loader

การประกันภัยสินค้าระหว่างประเทศมักจะอยู่ในรูปของการประกันภัยการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ ซึ่งหมายถึงการให้ความคุ้มครองแก่ทรัพย์สินหรือสินค้าที่ขนส่งทางทะเล ทางอากาศ ทางบก จากประเทศหนึ่งไปยังอีกประเทศหนึ่งและการขนส่งต่อเนื่องกับการขนส่งทางทะเล ซึ่งในการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศนั้นอาจเกิดความเสียหายหรือสูญเสียต่อสินค้าได้

การประกันภัยทางทะเล หมายถึง การประกันภัยซึ่งครอบคลุมถึงความเสียหายและการสูญหายของตัวสินค้า ทรัพย์สิน หรือของตัวเรือ ระหว่างการเดินทางจากที่หนึ่งไปที่หนึ่งโดยเรือเดินสมุทร การประกันภัยทางทะเลถือ เป็นข้อสัญญาที่ฝ่ายหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า ผู้รับประกัน (Assurer) หรือ (Underwriter) ตกลงในเงื่อนไขที่จะชดใช้ ให้กับอีกฝ่ายหนึ่งเมื่อได้รับเงินค่าเบี้ยประกัน (Premiums) ฝ่ายผู้ที่ทำประกันนี้เรียกว่า Insured หรือ Assured ซึ่งค่าชดใช้จากการเสียหายซึ่งเกิดจากภัยที่ระบุในกรมธรรม์ของประกันภัยทางทะเล การชดใช้ค่าเสียหายนั้นจะ รวมเฉพาะการทำให้สินค้าคืนสภาพเดิมหรือค่าเสียหายที่เสียไป แต่จะไม่คุ้มครองการได้รับของมาทดแทนใหม่

ประเภทของการทำประกันภัยสินค้า

การประกันภัยสินค้าจะพิจารณาจากสัญญาการซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศ ตามเงื่อนไขของราคา เช่น

  • การซื้อขายแบบ CIF (Cost, Insurance, Freight) ในการซื้อขายตามเงื่อนไขแบบนี้ ราคาสินค้าจะรวมค่าสินค้าจนสินค้าถึงเมืองท่าปลายทาง รวมทั้งผู้ขายมีหน้าที่ท าประกันภัยสินค้านั้นด้วย แต่ทั้งนี้การประกันภัยดังกล่าวผู้ขายนั้นเพียงแต่ท าการแทนผู้ซื้อเท่านั้น ความเสี่ยงภัยในตัวสินค้านั้นโอนไปยังผู้ซื้อทันทีที่สินค้าพ้นกาบเรือเช่นเดียวกัน กรรมสิทธิ์ในตัวสินค้าจะโอนไปยังผู้ซื้อเมื่อผู้ซื้อได้รับใบตราส่ง (Bill of Lading) และเอกสารประกอบอื่นๆ (Invoice, Insurance policy) หลังจากที่ได้มีการช าระราคาสินค้าแล้ว
  • การซื้อขายแบบ FOB (Free on Board) ในการซื้อขายตามเงื่อนไขแบบนี้ ราคาสินค้าจะรวมค่าขนส่งสินค้า จนสินค้าพ้นกาบเรือ จากนั้นความเสี่ยงภัยและกรรมสิทธิ์จะโอนจากผู้ขายไปยังผู้ซื้อทันทีที่สินค้าพ้นกาบเรือ ผู้ซื้อจึง มีหน้าที่ในการจัดหาเรือเพื่อขนสินค้า และทำประกันภัยสินค้า ในการซื้อขายแบบนี้ แม้ว่าจะไม่สะดวกสบายเท่า แบบ CIF แต่มีข้อดีที่ผู้ซื้อสามารถจัดหาผู้รับขนซึ่งเชื่อถือได้ด้วยตนเอง และการที่ผู้ซื้อได้ทำประกันภัยด้วยตนเองกับบริษัทประกันภัยภายในประเทศทำให้สามารถเลือกบริษัทซึ่งน่าเชื่อถือ สะดวกในการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนในกรณีที่สินค้าซึ่งเอาประกันภัยไว้เกิดความเสียหาย
  • การซื้อขายสินค้าแบบ C & F (Cost and Freight) การที่ผู้ขายจะหมดภาระเมื่อได้นำสินค้าไปส่งมอบไว้ในระวางเรือเดิน ทะเล ณ ท่าเรือต้นทาง พร้อมทั้งจ่ายค่าระวางเรือเพื่อให้สินค้าส่ง
    ไปยังสถานที่ผู้ซื้อระบุไว้ที่ท่าเรือ ปลายทาง ความเสี่ยงถูกโอนไปอยู่ในความรับผิดชอบของผู้ซื้อ ณ ท่าเรือต้นทาง ดังนั้นเงื่อนไขราคานี้ผู้ซื้อจะเป็นผู้รับผิดชอบจ่ายค่าเบี้ยประกันภัยเอง

สาเหตุของการทำประกันภัยสินค้า

  • ผู้ขายตามปกติแล้ว การซื้อขายสินค้ามักเสนอราคาประเภท CIF ซึ่งครอบคลุมราคาสินค้า ค่าระวาง และค่า ประกันภัย ดังนั้น ภาระค่าเบี้ยประกันมักตกอยู่ที่ผู้นำเข้าหรือผู้ซื้อ โดยผู้ส่งออกไม่ต้องจ่ายค่าประกันภัยนี้
  • ผู้ซื้อมักมองว่า ผู้ขายควรเป็นผู้จัดการและดูแลในการทำประกันภัยตั้งแต่ท่าต้นทาง สาเหตุเนื่องจากผู้ซื้อ มองว่าค่าเบี้ยประกันในประเทศผู้ขายถูกกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศผู้ซื้อ ดังนั้น ผู้ขายอาจสูญเสีย ความสามารถในการแข่งขัน หากผู้ขายมิได้จัดการดูแลการประกันภัยตั้งแต่ท่าต้นทาง
  • หากปราศจากการทำประกันภัยตั้งแต่ท่าต้นทางแล้ว อุบัติเหตุระหว่างการเดินทางจนทำให้เกิดการสูญเสีย หรือสูญหาย ผู้ซื้ออาจปฏิเสธการชำระเงินได้
  • หากเกิดการสูญหายหรือสูญเสียระหว่างการเดินทาง ผู้ประกอบการอาจสูญเงินได้ดังนั้นการทำประกันภัย จะช่วยลดการสูญเสียในส่วนนี้ บริษัทประกันภัยจะชดใช้ค่าสินไหมในฐานะที่เป็นเจ้าของสินค้า และยังสามารถเลือกความคุ้มครองได้ตามที่ต้องการ

การประกันภัยทางทะเลนั้นให้ความคุ้มครองต่อสินค้า โดยจะชดใช้ความเสียหายที่เกิดขึ้นให้กับผู้เอาประกันภัย ซึ่งอาจเป็นเจ้าของสินค้าเองผู้ทำการค้าหรือผู้ที่เกี่ยวข้อง

ซึ่งประเภทของการประกันภัยทางทะเล แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ

1. การประกันภัยตัวเรือ (Hull Insurance) : คุ้มครองความเสียหายหรือสูญเสียของโครงสร้างตัวเรือ รวมทั้งอุปกรณ์ต่างๆ แบ่งเป็น

          1.1 ประเภทไม่มีเครื่องจักร

          1.2 ประเภทมีเครื่องจักร หรือกำลังขับเคลื่อนเอง

การประกันภัยตัวเรือและเครื่องจักร (Hull and Machinery Insurance) จะคุ้มครองจากภัยที่เกิดจาก ดังนี้

  • อากาศที่เปลี่ยนแปลงหรือทะเลมีคลื่นลมแรง
  • ไฟไหม้ การระเบิดของตัวเรือ
  • การปล้นจากโจรสลัด
  • การชนกันของเรือ
  • ค่าใช้จ่ายในการกู้ภัยเรือที่ประสบภัย
  • ตัวเรือชนกับวัตถุที่อยู่ในน้ำ เป็นต้น

2. การประกันภัยสินค้า (Cargo Insurance) : คุ้มครองความเสียหายของทรัพย์สินหรือสินค้า ในระหว่างการขนส่งจากผู้ขายประเทศหนึ่งไปถึงผู้ซื้ออีกประเทศหนึ่ง

ประเภทของเอกสารในการประกันภัย

ในการทำประกันภัยสินค้าโดยบริษัทผู้ส่งออกหรือผู้นำเข้าหรือผู้ทำประกัน เอกสารที่บริษัทประกันหรือผู้ คิดเบี้ยประกันออกให้แก่ผู้ทำประกันมี 4 ประเภท คือ

  1. ใบกรมธรรม์ (Policy) เป็นเอกสารที่ระบุเงื่อนไขการประกันภัยเต็มรูปแบบในการประกันภัยสินค้าแต่ ละประเภทตามที่ผู้ทำประกันเลือกซื้อ โดยใช้ในการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนได้ตามเงื่อนไขและ ประเภทของกรมธรรม์ซึ่งจะได้กล่าวถึงรายละเอียดต่อไป
  2. ใบ Certificate of Insurance เป็นเอกสารที่เปรียบเสมือนใบย่อของกรมธรรม์ประกันภัย ซึ่งใช้กัน แพร่หลายทางการค้ามากที่สุด เนื่องจากช่วยลดต้นทุนในการออกเอกสารในรูปของกรมธรรม์ แต่มีการ คุ้มครองความเสียหายและการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนรวมถึงการโอนผลประโยชน์ของการ ประกันภัยไปยังผู้อื่นได้เช่นเดียวกับใบกรมธรรม์
  3. ใบ Cover Note เป็นหนังสือให้ความคุ้มครองชั่วคราวแก่ผู้นำเข้าซึ่งต้องการจะทำประกันภัยสินค้า เองเป็นครั้งๆไป ซึ่งการออกเอกสาร Cover Note มักใช้ในกรณีที่เงื่อนไขราคาเป็นแบบ FOB หรือ CFR ซึ่งผู้นำเข้าเป็นผู้จัดหาบริษัทประกันภัยเอง
  4. ใบ Open Cover เป็นหนังสือที่คล้ายกับใบ Cover Note แต่ใช้สำหรับการขนส่งสินค้าที่มีความถี่ บ่อยๆ โดยบริษัทประกันภัยจะออกใบ Open Cover เพื่อให้การคุ้มครองสินค้าทั้งหมดเป็นการ ชั่วคราวก่อน เมื่อเอกสารกำกับสินค้าตัวจริงมาถึงผู้นำเข้า จึงแจ้งให้บริษัทประกันภัยออกใบกรมธรรม์ หรือใบ Certificate of Insurance ภายหลัง

ชนิดของสัญญาประกันภัย

  1. สัญญาประกันภัยกำหนดมูลค่า (Valued Policy)
    • เป็นสัญญาซึ่งกำหนดมูลค่าตามข้อตกลงระหว่างผู้รับประกันภัยกับผู้เอาประกัน
    • เป็นกรมธรรม์เดี่ยว (Single Policy)
    • การระบุมูลค่าประกันไว้ในสัญญาไม่จำเป็นจะต้องเป็นมูลค่าอันแท้จริงของสินค้าที่เอาประกันเสมอไป อาจคิดเพิ่ม 10% จากราคาสินค้าที่รวมค่าระวาง หรือแล้วแต่ผู้สั่งสินค้าจะประสงค์
  2. สัญญาประกันภัยลอย (Floating or Open Policy)
    • เป็นสัญญาซึ่งใช้ประกันภัยสินค้ารายใหญ่ หรือหลายรายรวมกัน ส่งหลายเที่ยวเรือ
    • เมื่อส่งสินค้าจำนวนเท่าใดลงเรือก็แจ้งให้ผู้รับประกันทราบ เพื่อหักจำนวนเงินที่แน่นอนออกจากจำนวนใหญ่ที่แจ้งไว้ ทำดังนี้จนกว่าเงินทำประกันที่แจ้งไว้จะหมดไป
    • ผู้รับประกันจะออกหนังสือรับรองการประกันภัยในสินค้า

รูปแบบของกรมธรรม์ประกันภัย

 เนื่องจากการค้าระหว่างประเทศมีมาตั้งแต่ในอดีต และการขนส่งสินค้าเป็นการขนส่งทางทะเล ซึ่งอาจเกิดความ เสียหายสูญหายของสินค้าระหว่างการขนส่ง การประกันภัยสินค้าจึงต้องเกิดขึ้น ควบคู่ไปกับการขนส่งด้วย ซึ่ง รูปแบบกรมธรรม์มาตรฐานที่เกิดขึ้นเป็นอันดับแรกจึงเป็นการประกันภัยการขนส่งสินค้าทางทะเล โดยมี 2 รูปแบบ คือ

รูปแบบแรก : กรมธรรม์ประกันภัยแบบ SG. Form เป็นกรมธรรม์ที่ให้ความคุ้มครองทั้งตัวเรือ (S-Ship) และสินค้า (G-Goods) จะมี 3 แบบให้เลือกโดยแต่ละแบบจะให้ความคุ้มครองไม่เท่ากัน

  • F.P.A. (Free from Particular Average) การประกันตามเงื่อนไขนี้ให้ความคุ้มครองแคบที่สุด กล่าวคือ บริษัทประกันภัยจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเฉพาะเมื่อ สินค้าเสียหายโดยสิ้นเชิง (Total Loss) เท่านั้น ถ้าสินค้านั้นได้รับความเสียหายแต่เพียงบางส่วน (Partial Loss) จะ ไม่ได้รับการชดใช้กรมธรรม์ในลักษณะนี้ มีเงื่อนไขให้ความคุ้มครองแก่ผู้เอาประกันในกรณีที่สินค้าได้รับความเสียหายจากภัยธรรมชาติโดยสิ้นเชิง (Actual total Loss) หรือเสมือนหนึ่งเสียหายทั้งหมด (Constructive total Loss) เท่านั้น เช่น เสียหายจากพายุ ในทะเล รวมถึงคุ้มครองในกรณีที่สินค้าเกิดความเสียหายบางส่วน (Partial Loss) เนื่องจากสาเหตุอื่นคือ ไฟไหม้เรือ เรือถูกปล้น การทิ้งสินค้าลงทะเลในขณะประสบภัย เรือเกิดอุบัติเหตุชนกัน เรือเกยตื้น เรือเกยหินโสโครก หรือเกิดเหตุการณ์ที่ไม่ใช่สาเหตุทางธรรมชาติ รวมถึงความเสียหายโดยสิ้นเชิงที่เกิดขึ้นกับหีบห่อของสินค้าจากการขนส่งขึ้นและลงจากเรือ ซึ่งตามธรรม เนียมปฏิบัติสากลแล้ว ถ้าในสัญญาซื้อขายมิได้ระบุประเภทของกรมธรรม์ไว้ ผู้ขายจะต้องมีหน้าที่ทำการ ประกันภัยประเภท F.P.A ไว้เท่านั้น
  • W.A. (With Average) การประกันภัยตามเงื่อนไขนี้ให้ความคุ้มครองความเสียหายที่เกิดจากภัยธรรมชาติโดยสิ้นเชิง และความเสียหาย บางส่วนในระหว่างการขนส่ง ซึ่งในการชดใช้ค่าเสียหายแต่เพียงบางส่วนนั้น บริษัทประกันภัยจะชดใช้ค่าความ เสียหายจากภัยธรรมชาติมากกว่า 3-5% ของมูลค่าทรัพย์สินที่เอาประกันภัย เป็นการชดใช้ตามอัตราร้อยละของ ความเสียหายเรียกว่า ระบบ Franchise นอกจากนั้นเงื่อนไขนี้ยังให้ความคุ้มครองความเสียหายที่ไม่ได้เกิดจากภัย ธรรมชาติด้วย
  • All Risks เป็นเงื่อนไขความคุ้มครองที่กว้างที่สุด คือ ให้ความคุ้มครองทั้งความเสียหายบางส่วน และสิ้นเชิงโดยไม่จำกัด เปอร์เซ็นต์ความสูญเสีย โดยให้ความคุ้มครองทุกอย่างทั้งที่มีสาเหตุจากภายนอกรวมถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยไม่ คาดหมายในระหว่างการขนส่ง จึงเป็นการประกันภัยที่มีความเหมาะสมในการติดต่อซื้อขายกันมากที่สุด แต่ใน ขณะเดียวกันค่าเบี้ยประกันจะมีมูลค่าสูงที่สุดด้วย แต่กรมธรรม์ประเภทนี้จะไม่รวมความเสียหายที่เกิดจากการ เสื่อมสภาพของตัวสินค้าอันเนื่องจากช่วงระหว่างการขนส่ง

รูปแบบปัจจุบัน : กรมธรรม์ประกันภัยแบบ Mar Form เนื่องจากกรมธรรม์การประกันภัยแบบ SG. Form เป็นกรมธรรม์ภาษาโบราณที่มีการใช้มาเป็นระยะเวลานาน มากกว่า 200 ปี รวมถึงเงื่อนไขของกรมธรรม์มีความสลับซับซ้อน จึงได้มีการร่างกรมธรรม์ใหม่ขึ้นมา เป็นกรมธรรม์ แบบ Mar Form หรือ Marine Cargo Policy Schedule ประกอบด้วยข้อกำหนด 8 ข้อหลัก คือ

1. Risks Covered คือข้อกำหนดว่าด้วยการครอบคลุมความเสียหาย

2. Exclusions คือข้อกำหนดว่าด้วยข้อยกเว้นที่ไม่คุ้มครอง

3. Duration คือข้อกำหนดที่ว่าด้วยระยะเวลาการคุ้มครอง

4. Claims คือข้อกำหนดว่าด้วยการเรียกร้องสินไหมทดแทน

5. Benefit of Insurance คือข้อกำหนดว่าด้วยผลประโยชน์ของกรมธรรม์

6. Minimising Losses คือข้อกำหนดว่าด้วยการจำกัดความเสียหาย

7. Avoidance of Delay คือข้อกำหนดว่าด้วยการดำเนินการเรียกร้องสินไหมทดแทน

8. Law and Practice คือข้อกำหนดว่าด้วยการปฏิบัติตามกฎหมายประกันภัยของประเทศอังกฤษ

รูปแบบของกรมธรรม์แบบ Mar Form ในทุกกรมธรรม์เงื่อนไขข้อที่ 2-8 มีรายละเอียดแบบเดียวกันทุกฉบับ ยกเว้น ข้อที่ 1 Risks Clause เป็นเงื่อนไขคุ้มครองความสูญเสีย (Loss) และความเสียหาย (Damage) ซึ่งมีกรมธรรม์ 3 ประเภท ได้แก่… Risks Clause เป็นเงื่อนไขคุ้มครองความสูญเสีย (Loss) และความเสียหาย (Damage) ซึ่งมีกรมธรรม์ 3 ประเภท ได้แก่

Institute Cargo Clauses (C) คุ้มครองความเสียหาย หรือสูญเสีย (ไม่ว่าบางส่วน หรือ ทั้งหมด) เนื่องจากเพลิง ไหม้ ระเบิด เรือเกยตื้น จมหรือล่ม ยานพาหนะทางบกพลิกคว่า หรือตกราง เรือหรือยานพาหนะชนหรือโดนกับวัตถุ อื่นใด การขนส่งสินค้าลงจากเรือ ณ. ท่าหลบภัย ความเสียหายที่เกิดกับส่วนรวม สินค้าถูกโยนทิ้งทะเล

Institute Cargo Clauses (B) ความคุ้มครองรวมถึง แผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด ฟ้าผ่า สินค้าถูกน้ำทะเลซัด ตกเรือไป น้ำจากแม่น้ำ ทะเลสาบ หรือน้ำรั่วไหลเข้ามาในเรือ ในยานพาหนะในระวางหรือในตู้ Container หรือใน สถานที่เก็บสินค้า สินค้าทั้งหีบห่อเสียหายโดยสิ้นเชิงเพราะตกจากเรือ หรือจากการขนขึ้นลงจากเรือหรือ ยานพาหนะ และความคุ้มครองทั้งหมดตามที่ระบุไว้ใน ICC (B)

Institute Cargo Clauses (A) คุ้มครองความเสียหายจากภัยทุกประเภท ที่ไม่ได้ระบุอยู่ในข้อยกเว้นของ กรมธรรม์จะเป็นการประกันภัยสินค้าซึ่งคุ้มครองความเสี่ยงภัยทั้งหมดทุกประเภท ที่จะก่อให้เกิดความสูญเสียหรือความเสียหายให้กับวัตถุที่เอาประกัน เว้นแต่จะเข้าข้อยกเว้น เงื่อนไขความคุ้มครองตามแบบนี้ถือเป็นแบบที่ให้ความคุ้มครองสูงสุด ซึ่งจะคุ้มครองแม้ในกรณีที่ความเสียหายเกิดจากการกระทำโดยทุจริตของนายเรือ ลูกเรือ หรือแม้แต่เจ้าของเรือ หากผู้เอาประกันไม่ได้มีส่วนรู้เห็นด้วยในการทุจริตนั้น ให้ความคุ้มครองแม้ในกรณีที่เรือซึ่งใช้ขนสินค้าไม่มีความพร้อมในการเดินทะเล (Unseaworthiness) หากผู้เอาประกันภัยซึ่งเป็นเจ้าของสินค้าไม่ทราบถึงความไม่พร้อมของเรือดังกล่าว อย่างไรก็ตามอัตราเบี้ยประกันภัยแบบ A จะสูงกว่าแบบ B และ C ประมาณหนึ่งเท่าตัว

ภัยที่คุ้มครอง

  1. ภัยทางทะเล (Peril of the sea) เช่น เจอมรสุม พายุ เรือชนกัน เรือจม และเรือเกยตื้น
  2. อัคคีภัย (Fire) เช่น ไฟที่เกิดจากการไหม้ของสินค้าที่เกิดขึ้น โดยที่ไม่เกิดจากผู้เอาประกันภัยเองหรือการลุกไหม้ขึ้นเอง จากธรรมชาติ
  3. การทิ้งทะเล (Jettisons) คือ การเอาสินค้าโยนทิ้งทะเลเพื่อให้เรือมีสถานะเบาลง
  4. โจรกรรม (Thieves) คือ การถูกปล้นโดยการใช้กำลังช่วงชิงทรัพย์สิน
  5. การทำโดยทุจริตของคนเรือ (Barratry) คือ การกระทำที่ผิดหรือมิชอบของคนเรือโดยเจตนา

สินค้าที่ไม่รับประกัน

  • สัตว์มีชีวิต
  • ทองคำแท่ง อัญมณี เพชร พลอย
  • วัตถุโบราณ
  • สินค้าที่นำพา หรือขับไปด้วยตนเอง

เงื่อนไขขยายความคุ้มครองภัยสงครามภัยจลาจลและการนัดหยุดงาน

คือการขยายความคุ้มครองให้แก่ข้อยกเว้นภัยสงครามภัยจลาจลและการนัดหยุดงานและการก่อความไม่สงบ (WAR & SRCC) ซึ่งเป็น ข้อยกเว้นที่สามารถซื้อคืนได้โดยการขยายความคุ้มครอง ตามปกติกรมธรรม์ประกันภัยทางทะเล ทุกฉบับจะจัดให้มีการขยายความคุ้มครองทั้ง 2 เรื่องนี้ให้ด้วย

เงื่อนไขความคุ้มครองเฉพาะประเภทสินค้า

คือเงื่อนไขที่ให้ความคุ้มครองเฉพาะสินค้าที่มีลักษณะพิเศษ เช่นสินค้า แช่เยือกแข็ง สินค้าเทกอง เป็นต้น

เรียกชื่อตามประเภทสินค้าที่ให้ความคุ้มครอง เช่น

  • INSTITUTE FROZEN FOOD CLAUSES (A) (EXCLUDING FROZEN MEAT)
  • INSTITUTE FROZEN FOOD CLAUSES (C) (EXCLUDING FROZEN MEAT)
  • INSTITUTE BULK OIL CLAUSES

เงื่อนไขความคุ้มครองพิเศษอื่น ๆ

คือเงื่อนไขความคุ้มครองอื่นของการประกันภัยขนส่งสินค้า ทางทะเลที่มิได้ระบุไว้โดยทั่วไปในกรมธรรม์ เช่น

  • INSTITUTE MALICIOUS DAMAGE CLAUSE
  • INSTITUTE THEFT, PILFERAGE AND NON-DELIVERY CLAUSE
  • INSTITUTE REPLACEMENT CLAUSE
  • INSTITUTE CLASSIFICATION CLAUSE (เงื่อนไขข้อกำหนดมาตรฐานเรือ)

จุดเริ่มต้นและสิ้นสุดของสัญญาประกันภัยทางทะเล (Duration of Cover)จุดเริ่มต้นและสิ้นสุดของ สัญญาประกันภัยทางทะเล (Duration of Cover)

สัญญาการประกันภัยขนส่งสินค้าทางทะเลเริ่มต้น เมื่อสินค้าเคลื่อนออกจากสถานที่เก็บสินค้า ณ สถานที่ ที่ระบุว่าเป็นจุดเริ่มต้น

สัญญาการประกันภัยขนส่งสินค้าทางทะเลสิ้นสุดลง ในกรณีดังนี้

  • เมื่อสินค้าส่งถึงโกดังของผู้รับสินค้า หรือโกดังปลายทางอื่นๆ หรือสถานที่เก็บสินค้า ณ จุดหมาย ปลายทางที่ระบุไว้
  • เมื่อสินค้าส่งถึงโกดังหรือสถานที่เก็บสินค้าอื่นไม่ว่าจะก่อนถึงหรือ ณ ปลายทางที่ระบุไว้ ซึ่งผู้เอาประกันภัยเลือกใช้เป็น
    • ที่เก็บสินค้านอกเหนือไปจากเส้นทางขนส่งตามปกติ หรือ
    • ที่จัดสรรหรือแจกจ่ายสินค้า
  • เมื่อครบ 60 วัน นับจากวันที่สินค้าที่เอาประกันถูกขนถ่ายขึ้นที่เมืองท่าสุดท้าย

การทำประกันภัยสำหรับสินค้า

เมื่อผู้นำเข้าสั่งซื้อสินค้า (ที่ไม่ได้รวมค่าประกันภัยไว้ในค่าสินค้า) ก่อนที่สินค้าออกเดินทางจากเมืองท่าต้นทาง ผู้นำ เข้าหรือผู้ซื้อสินค้าจะต้องติดต่อบริษัทรับประกันภัยสินค้าทางทะเล หรือตัวแทนประกันภัยเพื่อขอซื้อประกันภัย สินค้าที่จะนำเข้า

กรณีที่เสนอขายเป็นราคา C.I.F. ณ เมืองท่าปลายทาง ก่อนส่งมอบสินค้าลงเรือผู้ส่งออกจะต้องติดต่อกับบริษัท รับประกันภัยสินค้าทางทะเลหรือตัวแทนประกันภัย เพื่อขอซื้อประกันภัยสินค้าที่จะส่งออก

ข้อมูลสำหรับการทำประกันภัยสินค้า

  • ชื่อผู้รับสินค้าหรือผู้เอาประกัน
  • ชนิดสินค้า
  • จำนวนและลักษณะหีบห่อของสินค้า
  • เครื่องหมายและเลขหมายของหีบห่อ
  • จำนวนเงินที่เอาประกัน (โดยทั่วไปจะเท่ากับ110% ของราคา CFR.)

กรณีที่ยังไม่ทราบข้อมูลทั้งหมด ผู้นำเข้าสามารถแจ้งบริษัทรับประกันภัยสินค้าทางทะเล หรือตัวแทน ประกันภัย ให้ออก Cover Note ไว้ให้ก่อนเพื่อรับความคุ้มครองล่วงหน้าได้ *ควรจะออก Cover Note ในทันทีที่ได้เปิด L/C ซื้อสินค้าหรือมีคำสั่งซื้อไปยังต่างประเทศ

ข้อดีของการทำประกันภัยสินค้าขาออกภายในประเทศ

  • ลูกค้าได้รับความสะดวก ไม่ต้องกังวลว่าจะซื้อประกันไม่ทัน
  • ผู้ส่งออกจะได้ประโยชน์จากการขายในเงื่อนไข C.I.F. เพราะหากมีการส่งออกเป็นประจำบริษัทประกันภัยในประเทศจะลดอัตราเบี้ยประกันภัยให้ได้
  • ไม่เสียเปรียบดุลการชำระเงินของประเทศ

เอกสารที่ใช้ทำประกันภัย

          1. Invoice

          2. Bill of Lading หรือ Air Waybill

          3. Packing List

          4. Letter of Credit (ถ้ามีการเปิด L/C)

          5. ใบคำขอเอาประกันภัย (Marine Application Form)

สาระสำคัญของกรมธรรม์ประกันภัยประกอบด้วย

          1. ชื่อผู้เอาประกันหรือตัวแทน

          2. ชื่อสถานที่ที่บรรทุกสินค้า ระยะทางนำสินค้าไปถึงท่าเรือ (ถ้ามี)

          3. ชื่อเรือและวันกำหนดเรือออก (โดยประมาณ)

          4. ชื่อสถานที่ขนส่งสินค้าขึ้นเรือ

          5. ชื่อสินค้า จำนวน เครื่องหมายหีบห่อ

          6. จำนวนเงินประกัน

          7. สถานที่จ่ายค่าเสียหาย (ถ้ามี) ชื่อบริษัทผู้จ่ายค่าเสียหาย

          8. ชนิดของภัยที่เอาประกัน

          9. สถานที่และวันที่ทำสัญญา

          10. ลายมือชื่อของผู้รับประกัน

การคิดเบี้ยประกันภัย

การคิดเบี้ยประกันภัยจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับประเภทสินค้าที่มีความเสี่ยงในความเสียหายหรือสูญหายของสินค้า

  • สินค้าที่มีความเสี่ยงสูง ค่าเบี้ยประกันจะคิดที่ประมาณ 1% ของราคา CFR
  • สินค้าที่มีความเสี่ยงปกติ ค่าเบี้ยประกันประมาณ 0.1% – 0.25% ของราคา CFR
  • ยอดเงินเอาประกันในการชดเชยค่าความเสียหายอยู่ที่ประมาณ 110% ของมูลค่าสินค้าราคา CFR หรือ 110% ของมูลค่าสินค้าในใบกำกับราคาสินค้า

การเรียกร้องและการชดเชยค่าสินไหมทดแทน

เมื่อสินค้าที่เอาประกันเกิดความเสียหาย ซึ่งกรมธรรม์ให้ความคุ้มครองแล้ว ผู้เอาประกันหรือตัวแทนจะต้องปฏิบัติ เพื่อทำให้ความเสียหายเบาบางลง และให้มั่นใจว่าได้รักษาสิทธิ์ของตนที่มีต่อผู้รับขนส่งฯ โดยต้องแจ้งบริษัท ประกันภัยตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ทันทีเพื่อทำการตรวจสอบความเสียหายที่เกิดขึ้น พร้อมแสดงหลักฐานที่จำเป็น เพื่อประกอบเรียกค่าสินไหม

หน้าที่ของผู้เอาประกันหรือตัวแทน

  1. เรียกร้องค่าเสียหายจากผู้รับขนส่งหรือการท่าเรือ ในกรณีที่หีบห่อหรือสินค้าขาดหายไปเมื่อไม่มีสิ่งใดเป็นข้อพิสูจน์ความเสียหาย ผู้เอาประกันจะต้องรับเอาสินค้าไปทั้งหมด แม้สินค้านั้นจะอยู่ในลักษณะที่น่าสงสัยก็ตาม นอกจากว่าจะได้ยื่นประท้วงเป็นลายลักษณ์อักษรไว้แล้ว
  2. ถ้าส่งสินค้าด้วยภาชนะบรรจุร่วม (Container) จะต้องตรวจให้แน่ใจว่าภาชนะนั้นได้รับการตรวจประทับตรา จากเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบแล้ว
  3. ถ้าหากภาชนะนั้นได้รับความเสียหายหรือตราประทับแตกหักหรือสูญหาย หรือประทับตราที่แตกต่างไปจากที่ระบุไว้ในเอกสารการส่งสินค้า จะต้องเขียนข้อบกพร่องต่าง ๆ ลงไว้ในใบนำส่ง สินค้าด้วย
  4. จะต้องแจ้งให้ผู้ขนสินค้า ผู้รับฝากสินค้าหรือตัวแทนทำการสำรวจโดยเร็ว ถ้าความเสียหายนั้นปรากฏชัด
  5. จะต้องแจ้งให้ผู้รับขนส่งหรือผู้รับฝากสินค้าทราบเป็นลายลักษณ์อักษรภายใน 3 วัน หลังจากที่รับสินค้าแล้ว โดยที่ในเวลารับสินค้านั้นไม่ปรากฏความเสียหาย

ประเภทของค่าสินไหมทดแทน

  1. ค่าสินไหมอันเกิดจากความเสียหายที่แท้จริงที่เกิดกับตัวสินค้า (Particular Average Loss) เช่น การแตกหัก ถูกขโมย เปียกน้ำ
    • ค่าสินไหมทดแทนความเสียหายโดยสิ้นเชิง คำนวณจากมูลค่าที่เอาประกันไว้
    • ค่าสินไหมทดแทนความเสียหายบางส่วน คำนวณได้ในหลายลักษณะ เช่น ค่าซ่อม ค่าเสื่อมราคา รวมทั้ง ค่าใช้จ่ายที่ป้องกันไม่ให้ความเสียหายที่เกิดขึ้นแล้วลุกลามเพิ่มเติม
  2. ค่าสินไหมอันเกิดจากความเสียหายที่ไม่ได้เกิดกับตัวสินค้า (General Average Loss) ได้แก่ ความรับผิดชอบ ร่วมกันในการผจญภัยในทะเล ความรับผิดชอบเมื่อสินค้าถูกโยนทิ้งทะเลเพื่อความอยู่รอดปลอดภัยของเรือและสินค้าบนเรือที่เหลืออยู่

หลักฐานในการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน

  1. หนังสือเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน Claim Bill
  2. ต้นฉบับกรมธรรม์ประกันภัยทางทะเลและขนส่ง Original Marine Insurance Policy
  3. ต้นฉบับใบกำกับสินค้าและใบแสดงการบรรจุหีบห่อ Invoice & Packing List
  4. ต้นฉบับใบตราส่งสินค้า Bill of Lading/Air Waybill
  5. หลักฐานแสดงความเสียหาย เช่น Survey Report, Wharf Survey Note, Short landed Cargo List
  6. หลักฐานหรือเอกสารประกอบอื่นๆ เช่น Charter Party, Sale Contract, Stowage Plan
  7. สำเนาหนังสือเรียกร้องค่าเสียหายถึงผู้ขนส่ง/ผู้ที่เกี่ยวข้องพร้อมหนังสือตอบจากผู้ขนส่ง/ผู้ที่เกี่ยวข้องในความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้น

การกำหนดจำนวนเงินเอาประกันภัย

สามารถกำหนดมูลค่าสินไหมทดแทนตามมูลค่าต่อไปนี้

  1. มูลค่าบัญชีราคาสินค้า (Invoice Value)
  2. เงื่อนไขทางการค้า (Incoterms) เช่น EXW, FOB, CFR, CIF
  3. 110%, 115%, 120% ของมูลค่าบัญชีราคาสินค้า (Invoice Value) หรือตามที่ได้ตกลง    
  4. จดหมายรับรองเครดิต (Letter of Credit)