและทนต่อสภาพอากาศ หรือจะเป็นการขนส่งสินค้าประเภทวัสดุก่อสร้าง โดยทั่วไป มักไม่นิยมใช้มากนัก

  • Container Vessel เรือสินค้าที่ทาการขนส่งโดยระบบตู้คอนเทนเนอร์ มักมีเส้นทางเดินเรือแบบ เครือข่าย (Network service) หรือเส้นทางเดินเรือแบบรอบโลก (Round the world service) นิยมใช้ กันทั่วไป
  • Semi container Vessel เรือสินค้าที่มีรูปแบบการขนส่งผสมผสาน ระหว่างเรือ Conventional กับเรือ Container

           2. CHARTER TERM คือการว่าจ้างขนส่งสินค้าโดยเรือที่เช่ามาขน ส่งสินค้าเป็นเที่ยวๆ ไม่มีตารางเดินเรือและเส้นทางตายตัว ประกอบด้วย

  • Voyage Charter เป็นการเช่าเหมาเรือแบบเที่ยว
  • Time Charter เป็นการเช่าเหมาเรือแบบระยะเวลา
  •  Bareboat Charter เป็นการเช่าเหมาเรือเฉพาะตัวเรือเปล่าๆ ไม่รวมลูกเรือ
  •  Hybrid Charter เป็นการเช่าเหมาเรือแบบผสมผสานกัน

การขนส่งด้วยระบบตู้คอนเทนเนอร์

           รูปแบบการขนส่งทางทะเลในปัจจุบันส่วนใหญ่เป็นการขนส่งด้วยระบบตู้คอนเทนเนอร์ (Container Box) โดยสินค้าที่จะขนส่งจะต้อง มีการนำมาบรรจุตู้ (Stuffing) และมีการขนย้ายตู้ขึ้นไว้บนเรือ Container Ship ซึ่งออกแบบมาเป็นพิเศษ สำหรับใช้ในการขนส่งสินค้าด้วยตู้คอนเทนเนอร์ซึ่งท่าเรือที่จะมารองรับเรือประเภทนี้ จะต้องมีการออกแบบ ที่เรียกว่า Terminal Design เพื่อให้มีความเหมาะสมทั้งในเชิงวิศวกรรมและ สิ่งแวดล้อม โดยจะต้องประกอบด้วย ท่าเทียบเรือ เขื่อนกั้นคลื่น รวมถึงสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ

  • ตู้คอนเทนเนอร์(Container) คือ บรรจุภัณฑ์ หรือตู้ที่มีระบบมาตรฐานเดียวกันทั่วโลก ใช้บรรจุสินค้าเพื่อให้สะดวก และปลอดภัยในการขนส่ง
  • คุณลักษณะของตู้คอนเทนเนอร์ (Container Box) ตู้คอนเทนเนอร์จะเป็นตู้ขนาดมาตรฐานอาจทำด้วยเหล็กหรืออลูมิเนียม โดยมีโครงสร้างภายนอกที่แข็งแรงสามารถวางเรียงซ้อนกันได้ไม่น้อยกว่า 10 ชั้น โดยจะมียึด หรือ Slot เพื่อให้แต่ละตู้จะมีการยึดติดกัน โดยส่วนใหญ่แล้วจะมีประตู 2 บาน ซึ่งจะมีรายละเอียด ระบุหมายเลขตู้ (Container Number) น้ำหนักของสินค้าบรรจุสูงสุด ฯลฯ เมื่อปิดตู้แล้วจะมีที่ ล็อกตู้ ซึ่งใช้ในการคล้องซีล(Seal) ซึ่งเดิมนั้นเป็นตะกั่ว แต่ปัจจุบันจะเป็น Plastic มีหมายเลขกำกับ สำหรับใช้ในการบ่งชี้สถานะภาพ ซึ่งได้มีการพัฒนาไปถึง Electronic Seal ซึ่งสามารถเข้าไปตรวจสอบทางอิเล็กทรอนิคส์ (Electronic Tracking) หาตำแหน่งของการเคลื่อนย้ายตู้สินค้า ภายในตู้จะมีพื้นที่สำหรับใช้ในการวางและบรรจุสินค้า

ตู้คอนเทนเนอร์แบบมาตรฐาน (Standard Container) ซึ่งกำหนดโดยองค์การมาตรฐานระหว่าง ประเทศ (ISO) ซึ่งมีขนาดดังนี้

  • กว้าง 8 ฟุต สูง 8 ฟุต ยาว 40 ฟุต
  • กว้าง 8 ฟุต สูง 8 ฟุต ยาว 30 ฟุต
  • กว้าง 8 ฟุต สูง 8 ฟุต ยาว 20 ฟุต
  • กว้าง 8 ฟุต สูง 8 ฟุต ยาว 10 ฟุต
  • กว้าง 8 ฟุต สูง 8 ฟุต ยาว 8 ฟุต

          จะเห็นได้ว่าตู้คอนเทนเนอร์ที่ ISO กำหนดให้ในปัจจุบันมีความสูง ความกว้างเท่ากันหมดแต่จะต่างกันที่ความ ยาว ซึ่งขนาดที่นิยมใช้กันมากที่สุดคือ ตู้ 20 ฟุต กับตู้ 40 ฟุต

ประเภทของตู้สินค้าแบ่งตามลักษณะของสินค้าที่บรรจุได้เป็น

          1. ตู้แห้งทั่วไป (Dry Cargo Container)

          1.1) Dry Cargoes เป็นตู้ที่ใส่สินค้าทั่วไปที่มีการบรรจุหีบห่อหรือภาชนะต้องเป็นสินค้าที่ไม่ต้องการรักษาอุณหภูมิ โดยสินค้าที่เข้าตู้แล้วจะต้องมีการจัดทำที่กั้นไม่ให้มีสินค้าเลื่อนหรือขยับ ซึ่งอาจจะใช้ถุงกระดาษที่มีการเป่าลม ที่ เรียกว่า Balloon Bags มาวางอัดไว้ในช่องว่างของสินค้ากับตัวตู้ หรืออาจใช้ไม้มาปิดกั้นเป็นผนังหน้าตู้ ที่เรียกว่า Wooden Partition หากใช้เป็นเชือกไนลอนรัดหน้าตู้ ก็จะเรียกว่า Lashing

          1.2) Garment Container เป็นตู้สินค้าที่ออกแบบสำหรับใช้ในการบรรจุสินค้าที่เป็นเสื้อผ้า โดยมีราวสำหรับ แขวนเสื้อ ซึ่งส่วนใหญ่มักจะใช้กับสินค้าที่เป็น Fashion ซึ่งไม่ต้องการที่จะมีการพับหรือบรรจุใน Packing ซึ่งจะมี ผลทำให้เสื้อผ้ามีการยับหรือไม่สวยงาม

          1.3) Open Top เป็นตู้ซึ่งส่วนใหญ่จะต้องเป็น 40 ฟุต โดยจะออกแบบมาไม่ให้มีหลังคา สำหรับใช้ในการวาง สินค้าขนาดใหญ่ เช่น เครื่องจักร ซึ่งไม่สามารถขนย้ายผ่านประตูตู้ได้ จึงต้องขนย้ายโดยการยกส่วนบนของตู้แทน

          1.4) Flat-rack เป็นพื้นราบมีขนาดกว้างและยาว ตามขนาด ของ Container มาตรฐาน โดยจะเป็นตู้คล้ายกับ Container ที่มีแต่พื้น Platform สำหรับใส่สินค้าที่มีลักษณะเป็นพิเศษ เช่น เครื่องจักร แท่งหิน ประติมากรรม รถแทรกเตอร์ ซึ่งสินค้าเหล่านี้ อาจจะขนส่งด้วยเรือที่เป็น Conventional Ship แต่หากเมื่อขนส่งด้วยเรือระบบ Container แล้วก็จะต้องมาวางใน Flat rack เพื่อให้สามารถจัดเรียงกองในรูปแบบที่เป็น Slot ซึ่งเป็นลักษณะของเรือที่เป็น Container

          2. ตู้รักษาอุณหภูมิ เป็นตู้ห้องเย็นและตู้ฉนวนกันความร้อน (Refrigerator Cargoes) เป็นตู้สินค้าประเภทที่มีเครื่องปรับอากาศ มีการปรับอุณหภูมิในตู้ ซึ่งทำตามมาตรฐานต้องสามารถปรับอุณหภูมิได้อย่างน้อย –18 องศาเซลเซียส โดยเครื่องทำความเย็นนี้อาจจะติดอยู่กับตัวตู้หรือมีปลั๊กใช้กระแสไฟฟ้าเสียบจากนอกตู้ โดยจะต้องมีที่วัดอุณหภูมิแสดงให้เห็นสถานะของอุณหภูมิของตู้สินค้า

          3. ตู้บรรจุสินค้าที่เป็นของเหลว มีโครงสร้างที่สำคัญคือ พื้นตู้มีเสายึด 4 มุมและติดตั้งถังเหล็กกลมยาวไว้อย่างถาวรเพื่อบรรจุสินค้าที่เป็นของเหลว เช่น น้ำมัน สารเคมี

          4. ตู้ชนิดพิเศษ (Special Container) เป็นตู้ไว้สำหรับบรรทุกสัตว์มีชีวิต บรรทุกสินค้าเกษตร

ลักษณะการบรรจุและการขนถ่ายสินค้าจากตู้คอนเทนเนอร์มี 2 ลักษณะ คือ

          1. การบรรจุสินค้าเต็มตู้จากโกดังผู้ส่งออก เป็นการบรรจุแบบ Container Yard: C.Y. ซึ่งทางประเทศยุโรปเรียกวิธีการบรรจุนี้เป็นแบบ Full Container Load: F.C.L. โดยบริษัทเรือจัดส่งตู้คอนเทนเนอร์เปล่าไปยังโกดังสินค้าของผู้ส่งออก ผู้ส่งออกจัดการบรรจุสินค้าให้เต็มตู้แล้วลากตู้ที่บรรจุสินค้าแล้วมามอบให้บริษัทเรือ ลักษณะนี้บริษัทเรือจะไม่รับผิดชอบในเรื่องของสินค้าขาดหรือเกินจำนวน แต่เจ้าของสินค้าจะเป็นผู้รับผิดชอบทั้งในเรื่องของการบรรจุสินค้าและตรวจนับสินค้าเอง

          2. การส่งสินค้าไปบรรจุ ณ ลานบรรจุสินค้า Container Freight Station : C.F.S. : ซึ่งทางยุโรปเรียกการบรรจุลักษณะนี้ว่า Less than Container Load : L.C.L. มักใช้ในกรณีที่ผู้ส่งออกมีปริมาณสินค้าไม่มากพอที่จะบรรจุเต็มตู้ หรือมีสินค้ามากพอแต่ทางเจ้าของขาดแคลนกำลังหรือไม่สะดวกที่จะบรรจุสินค้าด้วยตนเอง ผู้ส่งออกจึงนำสินค้ามาไว้ที่โกดังรับสินค้าเพื่อรอการบรรจุเข้าตู้ของบริษัทเรือเพื่อให้บริษัทเรือบรรจุสินค้าเข้าตู้ให้ ลักษณะนี้บริษัทเรือจะเป็นผู้รับผิดชอบในการบรรจุสินค้าและการตรวจนับสินค้า จึงทำให้ค่าระวางสูงกว่าแบบ C.Y.

รูปแบบการลเลียงสินค้าเพื่อการบรรจุและการเปิดตู้เพื่อนสินค้าออกจากตู้เมื่อตู้ถูกส่งไปถึงท่าเรือ ปลายทาง แบ่งเป็น 4 ลักษณะ คือ

          1. CY/CY หรือ FCL/FCL ผู้ส่งออกทำการบรรจุตู้ ณ โดดังของผู้ส่งออกเอง บริษัทเรือทำการส่งตู้นี้ไปถึงมือผู้รับ สินค้าปลายทางและผู้รับสินค้าลากตู้มาขนถ่ายสินค้า ณ โกดังของผู้รับสินค้าเอง

          2. CFS/CFS หรือ LCL/LCL ผู้ส่งออกนำสินค้าไปยังโกดังรับสินค้าเพื่อรอการบรรจุเข้าตู้ของบริษัทเรือ บริษัทเรือ รับผิดชอบการบรรจุสินค้าเข้าตู้ และรับผิดชอบนำสินค้าออกจากตู้เมื่อไปถึงท่าเรือปลายทาง

          3. CY/CFS หรือ FCL/LCL ผู้ส่งออกจัดการบรรจุสินค้าเต็มตู้ด้วยตนเอง แต่เมื่อสินค้าไปถึงท่าเรือปลายทางแล้ว บริษัทเรือจะเป็นผู้รับผิดชอบเปิดตู้และนำสินค้าออกจากตู้ ณ โกดังของบริษัทเรือในท่าเรือปลายทาง

          4. CFS/CY หรือ LCL/FCL ผู้ส่งออกนำสินค้ามอบให้บริษัทเรือเป็นผู้รับผิดชอบบรรจุสินค้าเข้าตู้ เมื่อสินค้าถูกส่งถึงท่าเรือปลายทางแล้วผู้รับสินค้าเป็นผู้เปิดตู้นำสินค้าออก ณ โกดังของผู้รับเอง

ค่าระวางการขนส่งด้วยตู้คอนเทนเนอร์ประกอบด้วย

1. ค่าระวางพื้นฐาน คือค่าระวางสินค้าที่ได้กำหนดขึ้นในเส้นทางการขนส่งระหว่างท่าเรือหนึ่งไปยังอีกท่าเรือหนึ่ง ยิ่งระยะทางในการขนส่งมากใช้ระยะเวลาในการขนส่งมาก ยิ่งต้องเสียค่าใช้จ่ายมากขึ้น

2. ค่าระวางพิเศษ เป็นค่าระวางที่เรียกเก็บเพิ่มเติมตามแบบต่างๆนอกเหนือจากค่าระวางพื้นฐาน เช่น

          2.1 ค่าปรับตามอัตราราคาน้ำมัน

          2.2 ค่าปรับตามอัตราเงินตรา

          2.3 ค่าธรรมเนียมพิเศษ เช่น ค่าธรรมเนียมสินค้าอันตราย ค่าธรรมเนียมท่าเรือแออัด

          2.4 ค่าธรรมเนียมออกใบตราส่ง (Bill of Lading Fee)

          2.5 ค่าท่าเรือเลือก

          2.6 ค่าเปลี่ยนท่าเรือปลายทาง

          2.7 ค่าเปิดหรือค่าบรรจุสินค้าเข้าตู้คอนเทนเนอร์

          2.8 ค่าระวางเนื่องจากสินค้ามีขนาดใหญ่เกินกำหนด

          2.9 ค่าเก็บน้ำหนัก

2.) การขนส่งสินค้าทางอากาศ

          การขนส่งสินค้าโดยทางอากาศเป็นการขนส่งที่กำลังได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายประเทศต่างๆ มีการพัฒนาสนามบินพาณิชย์ให้ทันสมัยและเพียงพอกับความต้องการบริษัทสร้างเครื่องบินมีการสร้างเครื่องบินซึ่งมีขนาดใหญ่และสมรรถภาพในการบินสูงสามารถบรรจุสินค้าและบรรทุกผู้โดยสารได้มากขึ้นมีเครื่องมือในการขนส่งอันทันสมัยครบครันนอกจากนี้ยังมีการขยายและปรับปรุงบริเวณคลังสินค้าที่ท่าอากาศยาน ให้กว้างขวางทันสมัย เพื่อการขนส่งสินค้าดำเนินไปอย่างสะดวกและรวดเร็วจากผู้ส่งที่เมืองต้นทางไปยังเมืองผู้รับปลายทาง บทบาทของการขนส่งทางอากาศกับการค้าระหว่างประเทศ

คุณลักษณะที่สำคัญของการขนส่งสินค้าทางอากาศ คือ

1. ความรวดเร็ว การส่งสินค้าทางอากาศนับว่ามีความรวดเร็วที่สุด

2. ความแน่นอน มีตารางการบินที่แน่นอน สม่ำเสมอและตรงต่อเวลา

ผู้ที่มีบทบาทในการขนส่งสินค้าทางอากาศ

       1. ผู้ส่งสินค้าผู้ส่งสินค้าหรือ Shipper หมายถึง ผู้ที่มี่ชื่อปรากฏอยู่ในเอกสารกำกับสินค้า หรือ Air Waybill ที่จะ ทำการ หรือร่วมทำการขนส่งสินค้าภายใต้เงื่อนไขใน Air Waybill

       2. บริษัทการบิน บริษัทการบิน หรือ Carrier หมายถึงบริษัทการบินต่าง ๆ ซึ่งรวมทั้งบริษัทการบินที่ออกเอกสาร กำกับสินค้า Air Waybill ที่จะทำการหรือร่วมทำการขนส่งสินค้าภายใต้เงื่อนไขใน Air Waybill        

       3. ผู้รับสินค้า ผู้รับสินค้า หรือ Consignee หมายถึงผู้ที่มีนามระบุอยู่ใน Air Waybill ซึ่งบริษัทการบินจะต้องส่ง มอบสินค้าให้เมื่อถึงเมืองปลายทางตามที่ระบุไว้

       4. บริษัทตัวแทน บริษัทตัวแทน หรือ IATA CARGO AGENT หมายถึงบริษัทที่ได้รับรองจากสมาคมการขนส่งทาง อากาศและแต่งตั้ง โดยบริษัทการบินให้ดำเนินการรับและออกเอกสารกำกับสินค้า Air Waybill พร้อมทั้งเก็บค่า ขนส่งที่เกี่ยวข้องในนามของบริษัทการบิน

       5.ศุลกากร (Customs)

พาหนะที่ใช้ขนส่งสินค้าทางอากาศ

       อากาศยานแต่ละประเภทมีข้อจำกัดด้านพื้นที่ระวางบรรทุกและน้ำหนักบรรทุกที่แตกต่างกันออกไป และโดยทั่ว ไปเครื่องบินที่ใช้ในการขนส่งสินค้าทางอากาศมี 3 ประเภท ได้แก่

       1) เครื่องบินโดยสาร (Passenger Flight) ประกอบด้วย ที่นั่ง สำหรับผู้โดยสารด้านบนทั้งหมด (Main deck + Upper deck) สามารถบรรทุกสินค้าได้เฉพาะด้านล่าง (Lower deck) และด้านท้าย (Tail) เท่านั้น ส่วนใหญ่เป็น สัมภาระของผู้โดยสาร

       2) เครื่องบินกึ่งโดยสาร (Combi Flight หรือ Combination of Passenger & Main deck Loader) ประกอบด้วย ที่นั่ง สำหรับผู้โดยสารด้านบน (Upper deck และ/หรือ ครึ่งหนึ่งของ Main deck) และพื้นที่เหลือ สามารถบรรทุกสินค้าได้ทั้งหมด

       3) เครื่องบินบรรทุกสินค้า (Charter Flight / Cargo Flight / Freighter) เป็นเครื่องบินสำหรับบรรทุกสินค้า ทั้งหมด ไม่มีส่วนของ ที่นั่ง ผู้โดยสาร

ข้อดีและข้อเสียของการขนส่งสินค้าทางอากาศ

          ข้อดี

          1. ใช้เวลาในการขนส่งน้อย

          2. สินค้าแบบใหม่ ๆ โดยเฉพาะสินค้าประเภทแฟชั่น สามารถส่งไปยังตลาดต่าง ๆ ทั่ว โลกได้ในเวลาที่รวดเร็ว

          ข้อเสีย

          1. เสียค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานค่อนข้างสูง เพราะมีอัตราค่าขนส่งสินค้าสูงกว่าอัตราค่าขนส่งประเภทอื่น ๆ

          2. การขนส่งขึ้นอยู่กับสภาพภูมิอากาศทำให้เป็นอุปสรรคต่อการขนส่งหากสภาพภูมิอากาศไม่เอื้ออำนวย

ผู้ส่งออกสามารถเลือกใช้บริการส่งออกผ่านบริษัทตัวแทนขนส่งสินค้าได้

  • บริษัทตัวแทนขนส่งสินค้าจะทำหน้าที่ในการจัดการส่วนใหญ่
  • ผู้ส่งออกเพียงจัดเตรียมข้อมูลรายละเอียดของสินค้าและเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวกับสินค้า เวลา วันที่และเที่ยวบินที่ ต้องการ พร้อมทั้งบรรจุหีบห่อให้เรียบร้อย จึงส่งมอบให้กับบริษัทตัวแทนขนส่งสินค้า แต่หากผู้ส่งออกทำการส่งมอบสินค้าให้กับสายการบินโดยตรง ผู้ส่งออกจะต้องดำเนินการเอง ดังนี้

          1. ผ่านการตรวจสอบจากเจ้าหน้าที่ของบริษัทฯ และเจ้าหน้าที่ศุลกากรต้นทาง

          2. นำสินค้าไปบรรทุกในเที่ยวบินของสายการบินเพื่อส่งสินค้าไปยังท่าอากาศยานปลายทาง

          3. ผ่านการตรวจสอบจากเจ้าหน้าที่ศุลกากรปลายทางอีกครั้ง ก่อนที่ผู้รับปลายทางจะมารับสินค้า (ด้วยตนเอง หรือผ่านทางบริษัทตัวแทนผู้ส่งออก)

เอกสารที่ต้องจัดเตรียม

  1. Invoice
  2. Packing List
  3. กรมธรรม์ประกันภัยขนส่งสินค้า
  4. ตั๋วแลกเงิน
  5. เอกสารสำคัญที่เกี่ยวข้องเฉพาะสำหรับการขนส่ง ได้แก่ ใบตราส่งสินค้าทางอากาศ (Air Waybill)